ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบ้งเฮ็ก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DWR333 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
'''เมิ่ง ฮั่ว''' ตามสำเนียงกลาง หรือ '''เบ้งเฮ็ก''' ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ({{zh-all|t=孟獲|s=孟获|p=Mèng Huò}}) เป็นตัวละครใน[[วรรณกรรม]][[จีน]]อิง[[ประวัติศาสตร์]]เรื่อง[[สามก๊ก]] ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์[[ยุคสามก๊ก]] เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของ[[จ๊กก๊ก]] ซึ่งปัจจุบันคือ [[เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง]] [[มณฑลยูนนาน]]
 
เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจาก[[ต้วนอี้สุมาอี้]] สมุหนายกของ[[วุยก๊ก]] ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ [[เขตเป่าซาน]] [[มณฑลยูนนาน]]) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ
 
สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย