ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Nullzero/กระบะทราย9"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ทำหน้าว่าง
ป้ายระบุ: ทำหน้าว่าง
บรรทัด 1:
{{ดูบทความหลัก|การระบาดทั่วของโควิด-19 เรียงตามประเทศและดินแดน}}
[[การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย]] ดำเนินอยู่ใน[[ประเทศไทย]]ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2563 และเป็นส่วนหนึ่งของ[[การระบาดทั่วของโควิด-19|การระบาดทั่วโลกของโควิด-19]] โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่พบผู้ป่วยยืนยัน[[โควิด-19]] รายแรกนอก[[ประเทศจีน]]<ref name="scmp-13jan">{{cite web|url=https://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/3045902/wuhan-pneumonia-thailand-confirms-first-case|title=Thailand confirms first case of Wuhan virus outside China|last=Cheung|first=Elizabeth|work=South China Morning Post|date=13 January 2020|accessdate=13 January 2020|archiveurl=https://web.archive.org/web/20200113130102/https://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/3045902/wuhan-pneumonia-thailand-confirms-first-case|archivedate=13 January 2020}}</ref> การคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศพบผู้ป่วยประปรายตลอดเดือน ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากหรือเป็นผู้พำนักอยู่ในประเทศจีนแทบทั้งสิ้น จนเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 ถึงมีรายงานว่าพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการแพร่เชื้อในประเทศเป็นครั้งแรก<ref name="thairath-31jan">{{cite web|url=https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1761053|title=สธ.แถลง พบคนขับแท็กซี่ ติดไวรัสโคโรน่า เป็นคนไทยรายแรก ไม่มีประวัติไปจีน|trans-title=MOPH announces taxi driver infected with coronavirus; first Thai case with no records of travelling to China|work=Thairath Online|accessdate=31 January 2020|language=th|date=31 January 2020|archive-url=https://web.archive.org/web/20200131122334/https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1761053|archive-date=31 January 2020}}</ref> จำนวนผู้ป่วยยังมีน้อยตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีผู้ป่วยยืนยัน 40 รายเมื่อสิ้นเดือน แต่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากในกลางเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งมีการระบุสาเหตุจากกลุ่มการแพร่เชื้อจากหลายกลุ่ม ซึ่งกลุ่มใหญ่สุดเกิดขึ้นในการแข่งขันชกมวยไทย ณ [[สนามมวยเวทีลุมพินี]] เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563<ref name="bangkokbiz-20mar">{{cite web|title=ผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย ปะทุจากผับกทม.4 ย่านดัง- สนามมวยแพร่ไป 9 จ.|trans-title=COVID-19 cases in Thailand surge; spreads from four major Bangkok-area entertainment districts – boxing stadiums to 9 provinces|url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/871604|website=Krungthep Turakij|accessdate=29 March 2020|language=th|date=20 March 2020}}</ref> ผู้ป่วยยืนยันแล้วเพิ่มเกิน 100 คนต่อวัน ในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา
 
การตอบสนองของรัฐบาลต่อการระบาดเริ่มจากการคัดกรองและการติดตามการสัมผัส มีการคัดกรองโควิดตามท่าอากาศยานนานาชาติ ตลอดจนที่โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติเดินทางหรือสัมผัส<ref name="moph-1feb">{{cite web|url=https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/138013|title=รายงานข่าวกรณีโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Novel Coronavirus;2019-nCoV) ประจำวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563|trans-title=Report of Novel Coronavirus (2019-nCoV) situation in Thailand, 1 February 2020|language=th|via=[[Ministry of Public Health (Thailand)|Ministry of Public Health, Thailand]]|date=1 February 2020|accessdate=2 February 2020}}</ref> มีการสอบสวนโรคกรณีที่เกิด[[Disease cluster|กลุ่มการระบาด]] กระทรวงศึกษาธิการเน้นการเฝ้าระวังตนเอง การรักษาความสะอาดโดยเฉพาะการล้างมือ และ[[การเว้นระยะห่างทางสังคม|การเลี่ยงฝูงชน]] (หรือใส่[[หน้ากากอนามัย]]แทน)<ref name="bangkokinsight-31jan">{{cite web|title=สธ.ยกระดับควบคุมป้องกันโรค ประกาศคำเตือนระดับ 3 หลีกเลี่ยงเดินทางไปพื้นที่ระบาด|trans-title=MOPH ramps up disease control measures; issues level 3 warning to avoid areas with ongoing transmission|url=https://www.thebangkokinsight.com/282702/|website=The Bangkok Insight|accessdate=29 March 2020|language=th|date=31 January 2020}}</ref> แม้บุคคลที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยงสูงจะได้รับคำแนะนำให้[[การกักด่าน|กักตนเอง]] แต่ยังไม่มีคำสั่งจำกัดการเดินทางจนวันที่ 5 มีนาคม 2563<ref name="thaipbs-9mar">{{cite web|title=4 ประเทศกลุ่มเสี่ยงเข้าไทยต้องมี "ใบรับรองแพทย์"|trans-title=Arrivals from 4 high-risk coutries required to present "medical certificates"|url=https://news.thaipbs.or.th/content/289635|website=Thai PBS|accessdate=29 March 2020|language=th|date=9 March 2020}}</ref> และวันที่ 19 มีนาคม 2563 มีประกาศเพิ่มเติมให้ต้องมีเอกสารการแพทย์รับรองการเดินทางระหว่างประเทศและคนต่างด้าวต้องมีประกันสุขภาพ<ref name="thairath-19mar">{{cite web|title=ประกาศสกัดโควิด-19 ต่างชาติเข้าไทยต้องมีใบรับรองแพทย์-ประกันภัยแสนเหรียญ|trans-title=To curb COVID-19, foreigners arriving in Thailand now required to possess medical certificate – 100,000 USD health insurance|url=https://www.thairath.co.th/news/business/1799234|website=Thairath Online|accessdate=29 March 2020|language=th|date=19 March 2020}}</ref><ref>{{cite web|title=Covid-19: Thailand's strict new entry requirements take effect|url=https://www.nst.com.my/world/world/2020/03/576922/covid-19-thailands-strict-new-entry-requirements-take-effect|website=New Straits Times|accessdate=29 March 2020|date=22 March 2020}}</ref> ปลายเดือนมีนาคม 2563 สถานที่สาธารณะและธุรกิจห้างร้านได้รับคำสั่งให้ปิดในกรุงเทพมหานคร และอีกหลายจังหวัด<ref name="thairath-22mar">{{cite web|title=กทม.และ 5 จังหวัด ประกาศปิดห้างกับ 25 สถานที่ (คลิป)|trans-title=Bangkok and five other provinces close malls and 25 other locations (with clip)|url=https://www.thairath.co.th/news/society/1800853|website=Thairath Online|accessdate=29 March 2020|language=th|date=22 March 2020}}</ref> นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา [[พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548|ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน]] มีผลวันที่ 26 มีนาคม<ref name="thestandard-24mar">{{cite web|author1=The Standard Team|title=นายกฯ ประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คุมโควิด-19 มีผล 26 มี.ค. ย้ำยังไม่ประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกนอกบ้าน|trans-title=PM declares state of emergency effective 26 March in response to COVID-19; maintains there is no curfew yet|url=https://thestandard.co/promulgating-the-emergency-decree/|website=The Standard|accessdate=29 March 2020|language=th|date=24 March 2020}}</ref> และมีประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานยามวิกาล ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน 2563<ref>{{cite news |title=Curfew starts today |url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1891910/curfew-starts-today |newspaper=Bangkok Post |date=3 April 2020|accessdate=3 April 2020}}</ref> พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินยังสั่งงดจำหน่ายสุราชั่วคราวและให้ประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด ซึ่งยกเลิกเป็นส่วนใหญ่ในเดือนกรกฎาคมและเปิดสถานศึกษาในเดือนสิงหาคม 2563 อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังไม่ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน ต่อมาพบการระบาดของโรครอบใหม่ในจังหวัดสมุทรสาครประมาณกลางเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งสงสัยว่ามาจากแรงงานต่างด้าวที่มีการลักลอบพาเข้าประเทศ ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 เดือนเมษายน 2564 พบการระบาดใหม่โดยมีคลัสเตอร์ที่ย่านทองหล่อและนราธิวาส
 
รัฐบาลถูกวิจารณ์อย่างหนักจากการรับมือวิกฤตการณ์ในหลายด้าน ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หลังเกิดความกังวลต่อการกักตุนและโก่งราคาขายหน้ากากอนามัย รัฐบาลเข้าควบคุมราคาและแทรกแซงการจัดจำหน่าย<ref>{{cite web|title=ประกาศราชกิจจาฯ 'หน้ากากอนามัย-เจลล้างมือ' สินค้าควบคุม 1 ปี|trans-title=New regulations imposed on 'face masks – hand gels' to remain in effect for one year |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/865007|website=Krungthep Turakij|accessdate=29 March 2020|language=th|date=4 February 2020}}</ref> แต่ยังไม่สามารถป้องกันการขาดแคลนตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้ และเกิดกรณีอื้อฉาวจากกรณีที่ประชาชนสงสัยว่ามีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการลักเอาจากคลัง<ref>{{cite web|title='จุรินทร์'รับกำลังผลิตหน้ากากอนามัยไม่เพียงพอ|trans-title='[[:th:จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์|Churin]]' admits production capacity of face masks still not enough|url=https://www.dailynews.co.th/politics/756980|website=Daily News|accessdate=29 March 2020|language=th|date=11 February 2020}}</ref><ref>{{cite web|title=หน้ากากอนามัยไม่เพียงพอ สธ.แนะคนไม่ป่วยให้ใส่หน้ากากผ้า|trans-title=In face of mask shortage, MOPH advises the healthy to wear cloth masks|url=https://workpointnews.com/2020/03/05/surgical-mask/|website=Workpoint News|accessdate=29 March 2020|language=th|date=5 March 2020}}</ref><ref>{{cite web|last1=Rojanaphruk|first1=Pravit|title=Minister’s Aide Accused of Hoarding, Selling Millions of Masks to China|url=https://www.khaosodenglish.com/politics/2020/03/09/ministers-aide-accused-of-hoarding-selling-millions-of-masks-to-china/|website=Khaosod English|accessdate=29 March 2020|date=9 March 2020}}</ref> นอกจากนี้ รัฐบาลยังถูกวิจารณ์เกี่ยวกับนโยบายข้อกำหนดการเดินทางระหว่างประเทศและการกักโรค ลงมือไม่เด็ดขาดและล่าช้า และการสื่อสารแบบกลับไปกลับมา<ref>{{cite web|title=คนไทยในต่างแดนฟ้องศาลปกครองสั่งยกเลิกใบ Fit to Fly|trans-title=Thais living abroad file petition with Administrative Court to rescind fit-to-fly order|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-52057969|website=BBC Thai|accessdate=29 March 2020|language=th|date=27 March 2020}}</ref><ref>{{cite web|title=มึน กทม. "ยกเลิกข่าว" ปิดห้าง 22 วัน|trans-title=Confusion ensues as Bangkok authorities "cancel" news release of 22-day mall shutdown|url=https://www.thansettakij.com/content/world/425772|website=Thansettakij|accessdate=29 March 2020|language=th|date=21 March 2020}}</ref> การสั่งปิดธุรกิจห้างร้านในกรุงเทพมหานครโดยพลัน ทำให้คนงานหลายหมื่นคนเดินทางกลับภูมิลำเนา ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเข้าไปอีก สะท้อนภาพความล้มเหลวของการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ<ref>{{cite web|title=เผยคนแห่นั่งรถทัวร์ กลับบ้านหนีโควิด เกือบแสน! รมว.คมนาคม สั่งทำ 7 ขั้นตอน|trans-title=Nearly 100,000 flock home on tour buses to flee COVID! Transport Minister orders 7-step procedure|url=https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_3799830|website=Khaosod|accessdate=29 March 2020|language=th|date=22 March 2020}}</ref> อีกด้านหนึ่ง ประเทศไทยค่อนข้างประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคระบาด โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ทนทาน<ref>{{Cite web|last=Abuza|first=Zachary|date=21 April 2020|title=Explaining Successful (and Unsuccessful) COVID-19 Responses in Southeast Asia|url=https://thediplomat.com/2020/04/explaining-successful-and-unsuccessful-covid-19-responses-in-southeast-asia/|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=10 June 2020|website=The Diplomat}}</ref><ref>{{Cite web|last=Bello|first=Walden|date=3 June 2020|title=How Thailand Contained COVID-19|url=https://fpif.org/how-thailand-contained-covid-19/|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=10 June 2020|website=Foreign Policy In Focus}}</ref> ในการระบาดระลอกหลัง ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศแต่ใช้วิธีกำหนดมาตรการตามพื้นที่เสี่ยง พร้อมกับมีมาตรการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจลดลงมาก
 
แผน[[การฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย|การกระจายวัคซีนในประเทศ]]เน้นการนำเข้าวัคซีนซิโนแวคและใช้วัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตในประเทศเป็นหลัก ทางการสั่งซื้อวัคซีนในเดือนพฤศจิกายน 2563 แต่ถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องราคา การห้ามเอกชนนำเข้าวัคซีนและความเกี่ยวข้องกับ[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ[[เครือเจริญโภคภัณฑ์]]<ref name="หาซีน"/><ref name="ทอน"/><ref name="CP"/> นอกจากนี้ การกระจายวัคซีนโดยไม่คำนึงถึงลำดับความเร่งด่วนรวมถึงการเลือกปฏิบัติ การกระจายวัคซีนล่าช้า ความแคลงใจต่อประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงของวัคซีนซิโนแวค และการสั่งห้ามนำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่นทำให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างมาก จนมาถึงเดือนมิถุนายน 2564 จึงเริ่มมีการอนุญาตให้นำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่นผ่านหน่วยงานของรัฐ ส่วนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดลกำลังวิจัยวัคซีนในประเทศ ปัจจุบันยังมีคำสั่งซื้อวัคซีนอีกหลายยี่ห้อแต่จะเข้าประเทศในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564
 
โรคระบาดทำให้เศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญ [[กองทุนการเงินระหว่างประเทศ]]ทำนายว่าจีดีพีของไทยจะหดตัวลงร้อยละ 6.7<ref>{{cite news |last1=Paweewun |first1=Oranan |title=IMF: Thai GDP down 6.7% |url=https://www.bangkokpost.com/business/1900795/imf-thai-gdp-down-6-7- |accessdate=10 June 2020 |work=Bangkok Post |date=16 April 2020}}</ref> ในปี 2563 ปรับลดจากเดิมขยายตัวร้อยละ 2.5 รัฐบาลประกาศมาตรการช่วยเหลือหลายอย่าง รวมทั้งการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านบาท แต่มีผู้ได้รับการช่วยเหลือจำนวนน้อย<ref>{{cite news |last1=Theparat |first1=Chatrudee |title=Cabinet gives green light to B1.9tn stimulus |url=https://www.bangkokpost.com/business/1894985/cabinet-gives-green-light-to-b1-9tn-stimulus |work=Bangkok Post |date=7 April 2020}}</ref>
 
==เส้นเวลา==
{{further|สถิติการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย}}
 
===มกราคมถึงมีนาคม 2563===
{{การระบาดทั่วของโควิด-19 ข้อมูล/ประเทศไทย แผนภูมิผู้ป่วย}}
[[ไฟล์:Early Coronavirus 2019 Poster at a Hospital in Thailand January 2020.jpg|thumb|ใบประกาศแจ้งเตือนผู้ป่วยที่กลับจากประเทศจีนและมีอาการ ที่[[ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี|ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ]]]]
วันที่ 13 มกราคม 2563 พบผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันรายแรก ซึ่งนับเป็นผู้ป่วยรายแรกที่พบนอกประเทศจีน โดยเป็นหญิงจีนที่เดินทางมากับกลุ่มทัวร์จากนครอู่ฮั่นมายัง[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]เมื่อวันที่ 8 มกราคม<ref name=Schnirring14Jan2020>{{cite web|url=http://www.cidrap.umn.edu/news-perspective/2020/01/report-thailands-coronavirus-patient-didnt-visit-outbreak-market|title=Report: Thailand's coronavirus patient didn't visit outbreak market|last=Schnirring|first=Lisa|website=CIDRAP|date=14 January 2020|accessdate=15 January 2020|archiveurl= https://web.archive.org/web/20200114230152/http://www.cidrap.umn.edu/news-perspective/2020/01/report-thailands-coronavirus-patient-didnt-visit-outbreak-market|archivedate=14 January 2020}}</ref><ref name="promed14Jan2020">{{cite web|title=Novel coronavirus (02): Thailand ex China (HU) WHO. Archive Number: 20200113.6886644 |url=https://promedmail.org/promed-post/?id=6886644|website=Pro-MED-mail|publisher=International Society for Infectious Diseases|accessdate=14 January 2020}}</ref><ref name="SCMP13Jan2020">{{Cite web|url=https://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/3045902/wuhan-pneumonia-thailand-confirms-first-case|title=Thailand confirms first case of Wuhan virus outside China|last=|first=|date=13 January 2020|website=South China Morning Post|archive-url=https://web.archive.org/web/20200113130102/https://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/3045902/wuhan-pneumonia-thailand-confirms-first-case|archive-date=13 January 2020|access-date=13 January 2020}}</ref> ระหว่างวันที่ 17–31 มกราคม 2563 พบผู้ป่วยโควิด-19 ยืนยันแล้วอีกรวมเป็น 19 คน ในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน โดยพบที่จังหวัดเชียงใหม่ นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์และกรุงเทพมหานคร<ref>{{Cite web|url=https://www.chiangmaicitylife.com/news/new-patient-suspected-of-new-corona-virus-found-in-chiang-mai/|title=New patient suspected of new corona virus found in Chiang Mai.|last=CityNews|website=Chiang Mai Citylife|language=en|access-date=2020-01-22}}</ref><ref>{{Cite web|url=https://www.cm108.com/w/19543/|title=ด่วน! เชียงใหม่พบผู้ต้องสงสัยปอดอักเสบ เป็นชายชาวจีน มีไข้สูง เดินทางมาจากอู่ฮั่น ประเทศจีน|last=Nwdnattawadee|first=Nwdnattawadee|date=2020-01-21|website=CM108 เชียงใหม่108|access-date=2020-01-22}}</ref><ref>{{Cite news|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1841199/first-thai-infected-with-coronavirus|title=First Thai infected with coronavirus|date=22 January 2020|work=Bangkok Post|access-date=23 January 2020}}</ref><ref>{{Cite news|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1841589/govt-confirms-thai-coronavirus-case|title=Govt confirms Thai coronavirus case|date=23 January 2020|work=Bangkok Post|access-date=24 January 2020}}</ref>
<ref>{{Cite news|url= https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_3453845|title= สธ.ยืนยัน สาวจีนป่วย ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ รายที่ 5 แล้วในไทย |date=24 January 2020|work=Khaoosod|access-date=25 January 2020}}</ref><ref name="huahin1">{{Cite news|url= https://www.dailynews.co.th/regional/753907|title=ผลออกแล้ว!หญิงชาวจีนที่หัวหิน ติดเชื้อ'ไวรัสโคโรน่า'|date=25 January 2020|work=Dailynews|access-date=25 January 2020}}</ref><ref name =Thailand26Jan2020">{{Cite news|url= https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/118387|title= สธ.ยืนยันพบผู้ป่วย “ไวรัสโคโรนา” 8 ราย| website=PPTVHD36 |date= 25 January 2020 |accessdate= 26 January 2020}}</ref><ref>{{Cite web|url=https://news.thaipbs.or.th/content/288389|title=ด่วน! สธ.ยืนยัน พบนักท่องเที่ยวจีนในไทยติดเชื้อโคโรนาเพิ่ม 6 คน|date=2020-01-28|website=Thai PBS|access-date=2020-01-28}}</ref><ref>{{cite web |url=https://www.channelnewsasia.com/news/asia/wuhan-virus-thailand-cases-number-new-12361040 |title=Thailand confirms 6 more Wuhan virus infections, bringing total to 14 |accessdate=28 January 2020 |website=CNA |date=28 January 2020}}</ref> โดยพบผู้ป่วยชาวไทยที่ไม่มีประวัติเดินทางไปประเทศจีนคนแรกในวันที่ 31 มกราคม โดยเป็นคนขับแท็กซี่ซึ่งคาดว่าสัมผัสกับนักท่องเที่ยวจีน<ref>{{cite web|title=สธ.แถลง พบคนขับแท็กซี่ ติดไวรัสโคโรน่า เป็นคนไทยรายแรก ไม่มีประวัติไปจีน|trans-title=Ministry of Health announces taxi driver infected with coronavirus, first Thai with no records of travelling to China|url=https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1761053|website=Thairath Online|accessdate=31 January 2020|language=th|date=31 January 2020|archive-url=https://web.archive.org/web/20200131122334/https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1761053|archive-date=31 January 2020}}</ref>
 
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ รัฐบาลส่งเครื่องบินไปรับพลเมือง 138 คน ที่ติดอยู่ในนครอู่ฮั่นจากมาตรการ[[การปิดอู่ฮั่น พ.ศ. 2563|ปิดเมือง]]<ref>{{cite web|title=เครื่องบินรับ 138 คนไทยจากอู่ฮั่น เดินทางถึงสนามบินอู่ตะเภาแล้ว (มีคลิป)|trans-title=Plane carrying 138 Thais from Wuhan has landed at U-Tapao Airport (with clip)|url=https://www.sanook.com/news/8025822/|website=Sanook|accessdate=4 February 2020|language=th|date=4 February 2020|archive-url=https://web.archive.org/web/20200204190239/https://www.sanook.com/news/8025822/|archive-date=February 4, 2020}}</ref>
 
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ มีการพบหญิงชาวไทยคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ป่วยรายที่ 35 ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โดยเป็นกรณีแรกที่ผู้ป่วยเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขในประเทศไทย จากการสอบสวนพบว่า บุคคลนี้มิได้มีการสวมหน้ากากอนามัยและชุดป้องกันขณะให้การรักษาผู้ป่วย<ref>{{cite web|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1858164/|title=First case of medical worker found|work=Bangkok Post|date=11 February 2020|accessdate=17 February 2020}}</ref> ทั้งนี้มีรายงานหลายแห่งออกมากล่าวว่าบุคคลนี้ทำงานอยู่ที่[[สถาบันบำราศนราดูร]] ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง และภายหลังมีการชี้แจงโดยกระทรวงสาธารณสุข<ref>{{cite news|url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/866447|title=บุคลากรทางการแพทย์ไทย ติด 'ไวรัสโคโรน่า 2019' รายแรก|via=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|date=15 February 2020|accessdate=17 February 2020}}</ref>
 
[[ไฟล์:Social distancing seats at Chulalongkorn Hospital 2020 March.jpg|thumb|มาตรการป้องกันการติดเชื้อโดยการ[[Social distancing|เว้นระยะห่างกับสังคม]] (Social distancing) โดยห้ามนั่งเก้าอี้ติดกัน ที่[[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]]]]
วันที่ 1 มีนาคม กระทรวงสาธารณสุขรายงานพบผู้เสียชีวิตรายแรกของประเทศ เป็นชายไทย อายุ 35 ปี ซึ่งป่วยเป็น[[ไข้เด็งกี]]มาก่อนหน้านี้เมื่อปลายเดือนมกราคม ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ต่อมาผู้ป่วยเสียชีวิตด้วย[[กลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะ]] ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์<ref name="bbcth1stdeath">{{cite web|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-51694727|title=ไวรัสโคโรนา : ผู้ป่วยโควิด-19 คนไทย เสียชีวิตรายแรก|trans-title=First Thai COVID-19 death|via=BBC Thailand|date=1 March 2020|accessdate=1 March 2020}}</ref >
 
วันที่ 6 มีนาคม พบว่าสนามมวยลุมพินีเป็นคลัสเตอร์ระบาดหลัก ต่อมาวันที่ 17 มีนาคม รัฐบาลมีนโยบายให้ปิดสถานที่มีคนมารวมตัวกันเป็นกิจวัตร ซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อได้ง่าย โดยสถาบันการศึกษา สถาบันกวดวิชา ร้านนวด ผับ สถานบันเทิง สถานบริการ นวดแผนโบราณ และโรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ให้ปิดตั้งแต่ 18–31 มีนาคม ขณะที่สนามมวย สนามกีฬา สนามม้า ให้ปิดทันทีจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และให้งดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค และให้ทุกหน่วยงานพิจารณามาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน และการทำงานที่บ้าน<ref>{{cite web|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-51923686|title=ไวรัสโคโรนา : ครม.สั่งปิดสถานศึกษา-สถานบันเทิง ชาวต่างชาติจากเขตโรคติดต่อต้องมีใบรับรองแพทย์|work=บีบีซีไทย|date=17 March 2020|access-date=24 March 2020}}</ref> วันที่ 23 มีนาคม ประชาชนในกรุงเทพมหานครทยอยเดินทางกลับต่างจังหวัด<ref name="bkbiz"/>
 
วันที่ 25 มีนาคม รัฐบาล[[พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548|ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน]]ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม – 30 เมษายน โดยมีระบุสิ่งที่ห้ามทำและให้ทำ เช่น ห้ามเข้าพื้นที่เขตกำหนดตามคำสั่งผู้ว่าฯ ห้ามคนทั้งหลายเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย (มีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลต่าง ๆ) ห้ามชุมนุมมั่วสุม ห้ามแพร่ข่าวเท็จ เป็นต้น<ref>{{cite web|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-52030713|title=ไวรัสโคโรนา : รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศ 26 มี.ค.-30 เม.ย. สกัดโควิด-19 ยังไม่สั่ง “ปิดประเทศ-ปิดเมือง-ปิดบ้าน”|work=บีบีซีไทย|date=25 March 2020|accessdate=31 March 2020}}</ref> นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้ง "[[ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019]]" (ศบค.)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/069/T_0006.PDF คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘]</ref>เป็นหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ใน[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]] โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ<ref name=":0">{{Cite web|url=https://www.thaipost.net/main/detail/60887|title=เปิดคำสั่งตั้ง 'ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19' บิ๊กตู่นำทัพต้านไวรัสนรก|author=[[ไทยโพสต์]]|website=www.thaipost.net|date=25 March 2020|accessdate=6 April 2020}}</ref>
 
===เมษายนถึงมิถุนายน 2563===
3 เมษายน รัฐบาลประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในยามวิกาล ([[เคอร์ฟิว]]) ทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 22.00–04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น<ref>{{cite web|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-52240044|title=โควิด-19 : เคอร์ฟิว 24 ชม. ในไทยยังเป็นแค่ “ข่าวปลอม” แล้วมีประเทศไหนบ้างที่สั่ง “ปิดบ้าน” สกัดไวรัสโคโรนา|work=บีบีซีไทย|author=หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ|date=10 April 2020|access-date=10 April 2020}}</ref>
 
วันที่ 9 เมษายน อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงว่ามีการค้นหาโรคเชิงรุก (Active case finding) และกำลังเฝ้าติดตามคนไทยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังระบุว่าได้ชี้เป้าหมายให้จังหวัดภูเก็ตดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค หลังพบผู้ป่วยในจังหวัดภูเก็ต 158 รายตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทางจังหวัดมีมาตรการปิดสถานบันเทิง ร้านนวดขยายทั้งจังหวัด และปิดช่องทางเข้าออกจังหวัด<ref>[https://news.thaipbs.or.th/content/290903 ปูพรมตรวจ Active case finding ตัดตอน COVID-19 ระบาด]</ref> 17 เมษายน พลตำรวจเอก [[อัศวิน ขวัญเมือง]] แถลงว่าจากการลงพื้นที่ตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 เชิงรุกในพื้นที่กรุงเทพมหานครร่วมกับเพจ หมอแล็บแพนด้า ทำให้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย<ref>[https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_3967925 กรุงผวาอีกรอบ! กทม.ตรวจโควิดเชิงรุก เจอติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 5]</ref>
 
รายงานการศึกษาพฤติกรรมคนไทยในช่วงล็อกดาวน์จัดทำโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า คนในเขตเมืองปฏิบัติตามคำแนะนำของรัฐค่อนข้างดีมากกว่า 75% ทุกมาตรการ แต่คนยากจนในเขตเมืองและคนชนบทยังปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมได้น้อย เนื่องจากเลี่ยงพื้นที่แออัดไม่ได้ และคนชนบทยังมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอยู่ งานวิจัยพบว่า 89% ของกิจกรรมเกิดขึ้นในบ้านพักตนเองหรือญาติ ประชาชนติดตามข่าวสารน้อยลงและมีความตั้งใจปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ลดลงมากหลังจากล็อกดาวน์ 2 สัปดาห์ และพบว่าหากมีการล็อกดาวน์ต่อ ความตั้งใจในการปฏิบัติตามอาจไม่กลับสู่ค่าเดิมในช่วงแรกของการล็อกดาวน์ได้อีก<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877748 “เจาะลึกพฤติกรรมคนไทย” ต่อมาตรการลดแพร่ระบาดโควิด-19]</ref>
 
[[ไฟล์:TH-COVID19 Free-food-handout 20200417 IMG 9930.jpg|thumb|left|แถวประชาชนที่รอรับแจกอาหาร ถ่ายที่เกาะสมุย]]
วันที่ 20 และ 22 เมษายน เกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่จับผู้แจกอาหารให้แก่ผู้มารอรับบริจาคทั้งที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดภูเก็ตตามลำดับ<ref>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1827256 เพื่อไทย ห่วง จนท.ทำเกินกว่าเหตุ จับผู้ใจบุญแจกอาหารช่วงโควิด-19]</ref> ด้านกรุงเทพมหานครมีข้อกำหนดสำหรับการแจกอาหาร เช่น ให้เจ้าหน้าที่ช่วยแจก แจกในที่ที่ราชการกำหนด หรือใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางในการประสานงานกับเจ้าหน้าที่<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877555 เปิดวิธี ‘แจกอาหาร’ ให้ถูกระเบียบ กทม. สู้ภัยโควิด-19 ไปด้วยกัน]</ref> 25 เมษายน มีข่าวว่าราชการอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ไม่รับประสานการแจกของบริจาคช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีคำพูดว่า "จะแจกเพื่ออะไร อยากได้หน้า หรือหาเสียง"<ref>[https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_4016775 ฟังแล้วจุก! ติดต่อแจก ของบริจาค โดนถามกลับ อยากได้หน้าเหรอ?]</ref>
 
24 เมษายน ฝ่ายค้านเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกพระราชกำหนดฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน และให้เปิดสมัยประชุมวิสามัญเพื่ออภิปรายปัญหาโควิด-19<ref>[https://www.bbc.com/thai/52393003 โควิด-19 : ฝ่ายค้านมีมติให้รัฐบาลเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขอเปิดสภาสมัยวิสามัญถกปัญหาไวรัส]</ref>
 
25 เมษายน ศบค. เปิดเผยว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 42 รายจากการตรวจหาเชื้อในแรงงานข้ามชาติ ณ ศูนย์กักขังที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อ. สะเตา จ. สงขลา<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-52408192 โควิด-19 : ไทยพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 53 ราย จากการตรวจกลุ่มแรงงานข้ามชาติซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงรายใหม่]</ref>
 
[[ไฟล์:ไทยชนะ ที่แม็คโคร สู้โควิด.jpg|thumb|เจ้าหน้าที่ประจำห้างค้าส่งแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ให้ลูกค้าสแกน''[[ไทยชนะ]]'' ก่อนเข้าภายในอาคาร]]
3 พฤษภาคม ได้เริ่มบังคับใช้มาตรการผ่อนปรนระยะที่ 1 ใน 6 กลุ่มกิจกรรมในโซนสีขาว ให้กลับมาดำเนินการได้ปกติ ได้แก่ ตลาด ร้านจำหน่ายอาหาร กิจการค้าปลีก-ส่ง กีฬาสันทนาการ ร้านตัดผมและเสริมสวยและร้านตัดผมและฝากเลี้ยงสัตว์ ของ ศบค. มีผล<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-52481798 โควิด-19 : ศบค. เคาะมาตรการผ่อนปรน 6 กลุ่มกิจการ-กิจกรรม เริ่ม 3 พ.ค.]</ref> วันเดียวกัน จังหวัดยะลาพบจำนวนผู้ป่วยจากการตรวจหาผู้ป่วยใหม่เชิงรุกจำนวน 23 คน ด้านโฆษก ศบค. แถลงว่า จากกระแสข่าวที่ตรวจพบผู้ป่วยใหม่ 40 รายก่อนหน้านี้นั้นเป็นตัวเลขสัดส่วนที่มากผิดปกติ จึงสั่งให้มีการทบทวนใหม่ก่อน และยืนยันว่าจะไม่มีการปกปิดข้อมูล<ref>[https://www.thairath.co.th/news/local/south/1835971 เผยยะลาปฏิบัติการเชิงรุก พบผู้ติดโควิดที่ยะหากว่า 20 คน สั่งตรวจใหม่]</ref>
 
4 พฤษภาคม พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 18 รายที่ศูนย์กักคนเข้าเมือง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878960 ไทยพบผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' เพิ่ม 18 ราย รวมยอดสะสม 2,987 ราย ไม่พบเสียชีวิตเพิ่ม]</ref> วันเดียวกัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยอยู่ในระดับที่ควบคุมได้และมีจังหวัดเกินครึ่งหนึ่งของประเทศที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในช่วง 4 สัปดาห์หลัง แต่จะยังเฝ้าระวังการระบาดระลอกที่สองต่อไป<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878991 '4 สัญญาณ'เฝ้าระวัง'โควิด-19'ระบาดระลอก2ในไทย]</ref>
 
13 พฤษภาคม ศบค. แถลงว่าประเทศไทยไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เป็นวันแรก และเป็นวันที่ 17 ที่จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อต่ำกว่าวันละ 10 คน นอกจากนี้ ภายใน 28 วันที่ผ่านมามี 50 จังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม โดยจำนวนผู้ป่วยสะสมยังคงมากในกรุงเทพมหานครและภาคใต้<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-52643841 โควิด-19 : ไทยไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่เป็นวันแรก]</ref>
 
17 พฤษภาคม ได้เริ่มบังคับใช้มาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 2 ตามประกาศของ ศบค. มีผลบังคับโดย อนุญาตให้เปิดห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานออกกำลังกายบางส่วน<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-52672470 โควิด-19 : ศบค. เดินหน้าผ่อนปรนมาตรการระยะ 2 ลดเวลาเคอร์ฟิว เปิดห้างใหญ่-สนามกีฬา 17 พ.ค.]</ref> ในปลายเดือน คณะรัฐมนตรีมีมติต่อ พรก. ฉุกเฉินต่อ<ref>[https://mgronline.com/daily/detail/9630000054988 เคาะต่อพรก.ฉุกเฉิน1เดือน…ลุ้นลดเคอร์ฟิว-ผ่อนปรนเฟส3]</ref> รวมทั้งการผ่อนปรนระยะที่ 3 และลดระยะเวลาเคอร์ฟิวเป็น 23.00–3.00 น.<ref>[https://www.thansettakij.com/content/436474 เบื้องหลัง “คลายล็อกเฟส 3" เตรียมยกเลิก "พรก.ฉุกเฉิน" หลังระยะ4]</ref>
 
ในเดือนมิถุนายน 2563 ศบค. ผ่อนปรนมาตรการเป็นลำดับ โดยเปิดให้ประชาชนเดินทางข้ามจังหวัดได้ในต้นเดือนมิถุนายน<ref>{{Cite web|url=https://www.springnews.co.th/thailand/672897|title=เดินทางข้ามจังหวัด ตามมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 ต้องทำอย่างไรบ้าง?|website=www.springnews.co.th|author=[[สปริงนิวส์]]|date=31 May 2020|accessdate=1 June 2020}}</ref> กลางเดือน ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถาน และสามารถใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียน หรือสถานศึกษา สถาบันกวดวิชา และสามารถเปิดโรงเแรม โรงมหรสพ ห้องประชุม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร และเครื่องดื่มทั่วไป อนุญาตให้มีการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ ยกเว้น สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการประเภทผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานที่พำนักอาศัย สามารถเปิดได้แต่ต้องมีมาตรการ ยกเว้นสถานบันเทิง สถานแข่งขัน<ref>[https://www.thairath.co.th/news/society/1868751 กทม. ประกาศผ่อนปรนระยะ 4 เช็ก 11 สถานที่เปิดได้ ส่วนอีก 5 ยังหมดสิทธิ์]</ref> และปลายเดือน ศบค. ประกาศผ่อนปรนระยะที่ 5 ซึ่งรวมถึงธุรกิจผับ บาร์ คาราโอเกะ โรงอาบน้ำ โรงน้ำชา ร้านเกมและอินเทอร์เน็ต<ref>[https://www.bbc.com/thai/international-53162018 โควิด-19 : ผ่อนคลายมาตรการระยะ 5 ผับ-บาร์-คาราโอเกะ-อาบอบนวด เปิดได้แต่ต้องปิดเที่ยงคืน]</ref> แต่คณะรัฐมนตรียังต่ออายุ พรก. ฉุกเฉินต่อ พร้อมมีคำสั่งห้ามชุมนุม ห้ามกักตุนสินค้า และห้ามเสนอข่าวเท็จ<ref>[https://www.thansettakij.com/content/politics/440203 ต่ออายุ "พรก.ฉุกเฉิน" ครม.เคาะวันนี้ เตือน ห้ามชุมนุม-กักตุนสินค้า โทษหนัก]</ref>
{{clear|left}}
 
=== กรกฎาคมถึงกันยายน 2563 ===
8 กรกฎาคม พบกรณีทหารอียิปต์จากเครื่องบินทหารพบติดโควิด-19 แต่ไม่ได้กักตัว และ 10 กรกฎาคม พบผู้ป่วยเด็กครอบครัวของอุปทูตซูดานติดโควิด-19 แต่ไม่ได้กักตัวที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/889212 สรุปครบ! ประเด็น 'ทหารอียิปต์' และ 'ลูกทูตซูดาน' ป่วยโควิด-19 เสี่ยงระบาดในไทย]</ref> 14 กรกฎาคม ศบค. ชี้แจงว่า กรณีทหารอียิปต์ใช้เพียงวิธีระบบติดตามตัวเท่านั้น<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/889205 เคลียร์ชัด! เคส VIP 'ทหารอียิปต์' ศบค.แจงทำไมไม่ตรวจ 'โควิด-19']</ref> มีคำสั่งกักตัวผู้ใกล้ชิดจากการบินไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/889211 'การบินไทย' สั่งกักตัว 7 จนท.ภาคพื้น หลังให้บริการ 'ทหารอียิปต์']</ref><ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/889248 กักตัวตำรวจภูธรเมืองระยอง 6 นายเสี่ยงโควิด-19]</ref> นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีคำสั่งย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/889201 ครม.ไฟเขียว สั่งย้ายผู้ว่าฯ ระยอง]</ref>
 
ในวันที่ 19 สิงหาคม มีรายงานพบผู้ป่วยที่อาจเป็นการติดเชื้อรายแรกในประเทศในรอบ 86 วัน แต่ขณะนี้กำลังรอผลตรวจ<ref>{{cite news |title="โอกาสที่จะเป็นการติดเชื้อในประเทศได้น้อยมาก" |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-53839708 |accessdate=23 August 2020 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> วันที่ 21 สิงหาคม โฆษก ศบค. ประกาศว่าที่ประชุมมีมติขยายเวลาสถานการณ์ฉุกเฉินไปอีก 1 เดือน จนหมดเขตวันที่ 30 กันยายน โดยอ้างว่าเพื่อควบคุมการเดินทางเข้าประเทศของคนต่างด้าวหลายเส้นทาง พร้อมกับให้เหตุผลว่า ประชาชนไม่ได้รับผลกระทบจาก พรก. ฉุกเฉิน และที่ประชุม ศบค. ได้ผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมายมากแล้ว เช่น เปิดให้มีการเรียนการสอนในสถานศึกษา<ref>{{cite news |title=ศบค.ชุดใหญ่ เคาะต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน |url=https://www.posttoday.com/politic/news/631168 |accessdate=23 August 2020 |work=โพสต์ทูเดย์ }}</ref>
 
วันที่ 3 กันยายน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อรายแรกในประเทศในรอบ 100 วัน โดยเป็นผู้ต้องขังชายที่ต้องโทษในคดียาเสพติด และก่อนหน้านั้นทำงานเป็นดีเจ โดยมีการตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 2 กันยายน หลังจากพบอาการมีเสมหะเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม<ref>{{Cite web|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-54011834|title=โควิด-19 : พบผู้ต้องขังชายติดเชื้อก่อนส่งตัวเข้าแดน ทางการเร่งติดตามผู้ใกล้ชิดป้องกันการระบาดระลอก 2|author=[[บีบีซีไทย]]|website=www.bbc.com|date=3 September 2020|accessdate=22 October 2020}}</ref>
 
=== ตุลาคมถึงธันวาคม 2563 ===
วันที่ 20 ตุลาคม นักท่องเที่ยวจีนจำนวน 41 คนจากเซี่ยงไฮ้เดินทางถึงประเทศ โดยเข้ากักตัว 14 วัน<ref>{{cite news |title=กลุ่มแรก! 41 ทัวร์จีนถึงไทย-กักตัวอีก 14 วัน |url=https://news.thaipbs.or.th/content/297557 |accessdate=21 October 2020 |work=Thai PBS |date=20 October 2020}}</ref>
 
วันที่ 18 พฤศจิกายน ศบค. ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอีก 45 วัน ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2563–15 ม.ค. 2564 และถอนข้อเสนอลดเวลาการกักตัวเหลือ 10 วัน ของกระทรวงสาธารณสุข<ref>{{cite news |url=https://mgronline.com/qol/detail/9630000119094 |title=ศบค.ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 45 วัน ตีกลับกักตัวเหลือ 10 วัน มาเสนอใหม่อีกครั้ง ไฟเขียวชายแดนตั้ง OQ |work=ผู้จัดการออนไลน์ |date=18 November 2020}}</ref>
 
วันที่ 19 ธันวาคม พบการระบาดคลัสเตอร์ใหม่ในจังหวัดสมุทรสาคร<ref>{{cite news |title=แถลงด่วน! โควิดสมุทรสาครติดเชื้อ 548 คน สั่งล็อกดาวน์ 14 วันยาวถึงวันปีใหม่ |url=https://www.hfocus.org/content/2020/12/20648 |accessdate=31 December 2020 |work=Hfocus.org |language=th}}</ref> ซึ่งเหล่านี้เป็นแรงงานเข้าเมืองจากประเทศพม่าเป็นหลักซึ่งเป็นแรงงานสำคัญในอุตสาหกรรมประมงของประเทศ<ref name=yuda_21122020>{{cite news|first=Masayuki|last=Yuda|title=Thailand to test thousands as COVID strikes Myanmarese workers|date=21 December 2020|work=Nikkei Asia|url=https://asia.nikkei.com/Spotlight/Coronavirus/Thailand-to-test-thousands-as-COVID-strikes-Myanmarese-workers|access-date=22 December 2020}}</ref><ref name=reuters_22122020>{{cite news|first1=Jiraporn|last1=Kuhakan|first2=Orathai|last2=Sriring|title=Thai PM blames virus surge on illegal migration, hints at new curbs|date=22 December 2020|publisher=Reuters|url=https://www.reuters.com/article/idUSKBN28W0NJ|access-date=23 December 2020}}</ref> มีผู้ติดเชื้อกว่า 1,300 คนใน 27 จังหวัดที่เชื่อมโยงจากคลัสเตอร์นี้<ref>{{cite news|title=Thailand confirms 67 new coronavirus infections|date=24 December 2020|publisher=Reuters|url=https://www.reuters.com/article/idUSKBN28Y0II|access-date=24 December 2020}}</ref> วันที่ 20 ธันวาคม พบผู้ติดเชื้อใหม่ 576 คน ซึ่งนับเป็นยอดผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดนับแต่มีการบันทึก<ref>{{cite news|title=After months of calm, Thailand grapples with COVID-19 outbreak|date=23 December 2020|website=ChannelNewsAsia.com|url=https://www.channelnewsasia.com/news/asia/thailand-covid-19-outbreak-seafood-market-migrant-workers-13830434|access-date=23 December 2020}}</ref> และเมื่อปลายเดือนธันวาคม พบคลัสเตอร์การระบาดอีกแห่งหนึ่งที่จังหวัดระยองซึ่งเชื่อมโยงกับบ่อนการพนัน และคนงานบ่อนดังกล่าวเสียชีวิตเมือ่วันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งนับเป็นผู้เสียชีวิตจากโรครายแรกในรอบเกือบสองเดือน<ref>{{cite news|title=Thailand reports COVID-19 death, imposes entertainment curbs in Bangkok|date=28 December 2020|website=ChannelNewsAsia.com|agency=Reuters|url=https://www.channelnewsasia.com/news/asia/thailand-covid-19-death-entertainment-curbs-bangkok-13855588|access-date=31 December 2020}}</ref><ref>{{cite news|title=First Covid-19 death in two months|date=28 December 2020|newspaper=Bangkok Post|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2042491/first-covid-19-death-in-two-months|access-date=31 December 2020}}</ref>
 
=== มกราคมถึงมีนาคม 2564 ===
วันที่ 4 มกราคม ศบค. สั่งห้ามเข้าออกพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรสาคร, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี และ ตราด ยกเว้นเหตุจำเป็นหรือเหตุฉุกเฉิน<ref>{{cite news |title=ด่วน ศบค. ล็อกดาวน์ 5 จังหวัด งดเดินทางเข้า-ออก คุมโควิด-19 |url=https://www.thairath.co.th/news/local/east/2006275 |accessdate=5 January 2021 |work=ไทยรัฐ |date=4 January 2021 |language=th}}</ref> ในเดือนเดียวกัน พบว่า เตชินท์ พลอยเพชร (ดีเจมะตูม) เป็นซูเปอร์สเปรเดอร์หลังไม่กักตัวและจัดปาร์ตี้ตามปกติ โดยพบผู้ติดเชื้อจากเขา 19 ราย<ref>{{cite news |title=มาเป็นผัง! กลุ่มปาร์ตี้ "ดีเจมะตูม" พบติดโควิด-19 แล้ว 19 คน แถมเป็นกลุ่มจากหลากหลายอาชีพ |url=https://www.posttoday.com/ent/news/643582 |accessdate=26 January 2021 |work=โพสต์ทูเดย์ |language=en}}</ref> วันที่ 25 มกราคม 2564 เป็นวันที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่สูงสุดตั้งแต่เริ่มระบาด โดยพบผู้ติดเชื้อใหม่ 959 ราย<ref>{{cite news |title='โควิด-19'วันนี้ ยอดรายใหม่สูงที่สุดในประเทศไทย |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/919255 |accessdate=26 January 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref>
 
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ วัคซีนชุดแรกได้นำส่งมาถึงประเทศไทย เป็นวัคซีนของ[[ซิโนแว็ก]]ชื่อ [[โคโรนาแว็ก]] (CoronaVac) จำนวน 200,000 โดส และของ[[แอสตราเซเนกา]] ([[AZD1222]]) จำนวน 117,000 โดส รวมทั้งหมด 317,000 โดส วัคซีนล็อตแรกของซิโนแว็กจะถูกกระจายไปใน 13 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สมุทรสาคร), พื้นที่ควบคุม (เช่น กทม. ฝั่งตะวันตก, ปทุมธานี, อ.แม่สอด จ.ตาก) และพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม (เช่น ภูเก็ต, เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี, เชียงใหม่)<ref>{{Cite news |title=วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกถึงไทยแล้ว แต่ผลสำรวจพบบุคลากรทางแพทย์ฯ แค่ 55% พร้อมฉีด |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56178246 |date=24 February 2021|work=บีบีซี ไทย |access-date=19 March 2021}}</ref>
 
วันที่ 24 มีนาคม กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า มียอดผู้ฉีดวัคซีนแล้ว 96,188 ราย เป็นผู้ที่ได้รับเข็มที่ 2 จำนวน 5,862 ราย<ref>{{cite news |title=สธ. เผยยอดผู้ฉีดวัคซีนโควิด ครบ 2 เข็มแล้ว 5,862 ราย |url=https://www.prachachat.net/general/news-635943 |accessdate=30 March 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=24 March 2021 |language=th}}</ref>
 
=== เมษายนถึงมิถุนายน 2564 ===
[[File:COVID-19 Cases in Thailand by province (Third wave).svg|thumb|left|แผนที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายจังหวัดในการระบาดระลอกสาม (ซึ่งเริ่มในเดือนเมษายน 2564)]]
[[ไฟล์:COVID-19 public parks closed Bangkok Lumphini Park.jpg|thumb|ป้ายติดหน้ารั้วของ[[สวนลุมพินี]]ในกรุงเทพมหานครซึ่งถูกสั่งปิดจากการระบาดของไวรัส]]
ต้นเดือนเมษายน พบคลัสเตอร์การระบาดใหม่จากคริสตัลคลับ<ref>{{cite news |title=ผ่าอาณาจักร “คริสตัลคลับ” คลัสเตอร์ทองหล่อ "โควิดรอบ3" |url=https://www.thansettakij.com/content/business/474840 |accessdate=8 April 2021 |work=ฐานเศรษฐกิจ |language=th}}</ref> สถานบันเทิงย่าน[[ทองหล่อ]]–เอกมัย กรุงเทพมหานคร พบมีนักการเมืองและศิลปิน-ดาราหลายคนเป็นกลุ่มเสี่ยงและขอกักตัว<ref>{{cite news |title=รัฐมนตรีพร้อมใจปฏิเสธ ไปเที่ยว "ผับทองหล่อ" คลัสเตอร์ลามหลายจังหวัด |url=https://www.thairath.co.th/news/local/2063461 |accessdate=7 April 2021 |work=ไทยรัฐ |date=5 April 2021 |language=th}}</ref> นอกจากนี้ยังพบคลัสเตอร์อีกแห่งหนึ่งที่เรือนจำนราธิวาส<ref>{{cite news |title=เรือนจำนราธิวาสพบนักโทษ-จนท.-พยาบาลติดเชื้อโควิด-19 รวม 112 ราย |url=https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000032028 |accessdate=7 April 2021 |work=ผู้จัดการออนไลน์ |date=4 April 2021 |language=en-th}}</ref> แต่จะไม่มีคำสั่งควบคุมการเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงสงกรานต์<ref>{{cite news |title=ประยุทธ์ ออกประกาศกลางดึก มาตรการลดเสี่ยงโควิด-ให้จังหวัดปิดกิจการตามระดับติดเชื้อ |url=https://www.prachachat.net/politics/news-643826 |accessdate=7 April 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=6 April 2021 |language=th}}</ref> ต่อมามีการเปิดเผยว่าโควิด-19 ระลอกนี้เป็น[[ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์แอลฟา|สายพันธุ์กลายพันธุ์ในประเทศอังกฤษ (B117)]] ซึ่งระบาดเร็วขึ้น 1.7 เท่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ (ได้แก่ สายพันธุ์ S และ GS)<ref>{{cite news |title=คลัสเตอร์ทองหล่อเจอ'โควิดกลายพันธุ์'คาดระบาดหนักขึ้น 170เท่า |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/931311 |accessdate=7 April 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref> จนถึงวันที่ 6 เมษายน มีรายงานว่ามีผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 274,354 ราย และผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ครบตามเกณฑ์มีทั้งหมด 49,635 ราย เท่ากับว่ามีการกระจายวัคซีนฉีดให้ประชาชนครบ 2 เข็มไปแล้วรวม 99,270 โดส คิดเป็นร้อยละ 10.45 ของวัคซีนที่จัดสรรทั้งหมด<ref>{{cite news |title=1 เดือนผ่านไปไทยกระจายวัคซีนฉีดครบ 2 เข็มเพียง 10.45% ของวัคซีนทั้งหมด |url=https://thestandard.co/1-month-passed-thailand-distributed-2-vaccinations-only-10-45percent/ |accessdate=7 April 2021 |work=THE STANDARD |date=7 April 2021 |language=th}}</ref> ด้านกองทัพบกประกาศจะไม่ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร แม้ว่าพบมีผู้ป่วยโควิด-19 ไปร่วมจับสลาก<ref>{{cite news |title=ทบ.ไม่เลิก ‘เกณฑ์ทหาร’ หลังพบคนติดโควิด-19 ไปร่วมจับใบดำใบแดง |url=https://www.posttoday.com/social/general/649950 |accessdate=10 April 2021 |work=โพสต์ทูเดย์ |language=en}}</ref> ในช่วงเดียวกัน มีข่าวว่าโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งเลิกรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แต่อธิบดีกรมการแพทย์ย้ำว่าเตียงของโรงพยาบาลเอกชนยังมีเพียงพอ<ref>{{cite news |title=เกิดอะไรขึ้นที่ รพ. เอกชน เตียงผู้ป่วยไม่พอ-น้ำยาตรวจโควิดขาดแคลนจริงหรือ |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56689113 |accessdate=10 April 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเปรียบเทียบการระบาดรอบนี้ว่าเหมือน "ปลวกแตกรัง" อาจมีผู้ติดเชื้อหลักหมื่นคน และอาจต้องใช้เวลาคุมโรค 2 เดือน<ref>{{cite news |title=ปลัดสธ. เผย ระบาดรอบนี้ คุมยาก-จับไม่อยู่ ปลวกแตกรัง คาดใช้เวลาคุม 2 เดือนขึ้นไป |url=https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2664632 |accessdate=12 April 2021 |work=มติชนออนไลน์ |date=8 April 2021 |language=th}}</ref> ที่จังหวัดเชียงใหม่ พบร้านวอร์มอัพและกราวด์ (GROUND) เป็นแหล่งระบาด<ref>{{cite news |title=เชียงใหม่ พบหญิงติดโควิดเที่ยวร้าน "วอร์มอัพ-กราวน์" 8 คืนรวด สั่งปิด 14 วัน |url=https://www.prachachat.net/general/news-643556 |accessdate=15 April 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=6 April 2021 |language=th}}</ref> ขณะที่ในจังหวัดนครราชสีมา พบมีร้านหมูกระทะชื่อ "น้ำหวานหมูกระทะ" เป็นคลัสเตอร์<ref>{{cite news |title=โคราช ผู้สัมผัสเสี่ยง 'คลัสเตอร์หมูกระทะ' แห่ตรวจ 'โควิด-19' |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/932532 |accessdate=15 April 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref>
 
วันที่ 14 เมษายน 2564 เป็นวันที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นจากวันก่อนเกิน 1,000 รายเป็นวันแรก<ref>{{cite news |title=ผู้ติดเชื้อรายวันทะลุพันแล้ว กรมควบคุมโรคเตือนหากไม่คุม พุ่งเป็นหมื่น |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56742531 |accessdate=18 April 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> วันที่ 17 เมษายน นักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดเผยว่า อัตราขยายเชื้อ (Reproductive rate) ของโควิด-19 ในประเทศไทยสูงสุดในโลกที่ 2.27 (เฉลี่ยผู้ติดเชื้อ 1 รายจะแพร่เชื้อต่อให้ผู้อื่น 2.27 ราย)<ref>{{cite news |title=นักวิชาการจุฬาฯชี้ ไทยครองแชมป์โลกอัตราขยายเชื้อโควิด 19 |url=https://www.tnnthailand.com/news/covid19/77372/ |accessdate=18 April 2021 |work=TNN |date=18 April 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 23 เมษายน เป็นวันแรกที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่เกิน 2,000 คนต่อวัน<ref>{{cite news |title=แตะระดับ 2 พัน ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ +2,070 คน ตาย 4 ศพ |url=https://www.thairath.co.th/news/society/2075450 |accessdate=24 April 2021 |work=ไทยรัฐ |date=23 April 2021 |language=th}}</ref> ช่วงปลายเดือนเมษายน เกิดกระแสในโลกออนไลน์เมื่ออาคม ปรีดากุล ([[ค่อม ชวนชื่น]]) ดาราตลก ได้รับการประสานย้ายโรงพยาบาลไปยัง[[โรงพยาบาลรามาธิบดี]] หลังมีคนใกล้ตัวออกมาโพสต์แสดงความเห็นใจและต้องการเปลี่ยนแพทย์ ทำให้เกิดข้อครหาเรื่องการเลือกปฏิบัติและอภิสิทธิ์ของผู้มีชื่อเสียง<ref>{{cite news |title=ดราม่า #น้าค่อม ชาวเน็ตวิจารณ์ยับ เพราะดังจึงมี 'สิทธิ์' ? แต่คนธรรมดาเลือกไม่ได้ |url=https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6359659 |accessdate=24 April 2021 |work=ข่าวสด |date=24 April 2021 |language=th}}</ref> ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับกรณีที่มีผู้สูงอายุติดโควิด-19 ทั้งบ้าน แต่เสียชีวิตขณะรอรับรักษาในโรงพยาบาล<ref>{{cite news |title=ติดโควิดทั้งบ้าน ผู้สูงอายุเสียชีวิตระหว่างรอเตียง เร่งช่วยอีก 2 คน |url=https://news.thaipbs.or.th/content/303597 |accessdate=24 April 2021 |work=Thai PBS |date=23 April 2021}}</ref> วันที่ 24 เมษายน พบผู้ป่วยเป็นผู้เดินทางเข้าประเทศจากอินเดีย ทำให้เกิดความกังวลว่าอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เบงกอล (B 1618) ที่มีความรุนแรงหรือแพร่กระจายสูงด้วย รวมทั้งทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ว่าไทยไม่พร้อมรับรักษาผู้ป่วยที่จะเดินทางเข้าประเทศมาเพื่อรักษาโควิด-19<ref>{{cite news |title=ชาวเน็ตวิจารณ์สนั่น! หลังพบชาวอินเดียติดเชื้อโควิด-19 แห่เข้าไทย วอนภาครัฐหยุดรับก่อน |url=https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000039131 |accessdate=25 April 2021 |work=ผู้จัดการออนไลน์ |date=25 April 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 25 เมษายน พบเพจโรงพยาบาลของรัฐหลายแห่งโพสต์ข้อความให้กำลังใจอนุทิน ชาญวีรกุลด้วยแฮชแท็ก #ทองแท้ไม่กลัวไฟ ท่ามกลางกระแสวิจารณ์เขา<ref>{{cite news |title=รพ.ปากช่องนานา เผย ชาวสาธารณสุขนครราชสีมา ให้กำลังใจ 'อนุทิน' ทุ่มเทแก้ปัญหา ผุด #ทองแท้ไม่กลัวไฟ |url=https://www.matichon.co.th/region/news_2690507 |accessdate=25 April 2021 |work=มติชนออนไลน์ |date=25 April 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 27 เมษายน มีการโฆษณาว่า บริษัทไฟเซอร์เคยเสนอขายวัคซีนโควิด-19 ให้แก่รัฐบาลไทย 4 ครั้ง จำนวน 13 ล้านโดส ในเดือนมกราคม 2564 แต่อนุทินปฏิเสธทุกครั้ง<ref>{{cite news |title="จาตุรนต์" ขุดข่าว ไฟเซอร์ เสนอขายวัคซีนให้ไทย แต่ถูกปฏิเสธ 4 รอบ |url=https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-656187 |accessdate=27 April 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=27 April 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 28 เมษายน หอการค้าไทยโพสต์ระบุว่า จากการประชุมกับรัฐบาลได้ความว่าเอกชนจะไม่มีการนำเข้าวัคซีนทางเลือก<ref>{{cite news |title=หอการค้าไทย กลับลำหาวัคซีนทางเลือกเอง ขอบคุณรัฐมีพอไม่ต้องควักเพิ่ม |url=https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6368693 |accessdate=28 April 2021 |work=ข่าวสด |date=28 April 2021 |language=th}}</ref> หลังค่อม ชวนชื่นเสียชีวิต ทำให้เกิดการกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างถึงการบริหารจัดการนำเข้าวัคซีนของภาครัฐว่าเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่มีทางเลือกให้กับประชาชน รวมถึงการคัดเลือกยี่ห้อวัคซีนที่ไม่มีประสิทธิภาพ<ref>{{cite news |title=‘ชูวิทย์’ยกปรากฏการณ์ ‘น้าค่อม’ สะท้อนอารมณ์คนถึง รบ. ทำคนตาย จัดการวัคซีนห่วย |url=https://www.matichon.co.th/politics/news_2700778 |accessdate=4 May 2021 |work=มติชน |date=1 May 2021 |language=th}}</ref><ref>{{cite news |title=นาตาลี อาลัย “น้าค่อม” ชี้ถ้าประเทศฉีดวัคซีนเร็วกว่านี้ คงไม่สูญเสีย |url=https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-658975 |accessdate=4 May 2021 |work=มติชน |date=30 April 2021 |language=th}}</ref>
 
กรมราชทัณฑ์เปิดเผยเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ว่า พบผู้ติดเชื้อในทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ รวม 2,935 คน<ref>{{cite news |title=โควิดลามคุก! พบผู้ต้องขังทัณฑสถานหญิงกลาง-เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ติดเชื้อเกือบ 3,000 ราย |url=https://mgronline.com/crime/detail/9640000045672 |accessdate=12 May 2021 |work=ผู้จัดการออนไลน์ |date=12 May 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 13 พฤษภาคม มีการเปิดเผยว่า มีส่วนเอกชนให้ความร่วมมือกับราชการฉีดวัคซีนแก่บุคลากรการแพทย์และกลุ่มอาชีพเสี่ยง รวม 25 จุด โดยคาดว่าจะมีขีดความสามารถฉีดวัคซีนได้สูงสุด 50,000 คนต่อวัน<ref>{{cite news |title=เปิด25สถานที่จุดฉีดวัคซีนนอกรพ.ทั้งห้างดัง แบงก์ มหาวิทยาลัย |url=https://www.dailynews.co.th/economic/843013 |accessdate=13 May 2021 |work=เดลินิวส์ |date=12 May 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 14 พฤษภาคม อนุทินยังระบุว่าโรงพยาบาลเอกชนสามารถติดต่อจัดซื้อวัคซีนจากเอกชนได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์การเภสัชกรรม ด้านรองนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนระบุว่าขณะนี้ยังไม่มีบริษัทตัวแทนวัคซีนโมเดอร์นาจำหน่ายให้<ref>{{cite news |title=รพ.เอกชน วอน ปชช. อย่ารอวัคซีนโควิดทางเลือก เผยโมเดอร์นายังไม่มีของส่งให้ |url=https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2724095 |accessdate=15 May 2021 |work=มติชนออนไลน์ |date=14 May 2021 |language=th}}</ref> ต่อมาอนุทินระบุว่ามีกำหนดฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบวอล์คอินเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน<ref>{{cite news |title='อนุทิน'ย้ำวอล์กอินฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ดีเดย์ 1 มิ.ย.นี้ |url=https://www.thaipost.net/main/detail/102872?fbclid=IwAR3mA43OZNmTLBovgbZ3xqbkNqXTXNPyTu2fjZo2HsWOM3WcrpOp6jhpfAw |accessdate=15 May 2021 |work=Thai Post |language=th}}</ref> วันที่ 16 พฤษภาคม รายงานว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ยืนยันในประเทศไทยมีจำนวนถึง 1 แสนคนแล้ว<ref>{{cite news |title=COVID-19: 16 พ.ค. 2564 ยอดผู้ติดเชื้อสะสมในไทยทะลุ 1 แสนรายแล้ว |url=https://prachatai.com/journal/2021/05/93075 |accessdate=16 May 2021 |work=ประชาไท |language=th}}</ref> วันที่ 17 พฤษภาคม ผู้ป่วยรายใหม่ 9,635 ราย ซึ่งรวมตัวเลขผู้ติดเชื้อในเรือนจำหรือที่ต้องขัง 6,835 คน นับเป็นยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันสูงสุดนับแต่มีการระบาดในประเทศไทย<ref>{{cite news |title=ศบค. พบผู้ติดเชื้อวันนี้(17พ.ค.) พุ่งกระฉูด 9,635 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 25 คน |url=https://www.prachachat.net/general/news-670468 |accessdate=18 May 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=17 May 2021 |language=th}}</ref> ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสั่งเร่งตรวจโควิด-19 เชิงรุกในเรือนจำทุกแห่ง อธิบดีกรมราชทัณฑ์โทษว่าการควบคุมคนเข้า-ออกไม่ได้ และการมีจำนวนนักโทษเพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุที่ทำให้โควิด-19 เกิดระบาดในเรือนจำขึ้น ทั้งนี้อดีตนักโทษและผู้ต้องขังยืนยันว่าในเรือนจำมีสภาพแออัดอย่างมาก<ref>{{cite news |title=ทำไมโควิดจึงระบาดหนักในคุก |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-57144771 |accessdate=18 May 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> ในวันที่ 18 พฤษภาคม มีผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งในจังหวัดแพร่เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19<ref>{{cite news |title=คาดอีก 2 วัน รู้ผลชันสูตร 'ผู้ใหญ่บ้าน' ช็อก หลังฉีดวัคซีนโควิด |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/939007 |accessdate=20 May 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref> วันที่ 26 พฤษภาคม พบผู้เสียชีวิตจากโรคใหม่ 41 ราย นับเป็นสถิติสูงสุดรายวันนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดในประเทศ<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940162 ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ตายหนัก! เสียชีวิตสูงถึง 41 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 2,455 ราย]</ref> หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดเผยว่า ภาครัฐมีการตกแต่งตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ต่ำกว่าจริง เช่น ระบุว่าเสียชีวิตจากปอดอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียแทน และอ้างว่ามีภาคการเมืองเข้าแทรกแซง<ref>{{cite news |title="หมอศิริราช"เดือด! อัดเลิกปิดข้อมูลภาพรวมการเสียชีวิตจากโควิดต่ำกว่าเป็นจริง |url=https://www.thansettakij.com/content/covid_19/481395 |accessdate=27 May 2021 |work=ฐานเศรษฐกิจ |language=th}}</ref> วันที่ 30 พฤษภาคม ไทยมียอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เกิน 1,000 รายแล้ว สูงเป็นอันดับที่ 83 ของโลก<ref>{{cite news |title=โควิดวันนี้ ไทยขยับขึ้นอันดับ 83 โลก ยอดดับสะสมทะลุ 1,000 รายแล้ว |url=https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6425997 |accessdate=31 May 2021 |work=ข่าวสด |date=30 May 2021 |language=th}}</ref>
 
วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นวันแรกที่เริ่มปูพรมฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศ ใช้เวลาเพียงครึ่งวันพบฉีดไปได้แล้วกว่า 140,000 ราย อย่างไรก็ดี บีบีซีไทยรายงานว่ามีข้อขัดข้องเรื่องจำนวนวัคซีน ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเลยยกเลิกใบนัดหมายฉีดวัคซีนก่อนหน้านี้ ก่อนกลับมาชี้แจงว่าได้รับจัดสรรวัคซีนเพิ่มแล้ว<ref name="ิbbc070621">{{Cite news |title=ฉีดวัคซีน: คิกออฟฉีดวัคซีนวันแรก หลายจังหวัดได้แอสตร้าเซนเนก้าฉีดผู้สูงอายุ |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-57381373 |accessdate=13 June 2021 |work=BBC ไทย |date=7 June 2021}}</ref> ในวันเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขแถลงว่าในบรรดาตัวอย่างไวรัสในการระบาดรอบนี้ 3,595 ตัวอย่าง พบว่า 235 ตัวอย่างเป็นโควิดสายพันธุ์อินเดีย ซึ่งแพร่ขยายเร็ว<ref>{{cite news |title=พบเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดียใน 10 จังหวัด กังวลแทนที่สายพันธุ์อังกฤษ |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-57382409 |accessdate=8 June 2021 |work=BBC ไทย |date=7 June 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 17 มิถุนายน มีคำสั่งปลัดกระทรวงมหาดไทยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดจัดหาวัคซีนให้พนักงาน[[ไทยเบฟเวอเรจ]]และครอบครัว 7.1 หมื่นคนทั่วประเทศ<ref>{{cite news |title=มหาดไทย แจงปมสั่งผู้ว่าฯ จัดหาวัคซีนให้ พนง.ไทยเบฟฯ และครอบครัว 7.1 หมื่นคน |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-57544337 |accessdate=20 June 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> ประมาณปลายเดือนมิถุนายน พบผู้ติดเชื้อเป็นบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ แม้ฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม จำนวนหลายสิบราย<ref>{{cite news |title=เชียงราย พบบุคลากรการแพทย์ติดโควิดอื้อ ส่วนใหญ่ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็ม |url=https://www.thairath.co.th/news/local/2122612 |accessdate=24 June 2021 |work=ไทยรัฐ |date=23 June 2021 |language=th}}</ref> ทำให้ยง ภู่วรวรรณเสนอให้ฉีดวัคซีนซิโนแวคเป็นเข็มที่ 3 เชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพพอ ๆ กับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม<ref>{{cite news |title=แค่ 2 เข็มไม่พอ 2 วัคซีนจีน แนะให้ฉีดถึง 3 "หมอยง" ศึกษาเว้น 3 หรือ 6 เดือน |url=https://www.thairath.co.th/news/local/2122355 |accessdate=24 June 2021 |work=ไทยรัฐ |date=23 June 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 23 มิถุนายน 2564 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตเกิน 50 รายเป็นวันแรก<ref>[https://www.posttoday.com/social/general/656212 โควิดไทยทุบสถิติ! เสียชีวิตพุ่ง 51 ราย ติดเชื้อเพิ่มกว่า 3 พันราย]</ref> ในช่วงนี้ โรงพยาบาลหลายแห่งแจ้งว่ามีภาระเกินตัว ทำให้ต้องงดตรวจหาเชื้อ และบางแห่งงดตรวจผู้ป่วยนอก<ref>{{cite news |title=เช็คที่นี่ โรงพยาบาลชื่อดังแห่ ปิดให้บริการตรวจเชื้อโควิด |url=https://www.thansettakij.com/content/covid_19/485239 |accessdate=25 June 2021 |work=ฐานเศรษฐกิจ |language=th}}</ref><ref>{{cite news |title=รพ.ศิริราชปิดหน่วยตรวจโรคแพทย์เวร 23-30 มิ.ย. |url=https://www.thansettakij.com/content/covid_19/485223 |accessdate=25 June 2021 |work=ฐานเศรษฐกิจ |language=th}}</ref> ปลายเดือนมิถุนายน ยังมีการตั้งข้อสงสัยว่าทำไมสมาชิกวุฒิสภากับดาราจึงหาเตียงในโรงพยาบาลได้เร็ว<ref>{{cite news |title=คำนูณ ยืนยัน ส.ว. ไม่มีสิทธิพิเศษรักษาโควิด เคส พล.อ. เลิศฤทธิ์ เป็นคนไข้ประจำ รพ.พระมงกุฏเกล้าอยู่แล้ว |url=https://thestandard.co/kamnoon-confirmed-senate-does-not-have-any-privilege-on-coronavirus-vaccine/ |accessdate=28 June 2021 |work=THE STANDARD |date=28 June 2021 |language=th}}</ref><ref>{{cite news |title=ชาวเน็ตสงสัย “แพนเค้ก” ผลโควิดเพิ่งออกทำไมได้เตียงเร็ว? |url=https://mgronline.com/entertainment/detail/9640000062535 |accessdate=28 June 2021 |work=ผู้จัดการออนไลน์ |date=28 June 2021 |language=th}}</ref> นอกจากนี้ คำสั่งล็อกดาวน์กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงปลายเดือนยังทำให้คนงานก่อสร้างกระจายกลับภูมิลำเนารวมทั้งประเทศ<ref>{{cite news |title=ห้ามย้ายคนงาน ทหารเข้ม แคมป์ก่อสร้าง แต่หลายแห่งเผ่นหายแล้ว |url=https://www.thairath.co.th/news/local/2125695 |accessdate=28 June 2021 |work=ไทยรัฐ |date=27 June 2021 |language=th}}</ref> และมีการนำแรงงานไปทิ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ<ref>{{cite news |title=จนท.เหนื่อยอีก แคมป์ปิด แรงงานเขมรถูกนายจ้างพามาทิ้งไว้ที่สุรินทร์ |url=https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2125932 |accessdate=28 June 2021 |work=ไทยรัฐ |date=27 June 2021 |language=th}}</ref><ref>{{cite news |title=แตกตื่น! แรงงานกัมพูชาทะลักกลับประเทศที่ด่านช่องจอม หลังไทยสั่งปิดแคมป์ พบนายจ้างแสบขนมาทิ้งข้างทางอื้อ |url=https://mgronline.com/local/detail/9640000062179 |accessdate=28 June 2021 |work=ผู้จัดการออนไลน์ |date=27 June 2021 |language=th}}</ref> ข้อมูล ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2564 พบว่ามีผู้ติดเชื้อใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วกว่า 220,000 คน เสียชีวิต 1,840 คน<ref name="wpCOVID3">{{cite news |title=โควิดระลอก 3 ผลกระทบต่อคนไทย ไม่ใช่เรื่องตลก |url=https://workpointtoday.com/impact-of-covid/ |accessdate=29 June 2021 |work=workpointTODAY |language=th}}</ref>
 
=== กรกฎาคม 2564 ===
วันที่ 1 กรกฎาคม มีข่าวว่ากองทัพบกขอโควตาวัคซีนไปฉีดให้กำลังพล ครอบครัวและบริวารรวม 60,000 โดส และเปิดเผยว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 มีทหารและผู้เกี่ยวข้องต้องกักตัวแล้วกว่า 29,000 คน และติดเชื้อแล้วกว่า 1,100 คน<ref>{{cite news |title=ก้าวไกล ปูดโควตา'กองทัพ'ขอวัคซีนฉีด 'กำลังพล-ครอบครัว-บริวาร' |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/946306 |accessdate=1 July 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref> วันที่ 2 กรกฎาคม มียอดผู้เสียชีวิตรายวันสูงเกิน 60 ราย เป็นวันแรก<ref>[https://www.prachachat.net/general/news-703510 ศบค. พบผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้(2 ก.ค.) พุ่งกระฉูด 6,087 ราย ตายเพิ่ม 61 คน]</ref> ข้อมูล ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พบว่าการระบาดจากคลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้างเมื่อปลายเดือนมิถุนายนนี้ได้ลามไป 73 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว และในกรุงเทพมหานครมีคลัสเตอร์ระบาด 113 คลัสเตอร์<ref>{{cite news |title=ทั่วไทยระทม! คนจากกทม.ปริมณฑล แพร่โควิด 34 จว. "กรุงเทพฯ" ยอดพุ่ง 113 คลัสเตอร์ เหลือแค่ 3 จว.รอด! |url=https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/150711 |accessdate=3 July 2021 |work=pptvhd36.com |language=th}}</ref>
 
== มาตรการรับมือ ==
 
=== มาตรการต่อผู้เดินทางเข้าประเทศ ===
 
{{multiple image
| align = right
| total_width = 320
| image1 = Bangkok Grand Palace during COVID-19 Pandemic June 2020 Img 04.jpg
| alt1 = a ground of a tourist attraction in Bangkok with no people
| caption1 = [[พระบรมมหาราชวัง]]ใน[[กรุงเทพมหานคร]] สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ (มิถุนายน 2563)
| image2 = Yaowarat Bangkok during COVID-19.jpg
| alt2 = a Chinatown street with almost no car and people
| caption2 = เช่นเดียวกันกับ[[เยาวราช]] ถนนคนเดินที่มักพลุกพล่านด้วยผู้คนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ (พฤษภาคม 2563)
}}
 
เริ่มมีการคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าจากประเทศจีนในท่าอากาศยาน 6 แห่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม ได้แก่ [[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]], [[ท่าอากาศยานดอนเมือง]], [[ท่าอากาศยานภูเก็ต]], [[ท่าอากาศยานเชียงใหม่]], [[ท่าอากาศยานกระบี่]] และ[[ท่าอากาศยานเชียงราย]] (เริ่ม 24 มกราคม) พบผู้ป่วยต้องสงสัยจำนวนหนึ่งที่มีภาวะทางเดินหายใจที่พบทั่วไปโรคอื่น<ref name="WHO14Jan2010">{{Cite web|url=http://www.who.int/csr/don/14-january-2020-novel-coronavirus-thailand-ex-china/en/|title=WHO {{!}} Novel Coronavirus – Thailand (ex-China)|date=14 January 2020|website=WHO|archive-url=https://web.archive.org/web/20200121030737/https://www.who.int/csr/don/14-january-2020-novel-coronavirus-thailand-ex-china/en/|archive-date=21 January 2020|access-date=15 January 2020}}</ref><ref>{{cite web|url=https://www.chiangmaicitylife.com/news/wuhan-viral-pneumonia-alert/|title=Wuhan viral pneumonia alert|work=Chiang Mai Citylife|date=7 January 2020|accessdate=15 January 2020}}</ref><ref name="moph-1feb"/>
 
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ [[เอ็มเอส เวสเตอร์ดัม|เอ็มเอส ''เวสเตอร์ดัม'']] ถูกปฏิเสธเข้าเทียบท่า ณ ท่าเรือแหลมฉบัง<ref>{{cite web|url=https://www.abc.net.au/news/2020-02-11/westerdam-cruise-to-port-in-bangkok-after-being-stuck-at-sea/11950230|title=Westerdam cruise ship stranded at sea again after being refused entry to Thailand amid coronavirus fears|last1=Slessor|first1=Camron|publisher=ABC News|date=11 February 2020|accessdate=11 February 2020}}</ref> หลังถูกปฏิเสธจากฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และกวม มาแล้วก่อนหน้านี้<ref>{{cite web|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1855034|title=Thailand bars Westerdam cruise ship, China virus toll tops 1,000|work=Bangkok Post|date=11 February 2020|accessdate=11 February 2020}}</ref> วันที่ 13 กุมภาพันธ์ เรือ เอ็มวี ''ซีบอร์นโอเวชัน'' และเรือ ''ควอนตัมออฟเดอะซีส์'' ได้รับอนุญาตให้เทียบท่า ทั้งนี้ เพราะเรือทั้งสองมีกำหนดขึ้นฝั่งที่ประเทศไทยอยู่แล้ว ผู้โดยสารบนเรือได้รับการตรวจคัดกรองก่อนได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่ง<ref>{{cite web|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1856924/|title=Phuket liner let-in cops flak|work=Bangkok Post|date=14 February 2020|accessdate=20 February 2020}}</ref><ref>{{cite web|url=https://thestandard.co/coronavirus-cruise-ship-port-of-phuket/|title=สรุปประเด็นเรือสำราญเทียบท่าภูเก็ต|work=The Standard|date=13 February 2020|accessdate=20 February 2020}}</ref>
 
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ การคัดกรองโควิด-19 ขยายรวมไปถึงผู้เดินทางเข้าประเทศจากประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ กระทรวงสาธารณสุขยังเพิ่มมาตรการต่อโควิด-19 เป็นระดับ 3 เพื่อเตรียมรับการแพร่เชื้อที่เพิ่มขึ้น ทุกจังหวัดต้องมีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพทดสอบโควิด-19 ได้อย่างน้อย 1 แห่ง<ref>{{cite web|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1859884|title=Japanese and S'pore arrivals screened|website=Bangkok Post|date=18 February 2020|accessdate=18 February 2020}}</ref> วันที่ 21 กุมภาพันธ์ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเกณฑ์คัดรองใหม่ โดยเพิ่มการตรวจเพิ่มเติมสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศจากฮ่องกง มาเก๊า เกาหลีใต้ และไต้หวัน ผู้ป่วยที่มีอาการ[[ปอดบวม]]ไม่ทราบสาเหตุ และอาศัยอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัดที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมเดินทางมา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย ชลบุรี กระบี่ ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรปราการ จะถือว่าเป็นผู้ป่วยต้องสงสัยโควิด-19 อัตโนมัติ<ref>{{cite web|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1862789/|title=Thailand expands virus detection|website=Bangkok Post|date=21 February 2020|accessdate=22 February 2020}}</ref>
 
วันที่ 6 เมษายน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยออกประกาศขยายเวลาห้ามเที่ยวบินขาเข้าประเทศ จนถึงวันที่ 18 เมษายน<ref>[https://www.bbc.com/thai/52160126 โควิด-19 : ออกคำสั่งขยายเวลาห้ามเครื่องบินโดยสารเข้าไทยชั่วคราว จาก 6 เม.ย. ไปถึง 18 เม.ย.]</ref>
 
หลังเริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 รัฐบาลประกาศมาตรการผ่อนปรนแก่ผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ โดยตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 จะลดเวลากักตัวเหลือ 7 วัน จนเดือนมกราคม 2565 ถ้ามีใบรับรองฉีดวัคซีนครบจะไม่ต้องกักตัว<ref>{{cite news |title=รัฐบาลไฟเขียวต่างชาติเที่ยวภูเก็ตไม่ต้องกักตัว เริ่ม 1 ก.ค. |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56576365 |accessdate=7 April 2021 |work=BBC ไทย |date=30 March 2021 |language=th}}</ref>
 
====ข้อจำกัดสำหรับผู้เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงติดโรค====
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดพื้นที่เสี่ยงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เขตติดโรคติดต่ออันตราย<ref>{{cite web|url=https://ddc.moph.go.th/dla/news.php?news=11826&deptcode=dla|title=ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักร ที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019|date=6 March 2020 |work=[[กรมควบคุมโรค]]}}</ref> และพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง<ref>{{cite web|url=https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_outbreak.php |title=ผู้เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง หรือพื้นที่พบผู้ป่วยตามรายงานขององค์การอนามัยโลก |date=16 March 2020 |work=[[กรมควบคุมโรค]]}}</ref>
 
; เขตติดโรคติดต่ออันตราย
ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศ จีน (รวมฮ่องกง และ มาเก๊า), เกาหลีใต้, อิตาลี และ อิหร่าน จะได้รับการกักตัวในพื้นที่ที่รัฐกำหนดเป็นเวลา 14 วัน
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเขตติดโรคติดต่ออันตราย เพิ่มเติมจากประกาศฉบับแรกอีก 5 ประเทศ<ref>{{cite web |url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/093/T_0016.PDF |title=ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๓ |publisher=ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๙๓ ง หน้า ๑๖}} ๒๒ เมษายน ๒๕๖๓.</ref> รวมเป็นทั้งหมด 9 ประเทศ
 
ในวันที่ 15 พฤษภาคม มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดต่อโรคอันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยยกเลิกประเทศ จีน (รวมฮ่องกง และ มาเก๊า) และ เกาหลีใต้ ออกจากเขตติดต่อโรคอันตราย<ref>{{cite web |url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/114/T_0021.PDF |title=ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. ๒๕๖๓|publisher=ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง หน้า ๒๑}} ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓.</ref>
 
<div class="div-col columns column-width" style="-moz-column-width: 30em; -webkit-column-width: 30em; column-width: 30em;">
* [[ไฟล์:Flag of Italy.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[อิตาลี]]
* [[ไฟล์:Flag of Iran.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[อิหร่าน]]
* [[ไฟล์:Flag of Malaysia.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[มาเลเซีย]]
* [[ไฟล์:Flag of Cambodia.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[กัมพูชา]]
* [[ไฟล์:Flag of Laos.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ลาว]]
* [[ไฟล์:Flag of Indonesia.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[อินโดนีเซีย]]
* [[ไฟล์:Flag of Myanmar.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[พม่า]]
</div>
 
; พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศดังกล่าว ต้อง[[การกักด่าน|แยกตัว]]จากผู้อื่นและไม่ควรออกจากบ้านเป็นเวลา 14 วัน และจะมีเจ้าหน้าที่ติดตามใกล้ชิด
 
<div class="div-col columns column-width" style="-moz-column-width: 15em; -webkit-column-width: 15em; column-width: 15em;">
* [[ไฟล์:Flag of Australia (converted).svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ออสเตรเลีย]]
* [[ไฟล์:Flag of Austria.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ออสเตรีย]]
* [[ไฟล์:Flag of Belgium (civil).svg|23x15px|border]]&nbsp;[[เบลเยียม]]
* [[ไฟล์:Flag of Brazil.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[บราซิล]]
* [[ไฟล์:Flag of Canada (Pantone).svg|23x15px|border]]&nbsp;[[แคนาดา]]
* [[ไฟล์:Flag of Chile.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ชิลี]]
* [[ไฟล์:Flag of the Czech Republic.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[สาธารณรัฐเช็ก]]
* [[ไฟล์:Flag of Denmark.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[เดนมาร์ก]]
* [[ไฟล์:Flag of Ecuador.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[เอกวาดอร์]]
* [[ไฟล์:Flag of Finland.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ฟินแลนด์]]
* [[ไฟล์:Flag of France.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ฝรั่งเศส]]
* [[ไฟล์:Flag of Germany.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[เยอรมนี]]
* [[ไฟล์:Flag of Greece.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[กรีซ]]
* [[ไฟล์:Flag of Ireland.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ไอร์แลนด์]]
* [[ไฟล์:Flag of Israel.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[อิสราเอล]]
* [[ไฟล์:Flag of Japan.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ญี่ปุ่น]]
* [[ไฟล์:Flag of Luxembourg.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ลักเซมเบิร์ก]]
* [[ไฟล์:Flag of the Netherlands.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[เนเธอร์แลนด์]]
* [[ไฟล์:Flag of Norway.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[นอร์เวย์]]
* [[ไฟล์:Flag of Pakistan.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ปากีสถาน]]
* [[ไฟล์:Flag of Poland.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[โปแลนด์]]
* [[ไฟล์:Flag of Portugal.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[โปรตุเกส]]
* [[ไฟล์:Flag of Spain.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[สเปน]]
* [[ไฟล์:Flag of Sweden.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[สวีเดน]]
* [[ไฟล์:Flag of Switzerland.svg|23x16px|border]]&nbsp;&nbsp;[[สวิสเซอร์แลนด์]]
* [[ไฟล์:Flag of Turkey.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ตุรกี]]
* [[ไฟล์:Flag of the United Kingdom.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[สหราชอาณาจักร]]
* [[ไฟล์:Flag of the United States.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[สหรัฐ]]
</div>
 
=== ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ===
หน่วยงานที่กำกับดูแลการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย คือ[[ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019]] (ศบค.) โดยเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ใน[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]] โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ เป็นกรรมการ<ref name=":0" /> นายแพทย์ [[ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน]] เป็นโฆษก<ref>{{Cite web|url=https://siamrath.co.th/n/142006|title=‘ศบค.’ ตั้ง ‘หมอทวีศิลป์ วิษณุโยธิน’ ปฏิบัติหน้าที่ โฆษก ศบค.|author=[[สยามรัฐ]]|website=siamrath.co.th|date=26 March 2020|accessdate=1 August 2020}}</ref>, แพทย์หญิง [[พรรณประภา ยงค์ตระกูล]] และแพทย์หญิง [[อภิสมัย ศรีรังสรรค์]] เป็นผู้ช่วยโฆษก<ref>{{Cite web|url=https://www.sanook.com/news/8148070/|title=เปิดประวัติ "หมอบุ๋ม" พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษก ศบค.|author=[[สนุก.คอม]]|website=www.sanook.com|date=16 May 2020|accessdate=1 August 2020}}</ref> สำหรับการแถลงข่าวจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และสื่อสารต่อประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในทุก ๆ วัน
 
วันที่ 27 เมษายน 2564 มีข่าวว่า คณะรัฐมนตรีโอนอำนาจเกี่ยวกับการรับมือโควิด-19 ให้แก่นายกรัฐมนตรี<ref>{{cite news |title=ประยุทธ์ รวบอำนาจกฎหมาย 31 ฉบับ แก้ปัญหาโควิด |url=https://www.prachachat.net/politics/news-656845 |accessdate=20 June 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=27 April 2021 |language=th}}</ref> ในเดือนมิถุนายน 2564 อนุทิน ชาญวีรกุลยืนยันว่าปัญหาบางโรงพยาบาลได้รับจัดสรรวัคซีนไม่เพียงพอนั้น ไม่เกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข แต่ขึ้นอยู่กับ ศบค.<ref>{{cite news |title=“อนุทิน” ยันจัดวัคซีนโควิดโควตา ศบค.-ไม่เกี่ยวเลื่อนนัดฉีด |url=https://news.thaipbs.or.th/content/305169 |accessdate=20 June 2021 |work=Thai PBS |date=13 June 2021}}</ref>
 
=== มาตรการจำกัดการระบาดในประเทศและสาธารณสุข ===
[[ไฟล์:Bangkok Grand Palace during COVID-19 Pandemic June 2020 Img 02.jpg|thumb|ทหารใน[[พระบรมมหาราชวัง]]สวมหน้ากากอนามัย]]
วันที่ 25 มีนาคม 2563 รัฐบาลประกาศใช้[[พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548]] (พรก. ฉุกเฉิน) ทั่วประเทศเพื่อสกัดการแพร่ของโควิด-19 โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ 26 มีนาคม – 30 เมษายน มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ห้ามบุคคลเข้าไปในเขตที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งห้าม รวมทั้งห้ามชุมนุมและเผยแพร่[[ข่าวปลอม]]<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-52030713 ไวรัสโคโรนา : รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศ 26 มี.ค.-30 เม.ย. สกัดโควิด-19 ยังไม่สั่ง “ปิดประเทศ-ปิดเมือง-ปิดบ้าน”]</ref> วันที่ 3 เมษายน รัฐบาลประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหะสถาน ตั้งแต่เวลา 22.00 น. – 4.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ยกเว้นบางอาชีพ เป็นมาตรการรับมือโควิด-19 วันที่ 17 เมษายน ตำรวจรายงานว่าจับกุมผู้ฝ่าฝืนคำสั่งได้ 7,000 คน<ref>[https://www.khaosodenglish.com/news/crimecourtscalamity/2020/04/17/7000-curfew-arrests-made-over-the-past-two-weeks-police/ 7,000 Curfew Arrests Made Over the Past Two Weeks: Police]</ref> วันที่ 7 เมษายน คณะรัฐมนตรีสั่งเลื่อนวันเปิดภาคเรียนภาคเรียนที่ 1/2563 เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม วันที่ 8 เมษายน กระทรวงวัฒนธรรมสั่งห้ามจัดงาน[[สงกรานต์]]ทุกระดับ<ref name="bkbiz">[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875664 ย้อนไทม์ไลน์ 100 วัน กับสถานการณ์ ‘โควิด-19’ ในประเทศไทย]</ref> วันที่ 9 เมษายน 14 จังหวัดและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศห้ามเข้าออก ได้แก่ เชียงราย ตาก น่าน แพร่ ตราด บึงกาฬ ภูเก็ต สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เมืองพัทยา และระนอง<ref>[https://www.prachachat.net/general/news-446630 เช็กที่นี่!! 14 จังหวัดประกาศล็อกดาวน์ ห้ามเข้า-ออกแล้ว]</ref> วันที่ 11 เมษายน 47 จังหวัดมีคำสั่งงดจำหน่ายสุราชั่วคราว<ref>[https://www.prachachat.net/politics/news-447860 “มหาดไทย” เปิดชื่อ 47 จังหวัด งดขายเหล้า สกัดโควิด-19]</ref> หลังราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งอนุญาตให้จำหน่ายสุราได้แต่ห้ามนั่งดื่มที่ร้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีและพิษณุโลกสั่งห้ามจำหน่ายสุราต่อไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม และสั่งปิดท่าอากาศยานพิษณุโลกสำหรับให้อากาศยานใช้ขึ้นลงด้วย<ref>[https://www.mcot.net/viewtna/5eae6a7fe3f8e40af4442d5f เพชรบุรี-พิษณุโลก ยังห้ามขายเหล้าต่ออีก 1 เดือน]</ref>
 
งานวิจัยของวิโรจน์ ณ ระนองระบุว่า หลังจากรัฐบาลใช้มาตรการเด็ดขาดในการระบาดรอบแรก หากมีข่าวที่ตื่นตระหนกก็จะเกิดวิกฤตความเชื่อมั่น และมีผลกระทบทางเศรษฐกิจวงกว้าง อีกทั้งเสนอให้รัฐบาลต้องขยายมาตรการช่วยเหลือกลุ่มที่เปราะบางทางเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว<ref>{{cite news |title=สถานการณ์และแนวทางรับมือกับ COVID-19 ของไทย |url=https://tdri.or.th/2020/08/covid-19-policy-watch/ |accessdate=12 April 2021 |work=TDRI |date=21 August 2020 |language=th}}</ref>
 
มาตรการที่ให้ลงทะเบียนก่อนเข้าสถานที่นั้นก่อให้เกิดคำถามเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว เนื่องจากมีการนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ในทางที่ผิด<ref>{{cite news |title=วิจารณ์ยับ! มาตรการลงชื่อ-เบอร์ก่อนเข้าร้านสะดวกซื้อ หลังโดนพนักงานแอดไลน์มาจีบ |url=https://www.nationtv.tv/main/content/378778308 |accessdate=12 April 2021 |work=เนชั่นทีวี |date=26 May 2020 |language=th}}</ref>
 
จากเหตุการณ์พบทหารอียิปต์ติดโตวิด-19 จำนวน 1 นายในวันที่ 8 กรกฎาคม มีคำสั่งปิดโรงเรียนในจังหวัดระยอง 274 แห่ง<ref>[https://www.amarintv.com/news/detail/38605 ลุกลาม! ระยองสั่งปิดโรงเรียน 274 แห่ง ปม "ทหารอียิปต์" ติดโควิด]</ref> และมีการปิดห้างจำนวน 2 แห่ง ผู้ที่อยู่ในห้างในช่วงดังกล่าวจำนวนเกือบ 800 คนได้รับคำแนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัส<ref name="">[https://news.thaipbs.or.th/content/294558 ปิดห้างระยอง 2 วันคุม COVID-19 คัดกรองคนเฉียดพัน]</ref>
 
วันที่ 2 มกราคม 2564 หลังมีการระบาดรอบใหม่ในเดือนธันวาคม 2563 ศบค. ได้แบ่งพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศตามความเสี่ยง แต่รอบนี้ไม่สั่งล็อกดาวน์ทั่วประเทศ โดยโฆษก ศบค. ชี้แจงว่าที่ไม่สั่งล็อกดาวน์เพราะจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบสัมมาชีพ แต่สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผู้ที่ฝ่าฝืน เช่น ผู้ลักลอบเล่นการพนัน ฝ่าฝืนเคอร์ฟิว เป็นต้น<ref>{{cite news |title=ศบค.แจงเหตุรอบนี้ "ไม่ล็อกดาวน์" ดูรายละเอียด คุมสูงสุด 28 จังหวัด เริ่มจันทร์นี้! |url=https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_5654583 |accessdate=5 January 2021 |work=ข่าวสด |date=2 January 2021 |language=th}}</ref> กรุงเทพมหานครสั่งปิดโรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กระหว่างวันที่ 4–17 มกราคม 2564<ref>{{cite news|title=Bangkok to close schools for two weeks as number of COVID-19 cases rise|date=1 January 2021|publisher=Reuters|url=https://www.reuters.com/article/idUSKBN29626D|access-date=1 January 2021}}</ref> และต่อมาไม่นาน กระทรวงศึกษาธิการสั่งปิดโรงเรียนทุกแห่งในเดือนมกราคม<ref>{{cite news|title=UPDATE 3-Thailand mulls more restrictions amid second wave of coronavirus|date=3 January 2021|publisher=Reuters|url=https://www.reuters.com/article/idUSL1N2JE018|access-date=4 January 2021}}</ref>
 
การขยายระยะเวลาสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่านำกฎหมายดังกล่าวมาใช้เพื่อควบคุมโรคหรือจำกัดการชุมนุมทางการเมือง ทั้งนี้ พบว่ามักมีการดำเนินคดีตาม พรก. ฉุกเฉิน คู่กับพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558<ref>{{cite news |title=ครบ 1 ปี ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุมโควิด-19 ควรไปต่อหรือพอแค่นี้ |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56534501 |accessdate=7 April 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> ระหว่างเดือนมีนาคม 2563 ถึงมีนาคม 2564 พบมีผู้ถูกดำเนินคดีตาม พรก. ฉุกเฉินอย่างน้อย 444 คน<ref>{{cite news |title=มีนาคม 64: เดือนเดียวผู้ถูกดำเนินคดีการเมืองเพิ่มเกือบ 200 ราย ยอดพุ่งไปอย่างน้อย 581 คน ใน 268 คดี {{!}} ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (THAI LAWYERS FOR HUMAN RIGHTS) |url=https://tlhr2014.com/archives/27990 |accessdate=7 April 2021 |work=TLHR |date=6 April 2021 |language=th}}</ref> ช่วงเดือนมีนาคม 2563 องค์การ[[ฮิวแมนไรต์วอช]]ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการคุกคามผู้วิจารณ์มาตรการรับมือโควิด-19 ของรัฐบาล<ref>{{cite news |title=ฮิวแมนไรท์วอทช์ร้อง รบ.ไทยหยุดคุกคามคนวิจารณ์การรับมือโควิด-19 |url=https://voicetv.co.th/read/2RI4uqv1q |accessdate=12 April 2021 |work=VoiceTV |language=th}}</ref>
 
[[ไฟล์:TH-COVID19 Closed-7-Eleven-shop IMG 9897.jpg|thumb|left|ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นซึ่งปกติเปิด 24 ชั่วโมง ปิดทำการ เนื่องจากมาตรการจำกัดการระบาด]]
การปกปิดไทม์ไลน์การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีโทษทั้งจำทั้งปรับ<ref>{{cite news |title=เตือน! ปกปิด ‘ไทม์ไลน์’ โควิด มีโทษสูงสุด ทั้งจำทั้งปรับ รับมือระบาดรอบใหม่ |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/931304 |accessdate=10 April 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref> ปรากฏว่าบุคคลที่ถูกต้นสังกัดลงโทษเนื่องจากปกปิดไทม์ไลน์มีหลายสาขาอาชีพ เช่น พนักงานบริษัท ข้าราชการศาล<ref>{{cite news |title=ปกปิดไทม์ไลน์! ‘พนง.บริษัท-ขรก.ศาล’ติดโควิด สธ.จ่อฟันพรบ.โรคติดต่อ |url=https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6290302 |accessdate=10 April 2021 |work=ข่าวสด |date=7 April 2021 |language=th}}</ref> แต่จากกรณีของบุคคลบางคน เช่น [[ศักดิ์สยาม ชิดชอบ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ปกปิดไทม์ไลน์นั้น ทำให้สื่อตั้งคำถาม<ref>{{cite news |title=เทียบชัดๆ ไทม์ไลน์ “ศักดิ์สยาม-ผู้ป่วยทั่วไป” ทำไมปกปิดข้อมูล ? |url=https://www.thansettakij.com/content/covid_19/475074 |accessdate=10 April 2021 |work=ฐานเศรษฐกิจ |language=th}}</ref>
 
ในช่วงที่มีโควิด-19 ระบาดแต่ละครั้งมักมีคำสั่งให้เปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ ซึ่งประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านความพร้อมของบุคลากรและอุปกรณ์ วิธีการของกระทรวงศึกษาธิการที่ผลักภาระไปให้โรงเรียนต่าง ๆ รับผิดชอบกันเองทำให้ประสิทธิภาพการศึกษาลดลงมาก อีกทั้งไม่คำนึงถึงความพร้อมในการเรียนออนไลน์ในพื้นที่ห่างไกลและยากจน ด้านเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานระบุว่ากำลังทดลองให้การศึกษาผ่านวิทยุ ส่วนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนหลายแห่งเพื่อเป็นแพลตฟอร์มการศึกษาออนไลน์<ref>{{cite news |last1=คำเปรม |first1=พัชรินทร์ |title=ถอดรหัสโควิด ระลอก3 สารพัดปัญหาเรียนออนไลน์ |url=https://www.matichon.co.th/education/news_2696116 |accessdate=1 June 2021 |work=มติชนออนไลน์ |date=30 April 2021 |language=th}}</ref> ในเดือนพฤษภาคม 2564 กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจัดการเรียนการสอนผ่าน "ครูพร้อม" ซึ่งเป็นเว็บพอร์ทัลซึ่งรวบรวมสื่อในสังกัดของกระทรวง<ref>{{cite news |title="ครูพร้อม" คืออะไร ทำไมถึงมีบทบาทในช่วงโควิดระบาด |url=https://www.komchadluek.net/news/scoop/466586 |accessdate=1 June 2021 |work=คมชัดลึกออนไลน์ |date=12 May 2021 |language=th}}</ref>
 
ในเดือนเมษายน 2564 จังหวัดเชียงใหม่เปิดโรงพยาบาลสนามจำนวน 280 เตียงเพื่อรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ 148 รายในช่วงนั้น<ref>{{cite news |title=เชียงใหม่วิกฤติป่วยโควิดพุ่ง 148 ราย เปิด รพ.สนามรับได้ 280 เตียง |url=https://www.thairath.co.th/news/local/north/2066584 |accessdate=10 April 2021 |work=ไทยรัฐ}}</ref> แต่ขาดเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างหนัก และขอรับบริจาค<ref>{{cite news |title=โรงพยาบาลสนามเชียงใหม่ ขาดแคลนน้ำดื่มและของใช้ ขอรับบริจาคจำนวนมาก |url=https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000034305 |accessdate=12 April 2021 |work=ผู้จัดการออนไลน์ |date=10 April 2021 |language=en-th}}</ref> ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายออกประกาศขอความร่วมมืองดออกบ้านถ้าไม่จำเป็น 14 วัน<ref>{{cite news |title=เชียงราย ประกาศ ขอความร่วมมือปชช. อยู่บ้าน 14 วัน งดออกบ้านโดยไม่จำเป็น |url=https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6338875 |accessdate=17 April 2021 |work=ข่าวสด |date=17 April 2021 |language=th}}</ref> กระทรวงสาธารณสุขถูกวิจารณ์หลังโพสต์วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ 4 เข็มว่าเป็น "วัคซีนทิพย์"<ref>{{cite news |title=สธ.เผยวัคซีน 4 เข็มสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ โซเชียลตอกกลับ "วัคซีนทิพย์" |url=https://www.komchadluek.net/news/regional/464410 |accessdate=22 April 2021 |work=คมชัดลึกออนไลน์ |date=21 April 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 9 เมษายน 2564 มีข่าวว่านายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแถลงจะส่งมอบงบ 600 ล้านเยนเพื่อช่วยเหลือประเทศไทยในการสร้างระบบเครือข่ายขนส่งอุณหภูมิเย็นเพื่อจัดเก็บวัคซีนโควิด-19<ref>{{cite news |title=Prime Minister Suga to support the development of Thailand's vaccine transportation network Total 600 million yen {{!}} tellerreport.com |url=https://www.tellerreport.com/news/2021-04-10-prime-minister-suga-to-support-the-development-of-thailand-s-vaccine-transportation-network-total-600-million-yen.B1GnIeFAB_.html |accessdate=22 April 2021 |work=www.tellerreport.com |language=en}}</ref> วันที่ 22 เมษายน 2564 กระทรวงสาธารณสุขส่งฟ้าทะลายโจรแคปซูล 600,000 แคปซูลให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ หลังมีงานวิจัยระบุว่าฟ้าทะลายโจรลดโอกาสเกิดอาการป่วยโควิด-19 รุนแรง<ref>{{cite news |title=สธ.ส่ง'ฟ้าทะลายโจร'6แสนแคปซูล ให้รพ.ใช้ร่วมรักษาผู้ป่วยโควิด |url=https://www.dailynews.co.th/politics/838773 |accessdate=23 April 2021 |work=เดลินิวส์ |date=22 April 2021 |language=th}}</ref> หลายจังหวัดออกประกาศคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยนอกเคหะสถาน ซึ่งถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตามกฎหมาย<ref>{{cite news |title=เช็กจังหวัดต้อง "สวมแมสก์" ออกจากบ้าน เตือน "ดึงใต้คาง-ปิดแค่ปาก-ไม่ปิดจมูก" ผิดกฎหมาย |url=https://www.thairath.co.th/news/local/2078243 |accessdate=28 April 2021 |work=ไทยรัฐ |date=27 April 2021 |language=th}}</ref> ทางการไทยสั่งให้ผู้ที่ตรวจพบเชื้อทุกคนต้องรับรักษาในโรงพยาบาลไม่ว่ามีหรือไม่มีอาการ ทำให้เกิดการขาดแคลนเตียงอย่างหนัก แม้มีการตั้งโรงพยาบาลสนามในหลายจังหวัดแล้ว โดยในเดือนพฤษภาคม มียอดผู้ป่วยโควิด- 19 นอนโรงพยาบาลรวมเกือบ 30,000 ราย<ref name=ap_08052021>{{cite news|title=GOV’T WANTS TO BUY MORE VACCINES AS SURGE WORSENS|date=8 May 2021|work=Khaosod English|agency=Associated Press|url=https://www.khaosodenglish.com/news/crimecourtscalamity/2021/05/08/govt-wants-to-buy-more-vaccines-as-surge-worsens/|access-date=15 May 2021}}</ref>
 
ปลายเดือนมิถุนายน 2564 หลังพบมีคลัสเตอร์ระบาดในค่ายคนงานก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร ทำให้มีคำสั่งล็อกดาวน์จังหวัดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 4 จังหวัดภาคใต้ออกมาในเวลา 1.00 น. ทำให้ได้รับเสียงวิจารณ์มาก เพราะไม่มีการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเพียงพอ<ref>{{cite news |title=เดือด! จวกรบ.ประกาศล็อกดาวน์ ตอนตี 1 ชี้ไม่เห็นหัวปชช. จี้ลาออก #ประยุทธ์ออกไป พุ่งติดเทรนด์ |url=https://www.matichon.co.th/social/news_2797708 |accessdate=27 June 2021 |work=มติชนออนไลน์ |date=27 June 2021 |language=th}}</ref> ในช่วงเดียวกัน ยังมีข่าวออกมาต่าง ๆ ว่า หลายโรงพยาบาลขาดแคลนบุคลากรการแพทย์อย่างหนัก และมีการส่งหนังสือถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อขอสนับสนุนบุคลากร<ref>{{cite news |title=แพทย์-พยาบาล ขาดแคลนหนัก! 4 รพ.ใหญ่ ขอกำลังหนุน 150 คน สู้โควิด - The Bangkok Insight |url=https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/covid-19/656497/ |accessdate=3 July 2021 |work=www.thebangkokinsight.com |language=th}}</ref> บุคลากรด่านหน้ามีภาระงานล้นมือ และมีปัญหาเตียงโรงพยาบาลไม่เพียงพอด้วย<ref>{{cite news |title=แพทย์รามาฯ เผย เตียงโควิดวิกฤตหนัก สับรัฐแหลก ด่านหน้า “ขอปืนใหญ่ แต่ได้ปืนแก๊ป” |url=https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/150165 |accessdate=3 July 2021 |work=pptvhd36.com |language=th}}</ref> เสียงวิจารณ์รัฐบาลที่ไม่เห็นใจประชาชน ไม่สามารถคุมสถานการณ์ผู้ติดเชื้อและไม่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายจากมาตรการต่าง ๆ ทำให้กระแส #รัฐบาลฆาตกร ติดเทรนด์ทวิตเตอร์<ref>{{cite news |title=เน่าเฟะ บริหารล้มเหลว ที่มารัฐบาลฆาตกร คนไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤติ รอวันตาย |url=https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2131071 |accessdate=3 July 2021 |work=ไทยรัฐ |date=2 July 2021 |language=th}}</ref>
{{clear|left}}
 
=== มาตรการทางเศรษฐกิจ ===
{{pquote|"รัฐบาลได้ช่วยทุกอย่าง ช่วยทั้งร้านอาหาร ช่วยทั้งหมด ช่วยทั้งคน ทั้งกรรมการทั้งหมด คนทำงานทั้งหมด ทุกส่วน รัฐบาลออกมาช่วยไหม รัฐบาลช่วย 50% ช่วยทั้งหมดแล้ว จะเอาอะไรอีก โว๊ะ"|[[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]]|<ref name="กูจะเปิด">{{cite news |title=แคมเปญขัดขืน "กูจะเปิดมึงจะทำไม" ชวนเปิดร้านอาหารนั่งดื่มกิน ศบค.เบรก "บิ๊กป้อม" ถาม "เอาอะไรอีก"! |url=https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/150533 |accessdate=30 June 2021 |work=pptvhd36.com |language=th}}</ref>}}
{{วิกิซอร์ซ|พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563|พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563}}
วันที่ 17 เมษายน ประยุทธ์แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ ว่าจะส่งจดหมายเปิดผนึกถึง[[อันดับมหาเศรษฐีไทย|มหาเศรษฐีไทย 20 อันดับแรก]] เพื่อขอให้ร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาโควิด-19<ref>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1823621 นายกฯ ปลุกพลังคนไทย ขอความร่วมมือ 20 เศรษฐีไทย รวมใจ ฝ่าภัยโควิด-19]. ''ไทยรัฐ''.</ref> วันที่ 19 เมษายน ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกำหนดกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวม 3 ฉบับ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท<ref>[https://www.prachachat.net/finance/news-451974 ด่วน! ราชกิจจาประกาศ พ.ร.ก.เงินกู้ 1.9 ล้านล้าน 3 ฉบับรวด “ห้ามจ่ายนอกรายการโควิด”]</ref>
 
วันที่ 21 เมษายน สำนักงานประกันสังคมเปิดเผยว่ามีผู้ประกันตนยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนแล้วกว่า 1.2 ล้านราย พร้อมยืนยันว่าสำนักงานฯ มีเงินลงทุนกรณีว่างงานกว่า 160,000 ล้านบาท ไม่กระทบต่อเสถียรภาพของสำนักงานฯ<ref>[https://www.prachachat.net/breaking-news/news-454001 ผู้ว่างงานขอเยียวยาทะลุ 1.2 ล้านราย ได้เงินแล้ว 8 พันราย]</ref>
 
วันที่ 24 เมษายน ศบค. ออกมาเปิดเผยว่าค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 คิดเป็นประมาณ 1 ล้านบาทต่อคน<ref>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1829274 ศบค.เผย งบฯ รักษาติดเชื้อโควิด-19 คนละล้าน-เกิดระบาดรอบ 2 อีกไม่ได้]</ref>
 
ระหว่างเดือนมิถุนายนถึง 13 กรกฎาคม ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่าได้อนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแล้ว 63,342 ราย คิดเป็นมูลค่า 103,750 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของวงเงิน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอีกกว่า 2.4 ล้านราย (ร้อยละ 83 ของผู้ประกอบการทั้งหมด) ไม่มีสิทธิในเงินกู้ดังกล่าว<ref>[https://workpointtoday.com/soft-loan/ ส่อง Soft Loan แบงก์ชาติ SME เข้าถึงแค่ 12% ของผู้ประกอบการที่มีสินเชื่อ]</ref>
 
สำหรับมาตรการกลุ่มโอนเงินโดยตรง ประกอบด้วย โครงการเราไม่ทิ้งกัน ซึ่งกระทรวงการคลังแถลงว่าจะมีผู้ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท ครบ 11 ล้านคนจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2563<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/879018 'เราไม่ทิ้งกัน' โอน 'เงินเยียวยา' ส่วนที่เหลือแล้ว 5-8 พ.ค.ได้เงินครบทั้ง 11 ล้านคน]</ref>, มาตรการ "คนละครึ่ง" ซึ่งเป็นการโอนเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้จ่ายวงเงิน 3,500 บาท โดยกระทรวงการคลังเปิดเผยในเดือนมีนาคม 2564 ว่ามีผู้ใช้สิทธิ 14.7 ล้านคน<ref>{{cite news |title=‘คนละครึ่ง เฟส 3’ หลังพฤษภาคม 2564 มาแน่! |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/930556 |accessdate=7 April 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref> และโครงการ "เรารักกัน" ซึ่งเป็นการชดเชยแก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ของกระทรวงแรงงาน หัวละ 4,000 บาท คาดใช้วงเงิน 37,100 ล้านบาท<ref>{{cite news |title=แรงงาน เผยไทม์ไลน์ ‘ม.33 เรารักกัน’ เปิดลงทะเบียน 21 ก.พ. นี้ คาดใช้เงินเยียวยา 3.71 หมื่นล้านบาท |url=https://thestandard.co/ministry-of-labor-unveiled-m33-raorukgun-timeline/ |accessdate=12 April 2021 |work=THE STANDARD |date=6 February 2021 |language=th}}</ref> เวิร์กพอยต์ทูเดย์ สรุปข้อมูลงบประมาณเพื่อรับมือโควิด-19 ณ วันที่ 22 มีนาคม 2564 พบว่า งบทางสาธารณสุข 45,000 ล้านบาท อนุมัติแล้ว 20,498 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายจริงเพียงร้อยละ 24.7 และงบฟื้นฟูเศรษฐกิจ 355,000 ล้านบาท อนุมัติแล้ว 133,115 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายจริงร้อยละ 47.5<ref>{{cite web |title=เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทสู้โควิด อยู่ไหน |url=https://twitter.com/workpointTODAY/status/1385840462594854914 |website=Twitter |publisher=WorkpointTODAY |accessdate=25 April 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 23 เมษายน 2564 นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 85/2564 ซึ่งมอบหมายงบประมาณ 45,000 ล้านบาทให้แก่รัฐมนตรีไปพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ทำให้พรรคก้าวไกลและประชาธิปัตย์ออกมาคัดค้าน โดยมองว่าเป็นการหาเสียง<ref>{{cite news |title=สส.ก้าวไกลค้านรัฐบาลแบ่งเค้กงบฟื้นฟูโควิด4.5หมื่นล้านแจกรายจังหวัดฐานเสียงรมต. |url=https://www.thaipost.net/main/detail/100424 |accessdate=24 April 2021 |work=Thai Post |language=th}}</ref><ref>{{cite news |title=เปิดคำสั่งนายกฯแบ่ง‘รมต.’คุมจว.ทั่วประเทศ ‘พปชร.’ยึดฐานเสียง-ส่ง‘ธรรมนัส’เจาะใต้ |url=https://www.naewna.com/politic/567444 |accessdate=24 April 2021 |work=แนวหน้า |language=th}}</ref> ต่อมา มีข่าวว่าแอพเป๋าตังกำหนดให้ยินยอมแบ่งข้อมูลส่วนบุคคลให้บริษัทพันธมิตรของธนาคาร<ref>{{cite news |title=ชาวเน็ตโอด! "เป๋าตัง" เวอร์ชันใหม่มีติ๊กยอมรับให้ข้อมูลบริษัทพันธมิตร ใครไม่ทันอ่านกลับมาแก้ไม่ได้แล้ว |url=https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000054794 |accessdate=8 June 2021 |work=ผู้จัดการออนไลน์ |date=7 June 2021 |language=th}}</ref>
 
ในโอกาสครบรอบ 1 ปีหลังเงินกู้ภาครัฐเกือบ 2 ล้านล้านบาท นักการเมืองพรรคเพื่อไทยออกมาเปิดเผยว่ามียอดเบิกจ่ายเพียงร้อยละ 34 แต่วิจารณ์รัฐบาลว่าไม่สามารถพยุงภาคธุรกิจ ไม่สามารถกระตุ้นการจ้างงานและไม่มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างได้ผล<ref>{{cite news |title=1 ปี เงินกู้โควิด พลาดเป้า “ศิริกัญญา” ชำแหละเสียโอกาสกู้วิกฤต |url=https://www.prachachat.net/politics/news-651204 |accessdate=27 May 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=22 April 2021 |language=th}}</ref> ด้านนักการเมืองพรรคก้าวไกลวิจารณ์ว่ารัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่ออุดหนุนประชาชนลดลงสวนทางกับสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงขึ้น นอกจากนี้ยังบังคับจ่ายผ่านแอปพลิเคชัน ทำให้ประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนไม่สามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ ยังมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข<ref>{{cite news |title='ศิริกัญญา' ชี้โควิดระลอก3 สะท้อนเหลื่อมล้ำ เผยเงินกู้ก้อนใหม่ ฟื้นศก.ได้แต่ไม่ใช่รบ. 'บิ๊กตู่' |url=https://www.matichon.co.th/covid19/news_2713953 |accessdate=27 May 2021 |work=มติชนออนไลน์ |date=8 May 2021 |language=th}}</ref>
 
วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 คณะรัฐมนตรีออกพระราชกำหนดกู้เงินเพิ่มอีก 500,000 ล้านบาท<ref>{{cite news |title=คลอดแล้ว!"พรก.กู้5แสนล้าน"ใช้แก้ปัญหาโควิด |url=https://www.posttoday.com/finance-stock/news/653821 |accessdate=25 May 2021 |work=โพสต์ทูเดย์ |language=th}}</ref> ทำให้มีการคาดการณ์ว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอาจแตะร้อยละ 60 ในปีงบประมาณ 2565<ref>{{cite news |title=สบน. ยอมรับ พ.ร.ก. เงินกู้ 5 แสนล้าน อาจดันหนี้สาธารณะปีงบ 65 ไต่ระดับ 60% ย้ำอยู่ระหว่างทบทวนแผนก่อหนี้ใหม่ เพื่อประเมินตัวเลขที่ชัดเจน |url=https://thestandard.co/500-billion-loan-act-push-public-debt-2022-to-60-percent/ |accessdate=27 May 2021 |work=THE STANDARD |date=25 May 2021 |language=th}}</ref> ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่ออภิปราย[[งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2565|ร่างงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2565]] ส.ส. ฝ่ายค้านวิจารณ์การตัดลดงบกระทรวงสาธารณสุข แต่ยังปรับเพิ่มงบจัดซื้ออาวุธ<ref>{{cite news |title=ฝ่ายค้านประกาศคว่ำงบ 65 วาระแรก เหตุไม่สะท้อนวิกฤตโควิด |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-57303196 |accessdate=2 June 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref>
 
วันที่ 16 มิถุนายน 2564 นายกรัฐมนตรีประกาศตั้งเป้าเปิดประเทศภายใน 120 วัน<ref>{{cite news |title=นายกฯออกแถลงการณ์ ตั้งเป้า 'ไทย' ต้องเปิดประเทศภายใน 120 วัน |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/943877 |accessdate=16 June 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref> ในเดือนเดียวกัน มีการเปิดโปงว่ารัฐบาลใช้เงินจากกองทุนประกันสังคมเพื่อนำไปเยียวยาซึ่งผิดวัตถุประสงค์ไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท<ref>{{cite news |title=สวดรัฐล้วงเงินประกันสังคม 1 แสนล้าน เยียวยาโควิดผิดวัตถุประสงค์กองทุน |url=https://www.dailynews.co.th/politics/853089 |accessdate=30 June 2021 |work=เดลินิวส์ |date=29 June 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เริ่มเปิด "ภูเก็ต แซนบ็อกซ์" เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบแล้วเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องกักตัว<ref>{{cite news |title=ภูเก็ต แซนด์บอกซ์ (Phuket Sandbox) ดีเดย์ 1 ก.ค. 64 รวมเรื่องต้องรู้ |url=https://www.prachachat.net/tourism/news-702505 |accessdate=30 June 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=30 June 2021 |language=th}}</ref> แต่นักท่องเที่ยวจำนวนมากยกเลิกตั๋วเครื่องบินเพราะระบบราชการอนุมัติเอกสารล่าช้า<ref>{{cite news |title=5 แอร์ไลน์ป่วน ! ภูเก็ตแซนด์บอกซ์ 1 ก.ค. ติดหล่ม COE ต่างชาติแห่ยกเลิกตั๋ว |url=https://www.prachachat.net/tourism/news-701560 |accessdate=30 June 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=29 June 2021 |language=th}}</ref>
 
=== วัคซีน ===
{{main|การฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย}}
{{pquote|วิเคราะห์แล้วว่า[จำนวนและกรอบระยะเวลาการฉีดวัคซีน]มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศไทย ซึ่งไม่ได้มีการระบาดรุนแรง และไม่มีผู้ป่วย หรือ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เช่นในบางประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนโดยด่วน|[[อนุทิน ชาญวีรกุล]]|<ref name="อนุทินตอบ"/>}}
ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ทางการสั่งซื้อ[[AZD1222|วัคซีนจากบริษัทแอสตราเซเนกา]] จำนวน 26 ล้านโดส<ref>{{cite news |title=เรื่องน่ารู้ของวัคซีนโควิด-19 ที่ไทยสั่งซื้อ |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-55102801 |accessdate=5 January 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> ทั้งนี้ บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ซึ่งเป็นบริษัทในพระปรมาภิไธยได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "เมื่อรับวัคซีนมาแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งอันนี้ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้บริษัทสยามไบโอไซเอนส์"<ref>{{cite news |title=นายกฯ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร.10 ทรงให้ "สยามไบโอไซเอนซ์" รองรับวัคซีนโควิด-19 |url=https://www.bbc.com/thai/55097716 |accessdate=5 January 2021 |work=BBC ไทย |date=27 November 2020 |language=th}}</ref> นอกจากนี้ยังแผนนำเข้า[[โคโรนาแว็ก|วัคซีนจากบริษัทซีโนแว็ก]] สัญชาติจีน 2 ล้านโดส ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2564<ref>{{cite news |title=ข่าวดี ไทยเริ่มผลิตวัคซีน "โควิด-19" ในประเทศ รอบที่ 2 แล้ว |url=https://www.thairath.co.th/news/local/2005712 |accessdate=5 January 2021 |work=ไทยรัฐ |date=3 January 2021 |language=th}}</ref> ซึ่ง[[ซิโนแว็ก ไบโอเทค|บริษัทซีโนแว็ก]]เป็นบริษัทที่[[เครือเจริญโภคภัณฑ์]]เข้าร่วมทุนด้วยจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถือหุ้น 15%<ref name="CP">{{cite news |title=‘ซีพี’ ทุ่ม 1.5 หมื่นล้านบาท ลงทุน บ.ผลิตวัคซีน ‘ซิโนแวค’ |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/915653 |accessdate=5 January 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref>
 
ในเดือนมกราคม 2564 [[ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ]] อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ถูกรัฐบาลแจ้งความฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ หลังตั้งคำถามถึงบริษัทผลิตวัคซีนที่พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของ<ref name="ทอน">{{cite news |title=Thailand Charges Opposition Figure with Defaming King |url=https://www.voanews.com/east-asia-pacific/thailand-charges-opposition-figure-defaming-king |accessdate=25 January 2021 |work=VOA |language=en}}</ref> ต่อมา อนุทิน ชาญวีรกุล โพสต์ตอบคำถามของธนาธร โดยตอนหนึ่งระบุว่า จำนวนและกรอบเวลาการสั่งซื้อวัคซีนนั้นเป็นไปตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ<ref name="อนุทินตอบ">{{cite news |title=ตอบแล้ว! 'อนุทิน' แจงข้อสงสัยธนาธร กรณีจัดหาวัคซีน |url=https://www.matichon.co.th/politics/news_2547188 |accessdate=26 January 2021 |work=มติชนออนไลน์ |date=26 January 2021 |language=th}}</ref> ในเดือนเดียวกัน มีการวิจารณ์ว่าการผูกขาดดังกล่าวเป็นการหาความชอบให้แก่พระมหากษัตริย์<ref name="หาซีน">{{cite news |title=อึ้ง! ยามห้างดัง ง้างมือตบหน้า นศ.สาว ถือป้ายแสดงออก ทางการเมือง |url=https://www.khaosod.co.th/politics/news_5770608 |accessdate=19 January 2021 |work=ข่าวสด |date=19 January 2021 |language=th}}</ref><ref>{{cite news |title=Iconsiam guard accused of slapping student protester but guess which was taken to police? |url=https://coconuts.co/bangkok/news/iconsiam-guard-accused-of-slapping-student-protester-but-guess-which-was-taken-to-police/ |accessdate=19 January 2021 |work=Coconuts |date=19 January 2021}}</ref>
 
{{Graph:Chart
| ref=https://ddc.moph.go.th/dcd/pagecontent.php?page=642&dept=dcd
| width=600
| height=200
| xAxisTitle=วันที่
| yAxisTitle=วัคซีนที่ฉีด (โดส)
| type=area
| x=16/3/64,23/3/64,31/3/64,7/4/64,15/4/64,22/4/64,29/4/64,6/5/64,13/5/64,20/5/64,27/5/64,5/6/64,12/6/64,19/6/64,26/6/64
| y1=50388,82812,191745,323989,579305,864840,1344646,1601833,1935565,2340995,3208882,4142944,5975070,7843083,8981478
| colors=#80add8e6
}}
 
วัคซีนลอตแรกถึงไทยเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 และเริ่มฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์<ref name="bbcลอตแรก">{{cite news |title=วัคซีนโควิดล็อตแรกถึงไทย แต่กลุ่มเป้าหมายแรกพร้อมฉีดแค่ไหน |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56178246 |accessdate=24 February 2021 |work=BBC ไทย |date=24 February 2021 |language=th}}</ref> แผนกระจายวัคซีนลอต 2 จำนวน 8 แสนโดส โดยแบ่งเป็นกลุ่มพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ท่องเที่ยว<ref>{{cite news |title=ไทยกระจาย 'วัคซีนโควิด19' ล็อต 2 มากกว่า 22 จังหวัด |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/929077 |accessdate=7 April 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref> วันที่ 26 พฤษภาคม มีข่าวว่านักการเมืองฝ่ายรัฐบาลส่วนหนึ่งวิ่งเต้นเพื่อให้ท้องถิ่นของตนได้รับจัดสรรวัคซีนมากที่สุด<ref>{{cite news |title=ศึกชิงวัคซีนโควิด สมรภูมินี้ใครชนะ |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-57257650?at_medium=custom7&at_custom4=E79D41DE-BE27-11EB-B452-37A296E8478F&at_custom1=%5Bpost+type%5D&at_custom2=facebook_page&at_custom3=BBC+Thai&at_campaign=64&fbclid=IwAR3jGm_VZbEqJct-Yoad0DDDrO9tyJyAKM7VwsOioNDmX92BE3ocIakchK4 |accessdate=26 May 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> ในวันเดียวกัน ศบค. ประกาศชะลอการลงทะเบียนจองวัคซีนผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อม เนื่องจากจะมีการจัดสรรวัคซีนใหม่โดยเปลี่ยนจากโควต้าจองมาเป็นการจัดสรรให้กับพื้นที่ระบาดก่อน ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขระบุว่ามียอดผู้จองวัคซีนผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าวแล้ว 7.9 ล้านราย<ref>{{cite news |title="หมอพร้อม" ชะลอลงทะเบียน ปรับแผนกระจายวัคซีนใหม่ ประยุทธ์ สั่ง |url=https://www.prachachat.net/general/news-677300 |accessdate=26 May 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=26 May 2021 |language=th}}</ref> ข้อมูลในวันเดียวกันพบว่า ไทยมีวัคซีนซิโนแวค 6 ล้านโดส และแอสตราเซเนกา 117,000 โดส และกำลังนำเข้าวัคซีนซิโนแวคเพิ่มเติมในเดือนมิถุนายน ขณะที่วัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตในประเทศจะทยอยส่งมอบจนครบ 61 ล้านโดส<ref>{{cite news |title=วัคซีนทางเลือกแรกของไทย กับเบื้องหลังปิดดีล “ซิโนฟาร์ม” |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-57279097 |accessdate=2 June 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> สส. พรรคก้าวไกลวิจารณ์การวางแผนวัคซีนของรัฐบาลว่า ทำให้ต้องจ่ายค่าตรวจหาเชื้อ ค่ายาต้านไวรัสและค่านอนโรงพยาบาลที่แพงกว่าวัคซีนมาก นอกจากนี้แทนที่จะยอมจัดสรรงบซื้อวัคซีนเพียงไม่ถึง 1 แสนล้านบาท แต่กลับต้องใช้งบเพื่อเยียวยาถึง 7 แสนล้านบาท<ref>{{cite news |title=‘วิโรจน์’ ไล่ ‘รัฐบาล’ ลาออก จัดงบประมาณ ‘ไร้สามัญสำนึก’ เหมือนลูกทรพีตื๊อซื้อของเล่น ให้กองทัพซุกงบ |url=https://www.matichon.co.th/politics/news_2750863 |accessdate=31 May 2021 |work=มติชนออนไลน์ |date=31 May 2021 |language=th}}</ref>
 
{{วิกิซอร์ซ|ประกาศ ศบค. เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2564}}
จนถึงเดือนมิถุนายน 2564 วัคซีนที่ขึ้นทะเบียนกับ อย. แล้ว ประกอบด้วย ซิโนแวค แอสตราเซเนกา [[วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน|วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน]]<ref>{{cite news |title=เกิดผลข้างเคียงอะไรบ้างกับคนไทย หลังเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56534291 |accessdate=8 April 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> โมเดอร์นา<ref>{{cite news |title=วัคซีนโมเดอร์นา ได้รับการขึ้นทะเบียน จาก อย. มีผล 13 พ.ค. |url=https://www.prachachat.net/breaking-news/news-668560 |accessdate=13 May 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=13 May 2021 |language=th}}</ref> ซิโนฟาร์ม<ref>{{cite news |title=ซิโนฟาร์ม อย. อนุมัติการขึ้นทะเบียนแล้ว |url=https://www.prachachat.net/marketing/news-678874 |accessdate=2 June 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=28 May 2021 |language=th}}</ref> และไฟเซอร์<ref>{{Cite news|title=ไฟเซอร์ อย. อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนแล้ว |url=https://www.prachachat.net/general/news-697894 |date=24 June 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |access-date=9 July 2021}}</ref>
 
ระหว่างวันที่ 7–19 มิถุนายน 2564 มีการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 (ซิโนแวคและแอสตราเซเนกา) จำนวน 3.5 ล้านโดสใน 13 เขตสุขภาพ<ref>{{cite news |title="ฉีดวัคซีนโควิด-19" เช็กเลยกลุ่มจังหวัดไหนได้วัคซีนอะไร เท่าไหร่ ครบจบ |url=https://www.thansettakij.com/content/covid_19/482859 |accessdate=7 June 2021 |work=ฐานเศรษฐกิจ |language=th}}</ref> วันที่ 7 มิถุนายน 2564 นายกรัฐมนตรีลงนามนำเข้าวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 25 ล้านโดสและซิโนแวค 8 ล้านโดส<ref>{{cite news |title=ประยุทธ์ ลงนามแล้ว นำเข้าวัคซีน 'จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน' 25 ล้านโดส |url=https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6439531 |accessdate=8 June 2021 |work=ข่าวสด |date=7 June 2021 |language=th}}</ref> สมาคมโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยราคาวัคซีนโมเดอร์นา 2 เข็มอยู่ที่ 3,800 บาท และจะสั่งซื้อ 10 ล้านโดส<ref>{{cite news |title=สมาคม รพ.เอกชน เคาะวัคซีนโมเดอร์นา 2 เข็ม 3,800 บาท ราคาเดียวทั่วประเทศ |url=https://www.prachachat.net/marketing/news-685701 |accessdate=8 June 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=7 June 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 8 มิถุนายน ศบค. ออกคำสั่งอนุญาตให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนซื้อวัคซีนได้<ref>{{cite news |title=นายกฯ ประกาศ 6 มาตรการปลดล็อก ‘วัคซีนโควิด-19’ ท้องถิ่นซื้อได้ สั่งสธ.เร่งนำเข้าวัคซีน |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/942502 |accessdate=8 June 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref> ก่อนหน้านี้ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม [[สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์]]ออกประกาศว่าตนมีอำนาจนำเข้ายาและวัคซีนเพื่อใช้รักษาโควิด-19 ได้<ref>{{cite news |title=สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ประกาศเพิ่มอำนาจ สามารถนำเข้า จัดจำหน่ายวัคซีนได้เอง จับตานำเข้าวัคซีน ‘ซิโนฟาร์ม’ ทางเลือกปชช. |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940295 |accessdate=26 May 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref> อีกทั้งไม่ต้องรับผิดทางคดีทั้งปวง<ref>{{cite news |title=ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อนุญาตให้จัดหาวัคซีนในสถานการณ์โควิด 19 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี |url=https://prachatai.com/journal/2021/05/93219 |accessdate=26 May 2021 |work=ประชาไท |language=th}}</ref> วันที 15 มิถุนายน 2564 ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กว่า พบปัญหาบุคคลที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกาสองเข็มแล้วยังมีภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอ อาจต้องฉีดวัคซีนเพิ่มเป็นเข็มที่สาม<ref>{{cite news |title="หมอธีระวัฒน์" เผย เจอปัญหาผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มแล้ว ภูมิขึ้นน้อย |url=https://www.thairath.co.th/news/local/2114675 |accessdate=15 June 2021 |work=ไทยรัฐ |date=13 June 2021 |language=th}}</ref> วัคซีนซิโนฟาร์มลอตแรกมาถึงในวันที่ 20 มิถุนายน 2564<ref>{{cite news |title=วัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรกถึงไทย |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-57493912 |accessdate=20 June 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งกล่าวว่า มีแผนนำเข้าวัคซีนทางเลือกมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 แต่ติดขัดที่รัฐบาลไม่ยอมลงนาม<ref>{{cite news |title=รู้คำตอบ! หมอโทรถาม ไฟเซอร์-โมเดอร์นา ทำไมช้า เผยรบ.ไม่เซ็นสัญญา |url=https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6486011 |accessdate=2 July 2021 |work=ข่าวสด |date=2 July 2021 |language=th}}</ref> วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ครม. มีมติจัดหา[[วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค|วัคซีนไฟเซอร์]] โดยให้กรมควบคุมโรคลงนามในสัญญากับผู้ผลิต เบื้องต้นมีจำนวน 20 ล้านโดส และเห็นชอบความตกลงกับสหรัฐเพื่อรับมอบบริจาคอีกจำนวนหนึ่ง และเห็นชอบให้องค์การเภสัชกรรม (เป็นตัวกลาง) ลงนามในการจัดหาวัคซีนโมเดอร์นา กับบริษัทซิลลิค ฟาร์มา ผู้จัดจำหน่าย<ref>{{Cite news |title=ครม.เห็นชอบจัดหาไฟเซอร์ 20 ล้านโดส เป็นวัคซีนหลักฉีดให้คนไทยฟรี |url=https://www.thairath.co.th/news/politic/2133787 |work=ไทยรัฐ |date=6 July 2021 |access-date=9 July 2021}}</ref>
 
==== ความเชื่อมั่นต่อวัคซีน ====
วันที่ 21 เมษายน 2564 กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดระยองจำนวน 6 รายมีอาการคล้าย[[โรคหลอดเลือดสมอง]]ภายใน 10 นาทีหลังฉีดวัคซีนโคโรนาแวค<ref>{{cite news |title=คนไทยยังไว้ใจวัคซีนซิโนแวคได้หรือไม่ หลังพบอาการคล้ายสโตรก 6 ราย |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56827938 |accessdate=21 April 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอเกณฑ์จ่ายเงินชดเชยกรณีได้รับความเสียหายจากวัคซีน รายละ 1–4 แสนบาท<ref>{{cite news |title=เปิดเกณฑ์สปสช.จ่ายช่วยเหลือคนไทยจากผลข้างเคียงวัคซีน 1-4 แสนบาท |url=https://www.posttoday.com/social/general/652029 |accessdate=5 May 2021 |work=โพสต์ทูเดย์ |language=th}}</ref> {{anchor|IRFN}} ในวันที่ 8 พฤษภาคม แพทย์จุฬาคนหนึ่งโพสต์เฟซบุ๊กบรรยายภาวะที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะวัคซีน[[โคโรนาแว็ก]]<ref>{{cite news |title=อ.เจษฎา โพสต์ผลศึกษา รพ.จุฬา พบส่วนใหญ่เพศหญิงมีอาการข้างเคียง หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค |url=https://ch3plus.com/news/program/240512 |accessdate=13 May 2021 |work=CH3Plus.com |language=th}}</ref> โดยตั้งชื่อว่า ''กลุ่มอาการทางระบบประสาทเฉพาะที่ที่สัมพันธ์กับการรับวัคซีน'' (immunization-related focal neurological syndrome, IRFN)<ref>{{cite web |url=https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-irfn-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1/ |title=กลุ่มอาการ IRFN ที่พบได้หลังรับวัคซีนโรคโควิด-19 |last= |first= |date= |website=chulalongkornhospital.go.th |publisher=โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย |access-date=July 3, 2021 |quote=}}</ref>{{efn|ระวังสับสนกับ[[การตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการก่อภูมิคุ้มกัน]] (immunization stress-related response, ISRR) ซึ่งมีบรรยายในวรรณกรรมขององค์การอนามัยโลก}} ผู้ป่วยมักมีอาการทางระบบรับสัมผัส เช่น รู้สึกชาด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย เช่น ปลายมือ มุมปาก และแก้ม มักพบเป็นข้างเดียวกันกับที่ฉีดวัคซีน นอกจากนี้อาจพบอาการตาบอดครึ่งซีก (hemianopia) ชั่วคราว และอาการอ่อนแรงชั่วคราวได้ด้วย และอาจพบร่วมกับอาการปวดศีรษะและอาเจียน<ref name="nijasri">{{cite web |url=https://www.facebook.com/nijasri.charnnarong/posts/3867392559975884 |title=Immunization Related Focal Neurological Syndrome (IRFN) อาการไม่รุนแรง หายเองได้ ขอให้มั่นใจในการฉีดวัคซีน COVID-19 |author=นิจศรี ชาญณรงค์ สุวรรณเวลา |date=2021-05-08 |website=facebook |publisher=Nijasri Charnnarong |access-date=2021-05-10 |quote=}}</ref> มักพบในผู้รับวัคซีนที่เป็นเพศหญิงอายุ 20-50 ปี<ref name="nijasri"/> ข้อมูลจนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 พบว่ามีผู้เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วจำนวน 9 คน แต่ทางการระบุสาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจากโรคประจำตัวและปัจจัยอื่นทั้งหมด<ref>{{cite news |title=เปิดสาเหตุ 'เสียชีวิต' หลัง 'ฉีดวัคซีนโควิด' เกิดจากอะไรบ้าง? |url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940402 |accessdate=1 June 2021 |work=กรุงเทพธุรกิจ |language=th}}</ref> ในเดือนมิถุนายน 2564 อย. สั่งงดฉีดซิโนแวคบางล็อตเนื่องจากพบเป็นเจล<ref>{{cite news |title=ด่วน! อย. แจ้งพบ วัคซีนซิโนแวค บางล็อตมีปัญหา เป็นเจลใส-เขย่าไม่หาย |url=https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6479801 |accessdate=29 June 2021 |work=ข่าวสด |date=29 June 2021 |language=th}}</ref>
 
==== วัคซีนในประเทศ ====
 
ในเดือนมีนาคม 2564 เริ่มการทดลองวัคซีน NDV-HXP-S ที่มหาวิทยาลัยมหิดล<ref>{{Cite news|last=Limited|first=Bangkok Post Public Company|title=Thai-made vaccine ready 'by next year'|work=Bangkok Post|url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2066063/thai-made-vaccine-ready-by-next-year|access-date=2021-04-09}}</ref><ref>{{Cite news|last=Zimmer|first=Carl|date=2021-04-05|title=Researchers Are Hatching a Low-Cost Coronavirus Vaccine|language=en-US|work=The New York Times|url=https://www.nytimes.com/2021/04/05/health/hexapro-mclellan-vaccine.html|access-date=2021-04-09|issn=0362-4331}}</ref><ref>{{cite news |title=Thai-developed Covid-19 vaccine starts human trials |url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2087851/thai-developed-covid-19-vaccine-starts-human-trials |accessdate=8 April 2021 |work=Bangkok Post}}</ref> ส่วนในเดือนเมษายน 2564 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศรับสมัครอาสาสมัครวัคซีน ChulaCov19 ระยะที่ 1 และ 2<ref>{{cite news |title=จุฬาฯ เปิดรับ อาสาสมัครทดลองวัคซีนโควิด สัญชาติไทย |url=https://www.prachachat.net/general/news-653298 |accessdate=24 April 2021 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=22 April 2021 |language=th}}</ref> ในขณะที่วัคซีนที่ผลิตด้วยใบยาสูบของบริษัทใบยาไฟโตฟาร์มร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังอยู่ในระยะก่อนการทดลองในมนุษย์ โดยคาดว่าจะเข้าสู่ระยะการทดลองในมนุษย์ในเดือนสิงหาคม 2564<ref>https://www.thairath.co.th/news/local/2088321</ref> จนถึงเดือนเมษายน 2564 ขั้นตอนการผลิตวัคซีนของบริษัทสยามไบโอไซแอนซ์อยู่ในขั้นส่งตรวจคุณภาพวัคซีน และนายกรัฐมนตรียืนยันว่าเป็นไปตามกำหนดส่งมอบในเดือนมิถุนายน 2564<ref>{{cite news |title=นายกฯ เชื่อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าปลอดภัย-สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตได้ตามแผน |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56699952 |accessdate=24 April 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref><ref>{{cite news |title=นายกฯ ยืนยันไม่ล็อกดาวน์ ติดต่อรัสเซียขอซื้อวัคซีน |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56768954 |accessdate=24 April 2021 |work=BBC ไทย |date=16 April 2021 |language=th}}</ref>
 
== ผลกระทบ ==
===เศรษฐกิจ===
<div class="toccolours" style="display:inline-block; margin:1em 0;">{{center|''' การคาดคะเนอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศปี 2020 โดย[[ธนาคารพัฒนาเอเชีย]]<br />(ร้อยละ)'''}}
{{Graph:Chart
|width=340
|colors=#1f77b4
|showValues=offset:2
|xAxisAngle=-40
|type=rect
|x=เวียดนาม, อินเดีย, อินโดนีเซีย, จีน, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย
|y=4.8, 4, 2.5, 2.3, 1.3, 0.5, 0.2, -4.8
|yGrid= |xGrid=
}}
'''อ้างอิง:''' ธนาคารพัฒนาเอเชีย<ref name="ADB">{{cite web |url=https://e.vnexpress.net/news/business/data-speaks/vietnam-growth-among-asia-s-highest-despite-covid-19-slump-adb-4079002.html|title=Vietnam growth among Asia’s highest despite Covid-19 slump: ADB |date=4 March 2020 |website=[[VnExpress]] |language=en |access-date=28 June 2020}}</ref>
</div>
ในเดือนเมษายน 2564 ประธานหอการค้าไทยเปิดเผยว่า คนไทยอาจสูญเสียงานแล้วกว่า 7 ล้านตำแหน่ง และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตำแหน่งหากการระบาดยังยืดเยื้อต่อไปอีก 2–3 เดือน<ref>[https://www.bangkokpost.com/business/1898955/covid-19-outbreak-could-kill-10m-thai-jobs Covid-19 outbreak ‘could kill 10m Thai jobs’ ]</ref> สายการบินพาณิชย์ที่ดำเนินการในประเทศไทย 8 แห่งยื่นหนังสือทวงถามกระทรวงการคลังถึงมาตรการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 25,000 ล้านบาทที่ร้องขอไปก่อนหน้านี้<ref>[https://www.thairath.co.th/news/business/1822988 ออกโรงทวงเงินกู้ 2.5 หมื่นล้าน วอนรัฐอย่าลืม “ธุรกิจการบิน”]</ref> ด้านสายการบินแห่งชาติของไทย [[การบินไทย]] ได้รับผลกระทบต่อผลประกอบการอย่างหนัก แม้ว่ากระทรวงการคลังจะออกเงินกู้วงเงิน 50,000 ล้านบาทเมื่อวันที่ 29 เมษายน แต่จำนวนดังกล่าวน่าจะทำให้บริษัทคงสภาพคล่องไปได้ถึงสิ้นปี 2563 เท่านั้น<ref>[https://www.bbc.com/thai/international-52480759 โควิด-19 : วิกฤตโรคระบาดทำสายการบินทั่วโลก ลดคน-ลดเงินเดือน-ขอรัฐช่วย]</ref> สุดท้ายการบินไทยพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจและต้องเข้ารับการฟื้นฟูกิจการ
 
การสำรวจขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติในเดือนมิถุนายน 2563 พบว่า อุตสาหกรรมกว่าร้อยละ 90 คาดว่าจะเสียรายได้กว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีกลาย<ref name="unido">{{cite book
|date=June 2020
|title=Impact Assessment of COVID-19 on Thai Industrial Sector
|url= https://www.unido.org/sites/default/files/files/2020-06/Impacts_of_COVID19_on_Thai_industrial_sector_0.pdf
|location=
|publisher= UNIDO Regional Office Hub in Thailand, United Nations Thailand
|isbn=
}}</ref>{{rp|1}} มาตรการของรัฐทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์มีดัชนีสมรรถนะการผลิต (MPI) ในเดือนเมษายน 2563 ลดลงปีต่อปีร้อยละ 82 นับเป็นการผลิตที่ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2530 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักรองลงมา ได้แก่ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์, มอลต์และเครื่องดื่มมอลต์ ระบบเครื่องปรับอากาศและน้ำตาล<ref name="unido"/>{{rp|2}} ส่วนอุตสาหกรรมที่มี MPI เพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2563 ได้แก่ คอนกรีตและซีเมนต์ การแพทย์ แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารสัตว์ โดยเพิ่มขึ้นปีต่อปีตั้งแต่ร้อยละ 10 ถึง 40<ref name="unido"/>{{rp|2}}
 
ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม เกิด[[การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563|การประท้วง]]เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ และมาตรการตอบสนองของรัฐบาลที่ล้มเหลว ในเดือนสิงหาคม มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ของปี 2563 พบว่าเศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 12.2 อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.95 หรือประมาณ 8 แสนคน ด้านมหาวิทยายลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่า หากสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดีขึ้นใน 6 เดือนจะมีการปลดคนงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน<ref>{{cite news |title=ขีดเส้น6เดือนเศรษฐกิจไม่กระเตื้องตกงานอีก2ล้านคน |url=https://www.posttoday.com/economy/news/631073?utm_source=posttoday.com&utm_medium=article_relate_inread&utm_campaign=new%20article |accessdate=23 August 2020 |work=โพสต์ทูเดย์ |language=en}}</ref> ด้านนายกรัฐมนตรีกล่าวโทษการประท้วงว่าทำให้เศรษฐกิจทรุดหนักเข้าไปอีก รายงานของธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะหดตัวลงร้อยละ 8.9 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในบรรดา 9 ประเทศที่จัดอันดับ<ref>{{cite news |title=ธ.โลกประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ ถดถอยมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-54338090 |accessdate=11 October 2020 |work=BBC ไทย |date=29 September 2020 |language=th}}</ref>
 
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่าการระบาดระลอก 3 ในรอบเดือนเมษายน 2564 อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นมูลค่า 60,000–100,000 ล้านบาท โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ ซึ่งคาดว่าคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 1–2 แสนล้านบาท<ref>{{cite news |title=ศูนย์พยากรณ์ศก.ชี้โควิดรอบ3 เสียหาย 6หมื่น-1 แสนล้าน ส.แอลกอฮอล์ คาดกระทบสงกรานต์ 1-2 แสนล้าน |url=https://www.matichon.co.th/economy/news_2667335 |accessdate=10 April 2021 |work=มติชนออนไลน์ |date=10 April 2021 |language=th}}</ref>
 
ในเดือนพฤษภาคม 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยว่าดัชนีอุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นเดียวกับการผลิตเบียร์<ref>{{cite news |title=โควิดเม.ย.ไม่ล็อกดาวน์ คนไทยซดเบียร์แก้เซ็ง ผลิตพุ่ง 515% |url=https://www.matichon.co.th/economy/news_2750693 |accessdate=31 May 2021 |work=มติชนออนไลน์ |date=31 May 2021 |language=th}}</ref>
 
ข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2564 พบว่าใน 1 ปีที่ผ่านมา หนี้สินครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น 5 แสนล้านบาท เป็น 14 ล้านล้านบาท และต้นปี 2564 มีคนตกงาน เสี่ยงตกงานและเสมือนว่างงานกว่า 4.7 ล้านคน<ref name="wpCOVID3" />
 
=== สังคม ===
{{บทความหลัก|การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564}}
เกิดกรณีการแจ้งผลการตรวจที่ผิดพลาดทำให้ได้รับผลกระทบ มีรายหนึ่งที่ถูกสังคมตั้งข้อรังเกียจ<ref>{{cite news |title=นศ.สาว ช็อกผลตรวจโควิดผิดเป็นบวก ทำวุ่นวายหนัก วอนหาผู้รับผิดชอบ |url=https://www.thairath.co.th/news/local/north/2069160 |accessdate=15 April 2021 |work=ไทยรัฐ |date=14 April 2021 |language=th}}</ref><ref>{{cite news |title=หนุ่มเชียงราย ผลตรวจโควิดผิดทำชีวิตพัง ผู้คนรังเกียจ ซื้อของก็ไม่ขายให้ |url=https://www.thairath.co.th/news/local/north/2069544 |accessdate=15 April 2021 |work=ไทยรัฐ |date=15 April 2021 |language=th}}</ref>
 
ในเดือนพฤษภาคม 2564 สวนดุสิตโพลเปิดเผยผลการสำรวจสภาพจิตใจของคนไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 1,713 คน เกี่ยวกับความรู้สึกต่อสถานการณ์ พบว่า ผู้ตอบร้อยละ 75.35 รู้สึกเครียดและวิตกกังวล ร้อยละ 72.95 รู้สึกสิ้นหวัง สำหรับสาเหตุ ร้อยละ 88.33 ระบุว่าเกิดจากสถานการณ์การระบาดที่ยังรุนแรง และร้อยละ 60.52 เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ<ref>{{cite news |title=โควิดทำคนไทยเครียดหนัก! ผลโพลชี้จิตใจย่ำแย่-ท้อถอยเกินจะรับมือได้ |url=https://www.posttoday.com/social/general/654196 |accessdate=31 May 2021 |work=โพสต์ทูเดย์ |language=th}}</ref>
 
ผลของคำสั่งล็อกดาวน์บางส่วนโดยไม่มีการเยียวยาทำให้มีการรวมตัวกันขัดขืนมาตรการของรัฐ เช่น แคมเปญออนไลน์ #กูจะเปิดมึงจะทำไม ของผู้ประกอบการร้านอาหาร<ref name="กูจะเปิด" /> ในรอบเดือนมิถุนายน 2564 พบมีผู้ก่อเหตุชิงทรัพย์ร้านทองแล้วกว่า 10 ครั้ง<ref>{{cite news |title=พิษโควิดตกงาน ชิงทองเกลื่อนเมือง 1 เดือน เกิดเหตุมากกว่า 10 ครั้ง |url=https://news.ch7.com/detail/497140 |accessdate=3 July 2021 |work=ch7.com |language=th}}</ref>
 
==การแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ==
* [[ไฟล์:Flag of South Korea.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[เกาหลีใต้]] – เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2563 หญิงชาวเกาหลีใต้กลับจากการเดินท่องเที่ยวประเทศไทย พบว่าผลเป็นบวก และยืนยันการติดเชื้อเป็นกรณีที่ 16 ของประเทศ<ref>{{cite web |title=Coronavirus: South Korean woman travelling home from Thailand tests positive for virus |url=https://www.straitstimes.com/asia/east-asia/coronavirus-south-korean-woman-travelling-home-from-thailand-tests-positive-for-virus |website=The Straits Times |accessdate=4 February 2020 |date=4 February 2020 |archive-url=https://web.archive.org/web/20200204092646/https://www.straitstimes.com/asia/east-asia/coronavirus-south-korean-woman-travelling-home-from-thailand-tests-positive-for-virus |archive-date=4 February 2020}}</ref>
* [[ไฟล์:Flag of Germany.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[เยอรมนี]] – เมื่อ 4 มีนาคม 2563 เมือง[[โคโลญ]]ยืนยันผู้ป่วย 5 กรณี ซึ่งรวมถึงหญิงที่กลับจากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย และคาดว่าติดเชื้อที่นั่น<ref>{{cite web|url=https://www.ksta.de/koeln/coronavirus-mitglied-des-wdr-rundfunkrats-positiv-getestet---29-faelle-in-koeln-36349934|title=Coronavirus Mitglied des WDR-Rundfunkrats positiv getestet – 29 Fälle in Köln|website=Kölner Stadt-Anzeiger|date=4 March 2020}}</ref>
* [[ไฟล์:Flag of Australia (converted).svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ออสเตรเลีย]] – เมื่อ 5 มีนาคม 2563 [[รัฐควีนส์แลนด์]]ยืนยันว่า ชายวัย 81 ปี ที่เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศไทยได้ทำการทดสอบโรค พบว่าผลเป็นบวก และเข้ารับการรักษาที่[[โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซันไชน์โคสต์]]<ref>{{Cite web|url=https://www.health.qld.gov.au/news-events/health-alerts/novel-coronavirus|title=Novel Coronavirus alert|date=5 March 2020|website=Queensland Government}}</ref>
* [[ไฟล์:Flag of India.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[อินเดีย]] – เมื่อ 6 มีนาคม 2563 อินเดียรายงานยืนยันกรณีที่ 31 ผู้ป่วยเป็นชาวอินเดียที่มีประวัติการเดินทางจากประเทศไทยและมาเลเซีย<ref>{{cite news |title=Coronavirus: Delhi resident tests positive for coronavirus, total 31 people infected in India |url=https://www.health.qld.gov.au/news-events/health-alerts/novel-coronavirus|accessdate=6 March 2020 |work=Hindustan Times}}</ref>
* [[ไฟล์:Flag of Laos.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[ลาว]] – เมื่อ 22 เมษายน 2564 มีคำสั่งล็อกดาวน์[[นครหลวงเวียงจันทน์]] หลังคณะเฉพาะกิจควบคุมโควิด-19 แถลงข่าวการตรวจพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยพบในเวียงจันทน์ 26 ราย ในคลัสเตอร์เดียวกัน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากผู้ป่วยลำดับที่ 59 ที่ติดเชื้อจากเพื่อนคนไทยที่ลักลอบนั่งเรือข้ามแม่น้ำโขงไปเที่ยวในเวียงจันทน์ เมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์<ref>{{Cite news |title=ล็อกดาวน์เวียงจันทน์ 14 วัน! นายกฯ ลาวสั่งด่วน ผลพวงจากคลัสเตอร์โควิดข้ามแม่น้ำโขง |url=https://mgronline.com/indochina/detail/9640000038096 |website=ผู้จัดการออนไลน์ |date=22 April 2021}}</ref>
* [[ไฟล์:Flag of Egypt.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[อียิปต์]] – ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีข่าวว่าสหราชอาณาจักรพบผู้ป่วยโควิด-19 (สายพันธุ์ C.36.3 ที่พบครั้งแรกในนักบินผู้ช่วยในประเทศไทย) จำนวนหนึ่งเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรจากประเทศอียิปต์ ซึ่งทางการไทยแถลงว่าผู้ติดเชื้อเดินทางเข้ามาในไทยจากอียิปต์เมื่อ 26 มกราคม โดยตรวจพบเชื้อดังกล่าวและพักอยู่ในสถานที่กักตัวของรัฐ เมื่อหายป่วยตรวจไม่พบเชื้อแล้วได้เดินทางกลับอียิปต์ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ จึงไม่ควรเรียกว่าเป็นสายพันธุ์ไทย<ref>{{cite news |title='Thai variant' detected in UK |url=https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2123211/thai-variant-detected-in-uk |accessdate=28 May 2021 |work=Bangkok Post}}</ref><ref>{{Cite news |title=Public Health Ministry Denied Existence of COVID’s Thai Variant |url=https://tna.mcot.net/english-news-705777 |work=สำนักข่าวไทย English News|date=28 May 2021}}</ref>
* [[ไฟล์:Flag of Cambodia.svg|23x15px|border]]&nbsp;[[กัมพูชา]] – วันที่ 19 มิถุนายน 2564 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา แถลงว่าตรวจพบผู้ติดเชื้อ[[ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา|โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา]] (ฺ[[B.1.617.2]]) ในประเทศเป็นครั้งแรกโดยเป็นแรงงานชาวกัมพูชาที่เดินทางกลับจากประเทศไทยระหว่างวันที่ 5–8 มิถุนายน ผ่านทางด่านพรมแดนโดยมาจากกรุงเทพฯ 5 คน และจากจังหวัดชลบุรี 2 คน<ref>{{Cite news |title=Delta variant detected in returning migrant workers |url=https://www.phnompenhpost.com/national/delta-variant-detected-returning-migrant-workers |work=The Phnom Penh Post |date=19 June 2021}}</ref>
 
==เชิงอรรถ==
{{รายการหมายเหตุ}}
 
==อ้างอิง==
<div style="{{column-width|25em}}">
<references />
</div>
 
==แหล่งข้อมูลอื่น==
{{วิกิซอร์ซ|สถานีย่อย:โรคไวรัสโคโรนา 2019|ประมวลงานในหมวดโรคไวรัสโคโรนา 2019}}
{{วิกิซอร์ซ|สถานีย่อย:โรคไวรัสโคโรนา 2019|ประมวลงานในหมวดโรคไวรัสโคโรนา 2019}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|COVID-19 pandemic in Thailand|การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย}}
* [http://Coronamapper.com Coronamapper] – แผนที่การระบาดของไวรัสทั่วโลก
* [https://sentosaxchange.com/coronavirus/mph-thailand-dashboard/ กระทรวงสาธารณสุข] – โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
* [https://covidtracker.5lab.co/ แผนที่ข่าว COVID-19 🔍] – แผนที่แสดงการระบาดของไวรัสในประเทศไทย
* [https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports รายงานประจำวันเกี่ยวกับการติดเชื้อ COVID–19] โดย[[องค์การอนามัยโลก]]
<!--
{{การระบาดทั่วของโควิด-19}}
-->
[[หมวดหมู่:การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย| ]]
[[หมวดหมู่:การระบาดทั่วของโควิด-19 แบ่งตามประเทศ|ไทย]]
[[หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563]]
[[หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2564]]