ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามสยาม-เวียดนาม พ.ศ. 2327"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
=== กบฏเตยเซิน องเชียงสือลี้ภัย ===
[[ไฟล์:Nguyen_Anh_in_Bangkok.jpg|thumb|250x250px|เหงียนฟุกอั๊ญ (Nguyễn Phúc Ánh) หรือ"องเชียงสือ" เข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ณ [[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย]]]]
ในพ.ศ. 2314 ปีเดียวกันกับที่สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จยกทัพเข้าโจมตีเมืองบันทายมาศนั้น เกิดกบฏเตยเซิน (Tây Sơn, 西山) หรือกบฏไกเซินขึ้น นำโดยสามพี่น้องตระกูลเหงียนวันได้แก่ เหงียนวันญัค หรือเหงียนญัค (Nguyễn Nhạc, 阮岳) เหงียนวันหลือ หรือเหงียนหลือ (Nguyễn Lữ, 阮侶) และเหงียนวันเหวะ หรือเหงียนเหวะ (Nguyễn Huệ, 阮惠) สามพี่น้อยเหงียนวันยกทัพกบฏเตยเซินเข้ายึดเมือง[[กวีเญิน]] (Qui Nhơn) ไว้เป็นฐานที่มั่น ในขณะที่เจ้าญวนเหนือจิ่ญซัม (Trịnh Sâm) ฉวยโอกาสยกทัพลงมาเข้ายึดเมือง[[เว้]]ได้สำเร็จ ทำให้เจ้าญวนใต้เหงียนฟุกถ่วนพร้อมทั้งสมาชิกตระกูลเหงียนต้องอพยพลี้ภัยลงมาอยู่ที่เมือง[[ไซ่ง่อน]] เหงียนเหวะยกทัพลงมายึดเมืองไซ่ง่อนได้สำเร็จในพ.ศ. 2320 เจ้าญวนใต้เหงียนฟุกถ่วนหลบหนีมาพึ่งหมักเทียนตื๊อ หมักเทียนตื๊อเข้าช่วยเหลือเจ้าญวนใต้โดยการตั้งรับเตยเซินที่เมือง[[ล็องเซวียน]] (Long Xuyên)<ref name=":0" /> เหงียนเหวะยกทัพเข้ายึดเมืองล็องเซวียนได้สำเร็จ จับกุมตัวเจ้าญวนใต้เหงียนฟุกถ่วนไปประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้าตากสินเมื่อทรงทราบว่าหมักเทียนตื๊อพ่ายแพ้ให้แก่เตยเซิน จึงทรงส่งทรงข้าหลวงนั่งเรือไปเสนอให้พบกับหมักเทียนตื๊อเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารที่ธนบุรี<ref name=":0" /> หมักเทียนตื๊อเกรงกลัวเกรงพระราชอำนาจของสมเด็จพระเจ้าตากสินจึงยินยอมเดินทางมาลี้ภัยพึ่งพระบรมโพธิสมภารที่กรุงธนบุรีแต่โดยดีพร้อมกับ”องเชียงชุน” (ông chánh Xuân) โตนเทิ๊ตซวน (Tôn Thất Xuân 尊室春) ซึ่งเป็นสมาชิกในตระกูลเหงียน
 
[[จักรพรรดิซา ล็อง|เหงียนฟุกอั๊ญ]] (Nguyễn Phúc Ánh, 阮福暎) หรือ"องเชียงสือ" ตั้งมั่นที่เมืองไซ่ง่อนเพื่อต้านทานกบฏเตยเซิน ในพ.ศ. 2323 ขุนนางชาวกัมพูชาถวายจดหมายฉบับหนึ่ง กราบทูลว่าองเชียงสือมีจดหมายลับมาถึง”องเชียงชุน”โตนเทิ๊ตซวนให้ก่อการกบฏขึ้นเข้ายึดกรุงธนบุรี หมักเทียนตื๊อเมื่อทราบข่าวได้ทำการฆ่าตัวตายไปก่อน สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงลงพระราชอาญาประหารชีวิต”องเชียงชุน” รวมทั้งบุตรต่างๆของหมักเทียนตื๊อและผู้ติดตามชาวญวนจำนวนรวมทั้งสิ้นห้าสิบสามคน<ref name=":0" /> เหลือเพียงบุตรคนหนึ่งของหมักเทียนตื๊อชื่อว่าหมักตื๊อซิญ (Mạc Tử Sinh 鄚子泩) ซึ่งอายุยังน้อย พระยากลาโหมได้ทูลขอให้ไว้ชีวิต สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงไว้ชีวิตหมักตื๊อซิญแต่ทรงให้เนรเทศไป