ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ่อเหล็กน้ำพี้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ความเป็นมาของชื่อ "น้ำพี้"
บรรทัด 3:
'''บ่อเหล็กน้ำพี้''' เป็นแหล่งสินแร่[[เหล็ก]]ตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ที่ บ้านน้ำพี้ หมู่ 1 ตำบลน้ำพี้ [[อำเภอทองแสนขัน]] [[จังหวัดอุตรดิตถ์]] ห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ประมาณ 56 [[กิโลเมตร]] โดยเป็นบ่อเหล็กกล้า<ref name="กรมทรัพยากรธรณี">[http://www.dmr.go.th/board/data/0029.html '''กรมทรัพยากรธรณี กระดานสนทนาความรู้ด้านธรณีวิทยา''']</ref>มีอยู่ด้วยกันหลายบ่อ และปรากฏเตาถลุงเหล็กโบราณนับพัน ๆ แห่งในพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร แต่บ่อที่สำคัญและสงวนใช้สำหรับ[[พระมหากษัตริย์]]มีอยู่ 2 บ่อ คือ '''บ่อพระแสง''' และ '''บ่อพระขรรค์''' มีการนำแร่เหล็กจากบ่อเหล็กน้ำพี้ไปถลุงทำอาวุธเพื่อใช้ในการศึกสงครามมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาตร์มากมายถึงความสำคัญของเหล็กน้ำพี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าเหล็กจากแหล่งแร่เหล็กน้ำพี้มีความแข็งแกร่งและมีความศักดิ์สิทธิ์ มีอาถรรพ์ในตัว โดยจัดให้เหล็กน้ำพี้อยู่ในโลหะธาตุตระกูลเดียวกับ'''เหล็กไหล'''<ref>[http://human.uru.ac.th/Major/LIB1/Present_Report/pou11/p1.htm ประภาพร พูลสุข. รายงานฐานข้อมูลท้องถิ่นอุตสาหกรรมเหล็กน้ำพี้และแหล่งท่องเที่ยวบ่อเหล็กน้ำพี้ โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, ๒๕๕๐]</ref>
 
== ประวัติ ==
=== ความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ===
[[ภาพ:ยุทธหัตถี.jpg|thumb|150px|left|ภาพแกะสลักนูนต่ำจำลองเหตุการณ์ยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวร ใช้พระแสงของ้าวฟันมังกะยอชะวา สิ้นพระชนม์]]
 
เส้น 16 ⟶ 17:
 
ในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานว่า ในวโรกาสที่[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ '''หลวงจรุงราษฎร์เจริญ (สุข) ''' นาย[[อำเภอตรอน]] ในสมัยนั้น ได้นำเหล็กน้ำพี้มอบให้ '''พระยาวิเศษฤๅไชย''' ข้าหลวงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ([[พ.ศ. 2469]]-[[พ.ศ. 2471]]) นำพระแสงดาบขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็น [[พระแสงศาสตราวุธ]] มาจนทุกวันนี้ <ref>[http://xchange.teenee.com/index.php?showtopic=23342 ตำนานเหล็กน้ำพี้]</ref>
 
=== ความเป็นมาของชื่อ "น้ำพี้" ===
 
คำว่า '''น้ำพี้''' มีที่มาจากสาเหตุใดไม่ปรากฎชัด แต่เชื่อว่า ชื่อเดิมของบ้านน้ำพี้ คือ '''น้ำลี้''' เพราะ[[หมู่บ้าน]]แห่งนี้ในสมัยก่อนมีความแห้งแล้ง ''น้ำลี้(หนีหาย)'' จึงเป็นชื่อที่ใช้เรียกหมู่บ้านนี้สืบมา และต่อมาจึงได้เพี้ยนเป็น "น้ำพี้" จนปัจจุบัน
 
อีกเหตุผลหนึ่ง มีคำบอกเล่าที่สืบต่อกันมาจนเป็นตำนานของชาวหมู่บ้านน้ำพี้ ว่าใน[[สมัยสุโขทัย]] [[พระร่วง]]เจ้าได้เสด็จมายังหมู่บ้านแห่งนี้เพื่อขอด้ายไปทำสายป่าน[[ว่าว]] (แต่บางคนก็เล่าว่า พระร่วงขอด้ายเอาไปมัดไก่ เพื่อต่อไก่ชนที่[[อำเภอทองแสนขัน|หมู่บ้านแสนขัน]] ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ๆ กัน) โดยขณะที่พระร่วงกำลังรอด้ายนั้น ชาวบ้านก็รีบจัดหาให้ แต่ช้าไม่ทันใจ พระร่วงจึงเกิดความไม่พอใจ และคิดว่าหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านแล้งน้ำใจ จึงได้สาปให้หมู่บ้านนี้มีน้ำแห้งแล้ง หรือเรียกว่า '''"น้ำลี้"''' ซึ่งแปลว่า [[น้ำ]]หนีหายไปหมด ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนเป็น '''"น้ำพี้"''' มาจนปัจจุบัน<ref>[http://www.geocities.com/tim2140875/lgnp.htm '''ตำนานการเรียกชื่อหมู่บ้านน้ำพี้ ''' โรงเรียนบ้านน้ำพี้มิตรภาพที่ 214]</ref>
 
== เหล็กน้ำพี้ ==