ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูล เคยยกระดับจนกระทั่งมีมติปี 38 ให้เป็นใต้ดิน
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 39:
| map_state = collapsed}}
 
'''รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (ท่าพระ-บางซื่อ-หัวลำโพง-หลักสอง-พุทธมณฑล สาย 4)''' หรือ '''รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน''' ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บท[[โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง|โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล]] ประชาชนนิยมเรียกว่า "รถไฟฟ้าใต้ดิน" เนื่องมาจากช่วงเริ่มแรกให้บริการรถไฟฟ้าเส้นนี้ เส้นทางเป็นระบบใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดย [[ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ|บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]] (BEM) โดยได้รับสัมปทานจาก [[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] เริ่มก่อสร้างในปี [[พ.ศ. 2542]] และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ [[13 เมษายน]] [[พ.ศ. 2547]] และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ [[3 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน<ref>{{Cite web|url=https://siamrath.co.th/n/25002|title=รายงานพิเศษ | น้ำพระทัยฯ ทรงเปี่ยมล้นหลั่งคนกรุง เสด็จทรงเปิด “รถไฟฟ้า” แก้ปัญหาจราจร|author=[[สยามรัฐรายวัน]]|website=siamrath.co.th|date=18 ตุลาคม 2560|accessdate=30 มิถุนายน 2562}}</ref> โดยในระยะแรกช่วงศูนย์สิริกิตต์-หัวลำโพง-บางซื่อ จะเป็นยกระดับเกือบทั้งหมดโดยรัฐเป็นผู้ลงทุน แต่ภายหลังใหัเอกชนลงทุนและเปลี่ยนเป็นใต้ดินทั้งหมด โดยรัฐบาลมีมติเมื่อ 12 กันยายน 2538 ให้ก่อสร้างใต้ดิน รัฐเป็นผู้ลงทุนโยธา ส่วนเอกชนเป็นผู้ดำเนินระบบรถไฟฟ้าและกิจการ<ref>http://research.mol.go.th/2013/rsdat/data/doc/LP47006/03LP47006.pdf</ref>
 
ปัจจุบันมีระยะทางรวม 48 กิโลเมตร เส้นทางเริ่มต้นจาก[[สถานีหลักสอง]] ผ่าน[[สถานีท่าพระ]], [[สถานีสุทธิสาร]] และสิ้นสุดที่[[สถานีท่าพระ]] ตามแนววงกลม รวม 38 สถานี สามารถเชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]]ได้ที่[[สถานีบางหว้า]], [[สถานีสีลม]], [[สถานีสุขุมวิท]], [[สถานีพหลโยธิน (รถไฟฟ้ามหานคร)|สถานีพหลโยธิน]] และ[[สถานีสวนจตุจักร]] เชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม]] ที่[[สถานีเตาปูน]] และเชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]ที่[[สถานีเพชรบุรี]]