ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูกระด้าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
บรรทัด 44:
งูกระด้าง มีลำตัว[[สีน้ำตาล]]และ[[สีดำ|ดำ]] หรือบางครั้งจะพบมี[[สีสัน]]ที่หลากหลายมากกว่านี้ แต่ก็จะเป็นไปในกลุ่มสีที่แฝงตัวเข้ากับธรรมชาติได้ มีส่วนหัวเป็น[[รูปสี่เหลี่ยม]]แบน มีจุดเด่นที่สังเกตได้ชัด คือ มีอวัยวะที่คล้าย[[หนวด]]สั้นหุ้มด้วยเกล็ดเล็ก ๆ อยู่ 2 เส้น
 
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 50–90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติต่าง ๆ รวมทั้งในนาข้าว หรือกระทั่งในแหล่ง[[น้ำกร่อย]]หรือ[[น้ำเค็ม]]ด้วย เป็นงูที่มีลักษณะแปลก คือ เมื่อถูกรบกวนหรือถูกจับจะทำตัวแข็งทื่อคล้าย[[กิ่งไม้]] จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "งูกระด้าง"<ref>{{cite web|url=http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-1-search.asp|title= กระด้าง |work=[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]]|access-date=2012-01-01|archive-date=2011-09-26|archive-url=https://web.archive.org/web/20110926151725/http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-1-search.asp|url-status=dead}}</ref>
 
จากความแปลกประหลาดและไม่เป็นอันตรายนี้ อีกทั้งยังเป็นงูที่หาได้มายาก ราคาจึงไม่แพง ทำให้งูกระด้างเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็น[[สัตว์เลี้ยง]] สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยง[[สัตว์เลื้อยคลาน]]หรือสัตว์แปลก ๆ โดยสามารถเลี้ยงได้ใน[[ตู้ปลา]] โดยการจัดสภาพแวดล้อมในที่เลี้ยงให้เลียนแบบธรรมชาติ โดยใส่น้ำเพียงตื้น ๆ ให้งูพออาศัยและใช้กิ่งไม้หรือขอนไม้วางไว้ เพื่อให้งูเกาะเกี่ยวได้ ให้อาหารโดยใช้ลูกปลาขนาดเล็กที่ว่ายน้ำช้า เช่น [[ปลากัด]], [[วงศ์ปลาสอด|ปลาสอด]] และ[[ปลาหางนกยูง]] เป็นต้น