ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เส้นทางสายเกลือเก่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ใช้ปีคศ|width=290px}}
[[ไฟล์:Alte Salzstrasse Breitenfelde.jpg|thumb|290px|ผิวถนนเส้นทางสายเกลือเก่า]]
'''เส้นทางสายเกลือเก่า''' ({{lang-en|Old Salt Route}}, {{lang-de|Alte Salzstraße}}) เป็น[[เส้นทางการค้า]]ของ[[ยุคกลาง]]ทางตอนเหนือของ[[เยอรมนี]]ที่ใช้ในการขนส่ง[[เกลือ]]และสินค้าอื่นๆ
 
เกลือเป็นสินค้าที่มีค่าสูงในยุคกลางซึ่งทำให้บางครั้งก็เรียกกันว่า “ทองขาว” เกลือที่ขนส่งบนเส้นทางสายนี้ส่วนใหญ่มาจากเหมืองใกล้[[ลือเนอบวร์ค]] (Lüneburg) ซึ่งเมืองทางเหนือตอนกลางของเยอรมนี จากนั้นก็ขนส่งไปยัง[[ลือเบค]] ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของเยอรมนีบนฝั่งทะเลบอลติก<ref name="Sell">Sell, Nora. Die Alte Salzstraße – von Lüneburg nach Lübeck. [http://www.lueneburger-salzstrasse.de/]</ref>
 
==ประวัติ==
นักประวัติศาสตร์ยอมรับกันว่าเส้นทางสายเกลือเก่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าที่ยาวกว่า ที่ใช้เป็นเส้นทางสำคัญในการเชื่อมระหว่างทางตอนเหนือและใต้ของเยอรมนี จากเอกสารที่เก่าที่สุดสนับสนุนหลักฐานที่ว่า[[ลือเนอบวร์ค]]มีบทบาทในการขนส่งเกลือมาตั้งแต่ ค.ศ. 956 ในเอกสารฉบับนั้น[[สมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]พระราชทานสิทธิให้[[สำนักสงฆ์เซนต์มิเคลลิส]] (St. Michaelis Monastery) ให้เก็บค่าธรรมเนียมจากการทำเกลือได้ แม้จะในเวลานั้นความมั่งคั่งของเมืองส่วนใหญ่ก็มาจากรายได้จากเกลือที่พบในบริเวณนั้น<ref name="Michaelis">St. Michaelis Lüneburg. “St. Michaelis Lüneburg -
die Bachkirche im Norden”. [http://www.sankt-michaelis.de/allgemein/Allgemeines.html] 2003.</ref> เส้นทางสายเกลือเก่ารุ่งเรืองที่สุดระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 16<ref name="Sell"/>
 
เส้นทางการค้าสายนี้เริ่มตั้งแต่[[ลือเนอบวร์ค]]ไปสิ้นสุดที่[[ลือเบค]] จากเมืองท่าลือเบคเกลือส่วนใหญ่ก็ถูกส่งต่อไปยังเมืองต่างๆ บนฝั่ง[[ทะเลบอลติก]]ที่รวมทั้ง[[ฟาลสเตอร์โบ]] (Falsterbo) ที่เป็นที่ตั้งของ[[Scania Market|ตลาดสแกนเนีย]] (Scania Market) หรือตลาดเฮอร์ริง ที่ใช้เกลือในการทำผลิตผลต่างๆ จากปลา[[เฮอร์ริง]] ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของยุคกลาง และในการถนอมอาหารอื่นๆ การค้าขายเกลือเป็นปัจจัยอันสำคัญของความมีอำนาจของลือเบคและ[[สันนิบาตฮันเซียติก]]<ref name="Pulsiano">Pulsiano, Phillip and Wolf, Kirsten. Medieval Scandinavia. [http://books.google.com/books?id=d-XiZO8V4qUC&pg=PA651&dq=salt+scania+market+herring&lr=] Taylor & Francis. 1993. ISBN 0824047877, p. 651.</ref>
 
==การขนส่งเกลือ==
[[ไฟล์:AlteSalzstrasse.png|thumb|left |แผนที่เส้นทางสายเกลือเก่า]]
การขนส่งเกลือทำโดยการใช้เกวียนที่ลากด้วยม้าจาก[[ลือเนอบวร์ค]]ข้าม[[แม่น้ำเอลเบ]]ที่[[อาร์ตเล็นบวร์ก]] (Artlenburg) จากที่นั่นก็ผ่านทาง[[เมิลเลน]] (Mölln) ไปยังลือเบค ผิวถนนส่วนใหญ่เป็นเพียงทางเดินหรือทางเกวียนที่ไม่มีผิวที่ได้รับการปราบหรือปูด้วยวัสดุที่แข็ง เป็นเพียงถนนที่เป็นทรายและเป็นโคลนเมื่อฝนตกหนัก ทางผ่านทุ่ง ป่า และหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งทำให้การขนส่งเป็นไปอย่างลำบากยากเข็ญ นอกจากนั้นก็ยังเป็นถนนที่อันตรายจากโจรผู้ร้าย เพราะสิ่งที่ขนส่งเป็นของที่มีค่า การขนส่งแต่ละครั้งทำได้เพียงจำนวนจำกัดซึ่งทำให้กลายเป็นสินค้าที่มีค่า<ref name="Sell"/><ref name="DHL">DHL. “The Old Salt Road – Logistics networks today and yesterday”. [http://www.dp-dhl.de/dp-dhl?skin=hi&check=no&lang=de_EN&xmlFile=2008569]</ref>
 
บรรทัด 18:
 
==การท่องเที่ยว==
ในสมัยปัจจุบันการท่องเที่ยวตามเส้นทางสายเกลือเก่าเป็นการท่องเที่ยวที่ได้รับทั้งประสบการณ์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่นักท่องเที่ยวอาจจะทำได้โดยการเดินเท้า หรือ การขี่จักรยาน และบางส่วนอาจจะทำโดยเรือ ระหว่างทางก็มีเมืองที่น่าสนใจและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งลือเนอบวร์ค เมิลเลน ลือเบค<ref name="Sell"/>
 
== อ้างอิง ==