ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จินตนิมิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 12:
ปี ค.ศ. 1923 ได้มีนิตยสารที่มุ่งเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับ [[นิยายแฟนตาซี|นวนิยายแฟนตาซี]] โดยเฉพาะ ชื่อว่า ''Weird Tales'' หลังจากนั้นก็เกิดมีนิตยสารแนวนี้ขึ้นอีกมาก ฉบับที่มีชื่อเสียงคือ ''The Magazine of Fantasy and Science Fiction'' การเผยแพร่งานผ่านนิตยสารทำให้วรรณกรรมแฟนตาซีเผยแพร่สู่ผู้อ่านจำนวนมากขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างสูงทั้งใน[[สหรัฐอเมริกา]]และ[[อังกฤษ]] นิตยสารบางฉบับเริ่มจับแนวทางของ[[นิยายวิทยาศาสตร์]]ด้วย ทำให้วรรณกรรมสองสาขานี้มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันมากกว่าสาขาอื่นๆ
 
เมื่อถึง ปี ค.ศ. 1950 วรรณกรรมแฟนตาซีแนว "ดาบและเวทมนตร์" ก็สามารถเข้าถึงผู้อ่านเป็นวงกว้าง ดังเห็นในความสำเร็จของ ''Conan the Barbarian'' ของ [[โรเบิร์ต อี. โฮวาร์ด]] หรือ ''Fafhrd and the Gray Mouser'' ของ [[ฟริตซ์ ไลเบอร์]] และแล้วก็เกิดวรรณกรรมแฟนตาซีแขนงใหม่ คือ "[[แฟนตาซีระดับสูง]]" (High Fantasy) เรื่องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือผลงานของ [[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]] เรื่อง ''[[เดอะฮอบบิท]]'' และ ''[[เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]'' ซึ่งส่งผลให้มีวรรณกรรมแฟนตาซีเกิดขึ้นสู่บรรณพิภพเป็นจำนวนมาก ผลงานอื่นๆ เช่น ''[[นาร์เนีย|ตำนานแห่งนาร์เนีย]]'' ของ [[ซี. เอส. ลิวอิส]] และ ''[[พ่อมดแห่งเอิร์ธซี]]'' ของ [[เออร์ซูลา เค. เลอกวิน]] ทำให้ความนิยมในวรรณกรรมสาขานี้แข็งแกร่งมั่นคงยิ่งขึ้น
 
ความนิยมในวรรณกรรมแฟนตาซียังคงสืบเนื่องต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเกิดปรากฏการณ์หนังสือขายดีที่สุด จากเรื่อง ''[[แฮร์รี่ พ็อตเตอร์]]'' ผลงานของ [[เจ. เค. โรว์ลิ่ง]] ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมแฟนตาซีก็เกิดขึ้นมากและประสบผลสำเร็จหลายเรื่อง เรื่องที่โดดเด่นที่สุดได้แก่ [[ภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]] ของผู้กำกับภาพยนตร์ [[ปีเตอร์ แจ็คสัน]]
 
==ดูเพิ่ม==