ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nutthoney (คุย | ส่วนร่วม)
Nutthoney (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 27:
 
=== การก่อตั้ง ===
ในปี พ.ศ. 2449 ภายใต้มิสซังคาทอลิก คณะภคินีได้เริ่มดำเนินการเปิดโรงเรียนขึ้น 2 แห่ง ในเวลาใกล้เคียงกัน แห่งหนึ่ง คือ [[โรงเรียนพระกุมารเยซูคอนแวนต์]] ([[โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์]] ในปัจจุบัน) ที่ย่านถนนสีลม ดำเนินการโดย[[คณะภคินีเซนต์มอร์]] และอีกแห่งหนึ่ง คือ [[โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์]] ที่ย่านกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี ดำเนินการโดย[[คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร]]
 
ที่ตั้งของโรงเรียน เดิมเป็นที่นาตราจองในตำบลทุ่งวัวลำพอง บนถนนสีลม  ซึ่ง[[เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)|เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี]] ได้รวบรวมและจัดซื้อไว้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งใน ปี พ.ศ. 2449 ท่านได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]บริจาคที่ดินด้านหลังบ้านจำนวน 9 ไร่ ให้แก่[[คณะภคินีเซนต์มอร์]]เพื่อนำไปจัดตั้งโรงเรียน{{efn|เดิม[[คณะภคินีเซนต์มอร์]] (เอกสารบางฉบับเรียกว่า "แซงต์มอร์") มีการสอนเด็กหญิงอยู่ก่อนแล้ว บริเวณเหนือปากคลองผดุงกรุงเกษมริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก แต่สถานที่ดังกล่าวทรุดโทรมเพราะถูกน้ำเซาะพังทลายขึ้นทุกปี [[เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)|เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี]]จึงบริจาคที่ดินที่ถนนสีลมให้ภคินีคณะเซนต์มอร์จัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น}}<ref>หนังสือตึกเก่า-โรงเรียนเดิม, By ยุวดี ศิริ, Matichon Public Company Limited, 2014., หน้า 121-129</ref> ได้มีการรังวัดปักเขตกำหนดเส้นรุ้ง-แวง โดยรุ้งต้นตะวันออกติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี 3 เส้น โดยรุ้งต้นตะวันตกติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีตัดใหม่ 3 เส้น เส้นแวงทิศเหนือติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี 3 เส้น เส้นแวงทิศใต้ติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี 3 เส้น ดังนั้นรูปแปลงที่ดินที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีบริจาคให้จึงน่าจะเป็นแปลงสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 3 เส้น ยาว 3 เส้น และมีที่ดินทั้ง 3 ด้านติดที่ดินของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ส่วนอีกด้านหนึ่งที่เหลือติดถนนที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์ตัดขึ้นใหม่ แต่ปัจจุบันโรงเรียนมีที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น 16 ไร่ 3 งาน 68 ตารางวา ซึ่งน่าจะมีการจัดซื้อเพิ่มเติมในภายหลัง