ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาพระคลัง (หน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26:
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ปรากฏรับราชการครั้งแรกในสมัยธนบุรีเป็น''หลวงสรวิชิต''<ref name=":1">[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์]]. '''เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์'''. กรุงเทพ : กรมศิลปากร, 2545.</ref> นายด่านเมือง[[จังหวัดอุทัยธานี|อุทัยธานี]] ในพ.ศ. 2318 [[สงครามอะแซหวุ่นกี้]] สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระราชโองการตั้งกองคอยรักษาเส้นทางเสบียงที่[[นครสวรรค์]]โดยมีหลวงสรวิชิต (หน) เป็นกองหน้า<ref name=":2">'''พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล)'''.</ref> ในเหตุการณ์[[กบฏพระยาสรรค์]]เมื่อสิ้นสุดยุคกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพออกไปตีเมืองกัมพูชา ได้มอบหมายให้พระสุริยอภัย (ทองอิน ต่อมาคือ[[สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์|พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์]]) ยกทัพจากนครราชสีมาเข้ามาระงับเหตุที่ธนบุรี หลวงสรวิชิต (หน) ได้ช่วยเหลือพระสุริยอภัย และได้ส่งหนังสือออกไปแจ้งข่าวเหตุการณ์ในธนบุรีแก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกที่ด่านพระจารึก<ref name=":0" /> เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพกลับมายังธนบุรีหลวงสรวิชิต (หน) เดินทางออกไปรับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกที่ทุ่งแสนแสบ<ref name=":2" />
 
พ.ศ. 2325 เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็น[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ทรงแต่งตั้งพระยาพิพัฒโกษา (สน) เป็นพระยาพระคลัง และทรงแต่งตั้งหลวงสรวิชิต (หน) เป็นพระยาพิพัฒโกษา จางวางปลัดทูลฉลองกรมพระคลังสินค้า ดังปรากฏใน''คำปรึกษาตั้งข้าราชการ''ว่า;
 
{{คำพูด|หลวงสรวิชิตจงรักภักดี สัตย์ซื่อ หมายได้เป็นข้าใต้ละอองพระบาทมาช้านาน แล้วก็ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินการพระราชสงครามมาแต่ก่อน และครั้งนี้ได้ทำราชการด้วยสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ จนสำเร็จราชการ แล้วได้แต่งคนเอากิจราชการหนักเบาในเมืองธนบุรีออกไปแจ้งใต้ละอองธุลีพระบาทฉบับหนึ่งถึงด่านพระจารึกนั้น มีความชอบ ขอพระราชทานเอาหลวงสรวิชิตให้เป็นพระยาพิพัฒโกษา}}<ref name=":1" />