ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ่างล้างบาป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Muffin (คุย | ส่วนร่วม)
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
อ่างศีลจุ่มที่ใช้ในคริสต์ศาสนพิธีมักจะเป็นแบบที่ไม่ดำลงไปในน้ำแต่ใช้วิธี “พรมน้ำ” หรือ “รดน้ำ” ลงบนหัวของผู้ที่รับศีล ลักษณะของอ่างศีลจุ่มจะเป็นอ่างตั้งอยู่บนฐานที่สูงประมาณหนึ่งเมตรครึ่ง วัสดุที่ใช้ทำก็จะแตกต่างจากกันมาก อ่างอาจจะแกะจาก[[หินอ่อน]] [[ไม้]] หรือ [[โลหะ]] รูปทรงก็ต่างจากกันมากบางครั้งอาจจะเป็น 8 เหลี่ยมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ[[พระเจ้า]][[พระธรรมปฐมกาล|สร้างจักรวาล]]ใน 7 วันแรกและวันที่ 8 เป็นวันทำ[[สุหนัต]] บางครั้งอาจจะเป็นสามเหลี่ยมเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ[[พระตรีเอกภาพ]]--[[พระเยโฮวาห์|พระบิดา]] [[พระเยซู|พระบุตร]] และ[[พระจิต]]
 
อ่างศีลจุ่มมักจะวางไว้ใกล้ทางเข้าวัดเพื่อเป็นการเตือนคริสต์ศาสนิกชนว่ากำลังเข้าสู่คริสต์ศาสนสถาน และ[[ประเพณี]]พิธีศีลจุ่มก็เป็นการยอมรับบุคคลที่รับศีลเข้าสู่[[คริสต์ศาสนา|คริสต์จักร]] ใน[[ยุคกลาง]]และ[[ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา]]บางครั้งวัดจะสร้างสิ่งก่อสร้างต่างหากจากตัววัดสำหรับการทำพิธีศีลจุ่มโดยเฉพาะที่เรียกว่า “[[หอศีลจุ่ม”ศีลจุ่ม]]” (baptisteryBaptistery) อย่างเช่นที่ มหาวิหาร[[เซียนนา]] หรือมหาวิหารพาร์มา ที่ประเทศอิตาลี
 
ปริมาณน้ำในอ่างก็ต่างกันไปแต่ส่วนใหญ่จะจุประมาณหนึ่งหรือสองลิตร บางอ่างก็มีระบบ[[ปั๊ม]]น้ำ หรือน้ำพุธรรมชาติเพื่อทำให้เหมือนน้ำไหลซึ่งเป็นการเตือนถึงความสำคัญของน้ำอันเป็นองค์ประกอบของพิธีศีลจุ่ม สำหรับน้ำที่ใส่ในอ่างบางวัดจะมีน้ำมนต์ แต่บางวัดก็ใช้น้ำธรรมดา โดยจะใช้เหยือกเงินที่เรียกว่า “Ewer” เทใส่อ่าง