ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ทรงประสูติ" → "ประสูติ"
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 50:
จอมพลเรือ '''หลุยส์ ฟรานซิส อัลเบิร์ต วิคเตอร์ นิโคลัส เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า''' ({{lang-en|Louis Francis Albert Victor Nicholas Mountbatten, Earl Mountbatten of Burma}}) หรือนามเดิมคือ '''เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทินแบร์ค;''' 25 มิถุนายน ค.ศ. 1900 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 เป็นสมาชิก[[ราชวงศ์สหราชอาณาจักร|ราชวงศ์บริติช]] เจ้าหน้าที่แห่ง[[ราชนาวี]] และรัฐบุรุษ พระมาตุลาของ[[เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ]] และพระอนุวงศ์ของ[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร]] ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ทรงเป็นอุปราชแห่งอินเดียคนสุดท้ายแห่งบริติชอินเดียและข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่ง[[ประเทศอินเดียในเครือจักรภพ]]
 
พระองค์ระสูติประสูติที่เมืองวินด์เซอร์ในครอบครัวตระกูลบัทเทินแบร์คที่มีชื่อเสียง เมานต์แบ็ตเทนทรงเข้าเรียนที่ Royal Naval College, Osborne ก่อนที่จะเข้าสู่[[ราชนาวี|กองทัพเรือหลวง]]ในปี ค.ศ. 1916 พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ในช่วงท้ายของ[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] และหลังสงคราม พระองค์ทรงได้เข้าเรียนที่ Christ's College, เคมบริดจ์ ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม เมานต์แบ็ตเทนยังคงดำรงอาชีพทหารเรือ ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางเรือ ภายหลังการลุกลามของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เมานต์แบ็ตเทนทรงได้บัญชาการในเรือพิฆาต [[เรือหลวงเคลี่]] และกองเรือรบพิฆาตที่ 5 และพระองค์ทรงมีบทบาทที่สำคัญในนอร์เวย์ ช่องแคบอังกฤษ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 พระองค์ทรงได้บัญชาการในเรือบรรทุกเครื่องบิน [[เรือหลวงอิลัสเทรียส]] พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการร่วมและเป็นสมาชิกของหัวหน้าคณะกรรมการเสนาธิการ(Chiefs of Staff Committee)ในต้นปี ค.ศ. 1942 และจัดให้มีการตีโฉบฉวยที่[[การตีโฉบฉวยแซ็ง-นาแซร์|แซ็ง-นาแซร์]]และ[[การตีโฉบฉวยเดียป|เดียป]] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 เมานต์แบ็ตเทนทรงกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดูแลการเข้ายึดครองพม่าและสิงคโปร์อีกครั้งจากญี่ปุ่นในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 จากการปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ในช่วงสงคราม เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์เป็นไวเคานต์ใน ค.ศ. 1946 และเอิร์ลในปีถัดมา
 
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดียและดูแล[[การแบ่งแยกอินเดีย|การแบ่งแยกบริติชอินเดีย]]ออกมาเป็น[[อินเดีย]]และ[[ปากีสถาน]] พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่งอินเดียจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 ในปี ค.ศ. 1952 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนของบริติช และผู้บัญชาการเนโทแห่งกองกำลังพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 ถึง 1959 พระองค์ทรงเป็น[[สมุหราชนาวี]] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พระบิดาของพระองค์ [[เจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค]] เคยดำรงตำแหน่งเมื่อสี่สิบปีก่อน หลังจากนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแห่งเสนาธิการป้องกันจนถึง ค.ศ. 1965 ทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่มีความสามารถในกองทัพบริติชที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลานั้น เมานต์แบ็ตเทนยังทรงได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่งคณะกรรมมาธิการทหารของเนโทเป็นเวลาหนึ่งปี