ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หยาดน้ำฟ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับปรุงบางส่วน
 
บรรทัด 1:
{{กึ่งล็อก2}}
{{สภาพอากาศ}}
ในทาง[[อุตุนิยมวิทยา]] '''หยาดน้ำฟ้า''' ({{lang-en|precipitation}}) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของ[[ไอน้ำ]]ใน[[บรรยากาศ]]และตกลงมาด้วยอิทธิพลของ[[แรงโน้มถ่วง]]<ref>{{cite web | work = Glossary of Meteorology | year = 2009 | url = http://amsglossary.allenpress.com/glossary/search?id=precipitation1 | title = Precipitation | publisher = [[American Meteorological Society]] | accessdate = 2009-01-02 | archive-date = 2008-10-09 | archive-url = https://web.archive.org/web/20081009142439/http://amsglossary.allenpress.com/glossary/search?id=precipitation1 | url-status = dead }}</ref> รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วย[[ฝนละออง]] (drizzle), [[ฝน]], ฝนน้ำแข็ง (sleet), [[หิมะ]], [[ลูกปรายหิมะ]] (graupel) และ[[ลูกเห็บ]] (hail) หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา<ref>{{cite web|author=The Weather World 2010 Project|year=1999|url=http://ww2010.atmos.uiuc.edu/(Gh)/guides/mtr/cld/prcp/home.rxml|title=Precipitation: hail, rain, freezing rain, sleet and snow|publisher=[[University of Illinois]]|accessdate=2009-01-02}}</ref> [[หมอก]] (fog) และ[[หมอกน้ำค้าง]] (mist) จึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไปหยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้น[[น้ำโปรยฐานเมฆ]] (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายใน[[เมฆ]] หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก [[เกล็ดหิมะ]] (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว
 
โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น [[คิวมูโลนิมบัส]] และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้
บรรทัด 7:
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
 
[[หมวดหมู่:สภาพอากาศ]]