ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความน่าสะพรึงกลัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
สมัยแห่ง'''ความน่าสะพรึงกลัว'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 195</ref> ({{lang-fr|la Terreur}}) เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่สามของ[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]] โดยถูกกระตุ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือ[[ฌีรงแด็ง]]กับ[[ลามงตาญ]] ซึ่งมีการประหารชีวิต "ศัตรูแห่งการปฏิวัติ" จำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ในหลักหมื่น โดยมีผู้ถูกประหารชีวิตด้วย[[กิโยตีน]] 16,594 คน และอีก 25,000 คน ถูก[[การประหารชีวิตอย่างรวบรัด|ประหารชีวิตอย่างรวบรัด]]ทั่วฝรั่งเศส
 
กิโยตีนกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์การปฏิวัติ ซึ่งมีการประหารชีวิตบุคคลสำคัญจำนวนมาก เช่น [[มารี อ็องตัวแน็ต]]และ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 16]] ทั้งผู้สนับสนุนการปฏิวัติ [[หลุยส์ ฟิลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง|ดยุกแห่งออร์เลอ็อง]], [[มาดามรอล็อง]] และกลุ่มฌีรงแด็ง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคน มี[[อ็องตวน ลาวัวซีเย]] นักเคมีบุกเบิกที่ต้องมาสังเวยชีวิตด้วยเช่นกัน เป็นอาทิ ระหว่าง ค.ศ. 1794 ฝรั่งเศสสมัยปฏิวัติถูกรุมเร้าด้วยการคบคิดโดยศัตรูทั้งในและนอกประเทศ สำหรับในประเทศ การปฏิวัติถูกชนชั้นสูงฝรั่งเศสคัดค้าน ซึ่งสูญเสียเอกสิทธิ์ที่ได้รับสืบทอดมา [[นิกายโรมันคาทอลิก]]โดยทั่วไปคัดค้านการปฏิวัติ ซึ่งได้เปลี่ยนนักบวชเป็นลูกจ้างของรัฐและบังคับให้ต้องปฏิญาณความจงรักภักดีต่อชาติ นอกเหนือจากนี้ [[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1]] ยังต้องสู้รบใน[[สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส|สงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน]]ที่เจตนาทำลายการปฏิวัตินี้เสียเพื่อป้องกันมิให้ลุกลาม
 
การขยายของสงครามกลางเมืองและการรุกคืบของกองทัพต่างด้าวต่อดินแดนของชาติได้ก่อวิกฤตการณ์การเมืองและเพิ่มการแข่งขันระหว่างฌีรงแด็งกับฌากอแบ็งซึ่งหัวรุนแรงกว่า ฝ่ายหลังนี้ต่อมาได้รวมกลุ่มในกลุ่มแยกรัฐสภา เรียกว่า [[ลามงตาญ]] (La Montagne) และพวกเขาได้การสนับสนุนจากประชากรกรุงปารีส สภาฝรั่งเศสตั้ง[[คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม]] ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1793 เพื่อปราบปรามกิจกรรมต่อต้านการปฏิวัติภายในประเทศและเพิ่มกำลังทหารฝรั่งเศสเพิ่มเติม