ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เงาบร็อคเคิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: thumb|200px|บร็อคเคินสเปกเตอร์ปรากฏในวงแหวน[[กลอรี]] '''บร็อคเคินสเปกเตอร์''' ({{lang-en|Brocken spectre}}, {{lang-de|Brockengespenst}}) เป็นเงาขนาดใหญ่ของผู้สังเกตที่ฉายบนเมฆด้านตร...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:00, 1 กันยายน 2564

บร็อคเคินสเปกเตอร์ (อังกฤษ: Brocken spectre, เยอรมัน: Brockengespenst) เป็นเงาขนาดใหญ่ของผู้สังเกตที่ฉายบนเมฆด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่วนหัวของเงามักล้อมรอบด้วยวงแหวนสีรุ้งคล้ายเฮโล ซึ่งเกิดจากแสงอาทิตย์ถูกหักเหโดยละอองน้ำในอากาศและกระเจิงกลับ

บร็อคเคินสเปกเตอร์ปรากฏในวงแหวนกลอรี

บร็อคเคินสเปกเตอร์สามารถเกิดได้กับภูเขาที่ปกคลุมด้วยหมอก หรือกับเมฆปื้น สามารถสังเกตเห็นได้จากบนเครื่องบิน ชื่อปรากฏการณ์มาจากยอดเขาบร็อคเคินบนภูเขาฮาร์ซ ทางตอนเหนือของเยอรมนีที่มักเกิดปรากฏการณ์นี้จนมีตำนานท้องถิ่น โยฮันน์ ซิลเบอร์ชแล็ก นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันสังเกตและบรรยายถึงปรากฏการณ์นี้เป็นครั้งแรกในค.ศ. 1780[1]

การเกิด

 
บร็อคเคินสเปกเตอร์กึ่งเทียม เกิดจากการยืนหน้าไฟหน้ารถในคืนสลัว

เงาที่ปรากฏเกิดจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมาจากด้านหลังผู้สังเกตที่มองลงมาจากที่สูงไปที่หมอกหรือหมอกน้ำค้าง[2] แสงจะฉายภาพเงาที่มักมีรูปร่างสามเหลี่ยมผ่านหมอก[3] เงาขนาดใหญ่เป็นภาพลวงตาที่ผู้สังเกตรับรู้ผิดพลาดว่าเงานั้นอยู่ในระยะเดียวกับวัตถุที่อยู่ไกลออกไป[4] หรือไม่มีจุดอ้างอิงถึงขนาด[5] นอกจากนี้เงายังทอดบนละอองน้ำในระยะต่างกัน จึงทำให้เกิดความสับสนทางการรับรู้ความใกล้ไกล[6] เงาดังกล่าวสามารถเคลื่อนไหวได้ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของเมฆ หรือความหนาแน่นของเมฆ

อ้างอิง

  1. Rudd, Damien (2017). Sad Topographies. New York City, United States: Simon and Schuster. ISBN 9781471169304.
  2. McKenzie, Steven (17 February 2015). "Shades of grey: What is the brocken spectre". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  3. "Brocken spectre". atoptics.co.uk.
  4. "Brocken spectre". Britannica. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
  5. Byrd, Deborah (May 24, 2019). "What Is The Brocken Spectre?". EarthSky. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
  6. "Brocken spectre". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.