ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อานามสยามยุทธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39:
 
=== ความขัดแย้งภายในอาณาจักรกัมพูชา ===
ความขัดแย้งภายในอาณาจักรกัมพูชาซึ่งแต่ละฝ่ายแสวงหาการสนับสนุนจากภายนอก สยามฝ่ายหนึ่งและญวนฝ่ายหนึ่ง นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสยามและญวนซึ่งเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา ในสมัย[[สมเด็จพระเจ้าตากสิน]]ทรงยกทัพไปยึด[[ราชรัฐห่าเตียน|เมืองบันทายมาศ]]ในพ.ศ. 2314 และยกทัพไปยังเมืองอุดงตั้งนักองค์นน (អង្គនន់) ขึ้นเป็น[[สมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งกัมพูชา|พระรามราชาธิราชแห่งกัมพูชา]]ครองกัมพูชา แต่พระรามราชาฯถูกเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) ซึ่งสนับสนุนฝ่ายญวนปลงพระชนม์ในพ.ศ. 2322 เจ้าฟ้าทะละหะ (มู) ยกนักองเอง (អង្គអេង) ซึ่งเป็นพระราชวงศ์เขมรฝ่ายสนับสนุนญวนขึ้นเป็น[[สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ|พระนารายณ์รามาธิบดี]]โดยมีเจ้าฟ้าทะละหะกุมอำนาจ ในพ.ศ. 2326 "องเชียงสือ"[[เหงียน ฟุก อั๊ญ|เหงียนฟุกอั๊ญ]]เจ้าตระกูลเหงียนของญวนเสียเมือง[[ไซ่ง่อน]]ให้แก่[[ราชวงศ์เต็ยเซิน]]หลบหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารฯที่กรุงเทพฯใน[[รัชกาลที่ 1]] เมื่อเจ้าญวนตระกูลเหงียนสิ้นไปเจ้าฟ้าทะละหะถูกสังหารและ[[เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)|ออกญายมราช (แบน)]] ขุนนางกัมพูชาซึ่งฝักใฝ่สยามจึงยึดอำนาจ แต่พระยายมราชพ่ายแพ้แก่ศัตรูจึงนำนักองค์เองกษัตริย์กัมพูชาลี้ภัยเข้ามาที่กรุงเทพฯ นักองค์เองมีโอรสได้แก่นักองค์จันทร์ (អង្គច័ន្ទ) นักองค์สงวน (អង្គស្ងួន) นักองค์อิ่ม (អង្គអិម) และนักองค์ด้วง (អង្គដួង) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯโปรดฯให้[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์|กรมหลวงเทพหริรักษ์]]ยกทัพเรือไปกอบกู้บ้านเมืองให้แก่องเชียงสือแต่พ่ายแพ้ให้แก่ฝ่ายราชวงศ์เต็ยเซินใน[[ยุทธการการรบที่สักเกิ่มซว่ายมุตเกิ่ม-สว่ายมุ๊ต]] (Battle of Rạch Gầm-Xoài Mút)
[[ไฟล์:Tượng Lê Văn Duyệt.jpg|left|thumb|267x267px|"องต๋ากุน"[[เล วัน เสวียต|เลวันเสวียต]] (Lê Văn Duyệt) ผู้สำเร็จราชการในเวียดนามใต้]]
องเชียงสือเดินทางไปกอบกู้บ้านเมืองจากราชวงศ์เต็ยเซินจนสามารถตั้งตัวขึ้นเป็น[[จักรพรรดิซา ล็อง|พระจักรพรรดิยาล็อง]]ก่อตั้งราชวงศ์เหงียนได้ในพ.ศ. 2344 หลังจากที่กัมพูชาว่างเว้นกษัตริย์มาระยะหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯจึงทรงอภิเษกนักองค์จันทร์โอรสองค์โตของนักองค์เองขึ้นเป็น[[สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี|พระอุไทยราชาธิราช]]ครองกัมพูชาในพ.ศ. 2349 พระอุไทยราชานักองค์จันทร์ให้การสนับสนุนแก่ญวนราชวงศ์เหงียน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯสวรรคตในพ.ศ. 2352 พระอุไทยราชาฯไม่มาเข้าร่วมพระราชพิธีที่กรุงเทพฯแจ้งว่าประชวรและทรงส่งนักองค์สงวนและนักองค์อิ่มพระอนุชาทั้งสองมาที่กรุงเทพฯแทน [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]จึงทรงแต่งตั้งให้นักองค์สงวนเป็นพระมหาอุปโยราชและนักองค์อิ่มเป็นพระมหาอุปราช และทรงมีท้องตราถึงพระอุไทยราชาให้เกณฑ์ทัพกัมพูชามาไว้ที่กรุงเทพฯ พระอุไทยราชานักองค์จันทร์ไม่เกณฑ์ไพร่พลมาที่กรุงเทพฯตามท้องตรานั้น ขุนนางเขมรบางส่วนซึ่งสนับสนุนฝ่ายสยามก่อการกบฏขึ้น พระอุไทยราชาทรงประหารชีวิตขุนนางเหล่านั้นและหันไปขอความช่วยเหลือจาก"องต๋ากุน"(Ông Tả Quân, 翁左軍)หรือ [[เล วัน เสวียต|เลวันเสวียต]] (Lê Văn Duyệt, 黎文悅) ผู้สำเร็จราชการในเวียดนามใต้ ในพ.ศ. 2355 พระมหาอุปโยราชนักองค์สงวนก่อการกบฏขึ้น [[เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)|เจ้าพระยายมราช (น้อย)]] ยกทัพสยามเข้าไปที่เมืองอุดงเพื่อไกล่เกลี่ย แต่พระอุไทยราชานักองค์จันทร์เมื่อเห็นว่าทัพสยามยกเข้ามาจึงพาพระราชวงศ์หลบหนีไปอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของเลวันเสวียตที่เมืองไซ่ง่อน พระมหาอุปราชนักองค์อิ่มและนักองค์ด้วงหลบหนีมาเข้ากับฝ่ายสยาม เจ้าพระยายมราช (น้อย) นำตัวนักองค์สงวน นักองค์อิ่ม และนักองค์ด้วงมาที่กรุงเทพฯ พระจักรพรรดิยาล็องมีพระราชสาส์นขอพระบรมราชานุญาติให้พระอุไทยราชากลับมาครองกัมพูชาดังเดิม รวมทั้งขอเมืองบันทายมาศไปไว้ในเขตแดนของเวียดนามด้วย เมื่อพระอุไทยราชานักองค์จันทร์กลับมาครองกัมพูชาแล้วจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของราชวงศ์เหงียน นักองค์สงวนถึงแก่พิราลัยที่กรุงเทพฯเมื่อปีพ.ศ. 2359 เหลือนักองค์อิ่ม และนักองค์ด้วง เป็นเจ้าชายเขมรซึ่งประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ