ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดนตรีสมัยบารอก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
God of japan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 7:
ในสมัยบาโรก เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีหรือเสียงร้องเล่นประชันกัน เช่น เสียงร้องประชันกับเครื่องดนตรี หรือการเดี่ยวประชันเครื่องดนตรีบ้าง ซึ่งเรียกกันว่า Stile Concertante มีการใช้ ''บัสโซกอนตีนูโว'' (Basso Continuo) คือการที่เสียงเบส (เสียงต่ำ) เคลื่อนที่ตลอดเวลา โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลขบอกถึงการเคลื่อนที่ไปของเบส รวมถึงเสียงแนวอื่น ๆ ด้วย ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นบาสโซคอนตินิวโออาจเป็นคีย์บอร์ด เช่น [[ออร์แกน]] [[ฮาร์ปซิคอร์ด]] หรือเป็นกลุ่มของเครื่องดนตรี เช่น [[วิโอลา]] [[เชลโล]] [[บาสซูน]]
 
มีการใช้บันไดเสียงเมเจอร์ และบันไดเสียงไมเนอร์แทนโหมด (Mode) รูปพรรณของเพลงเป็นแบบสอดประสานทำนอง ที่เรียกว่า Contrapuntal เริ่มมีการใช้การประสานสียงเสียงแบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือ การเน้นความสำคัญของทำนองหลักโดยมีเสียงอื่นเล่นเสียงประสานคลอประกอบ มีการด้นสด (Improvisation) ของนักดนตรี โดยนักดนตรีจะแต่งเติมบทเพลง เริ่มมีการกำหนดความเร็วจังหวะของเพลง และความหนักเบาของเพลงลงในผลงานการประพันธ์ เช่น Adagio Andante และAllegro
 
รูปแบบของเพลงบางประเภทมีการพัฒนาจนมีแบบแผนแน่นอน ได้แก่ [[ฟิวก์]] ลักษณะของเพลงร้องของดนตรีสมัยบาโรก ได้แก่ [[โอเปร่า]] [[คันตาตา]] และ[[ออราทอริโอ]] ส่วนลักษณะรูปแบบ (Form) ของเพลงบรรเลง ได้แก่ [[โซนาตา]] [[ดนตรีประชัน|คอนแชร์โต]] และ[[สวีต (ดนตรี)|เพลงชุด]] (Suite) ซึ่งเพลงชุดเป็นการนำเพลงจังหวะเต้นรำที่มีหลายลักษณะมาบรรเลงต่อกันเป็นท่อน ๆ เพลงจังหวะเต้นรำแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเพลงชุด ได้แก่ Allemande, Courante, Sarabande, Gavotte, Bourree, Minuet และGigue เป็นต้น