ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อึกก์ดราซิลล์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎อ้างอิง: บ่าวบูม
Bebiezaza (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการก่อกวน 1 ครั้งของ 2001:fb1:189:1b37:956e:1e9:bb4b:3b47 (พูดคุย) ไปยังรุ่นโดย RidJasper.ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
 
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Yggdrasil.jpg|300px|thumb|จักรวาลนอร์สอันมีมหาพฤกษาอึกก์ดราซิลล์เป็นแกนกลาง<br>ด้านบนคือ[[อาสการ์เดอร์]]และแดนมนุษย์<br>ด้านล่างสุดคือตาน้ำร้อนคเวร์เก็ลมีร์]]
 
'''อึกก์ดราซิลล์''' ({{lang-non|Yggdrasill}}) เป็นมหาพฤกษาในตำนานอันเป็นแกนกลางของจักรวาล[[ประมวลเรื่องปรัมปรานอร์ส|นอร์ส]]และเชื่อมต่อโลกทั้งเก้า อึกก์ดราซิลล์ได้รับการกล่าวถึงในประมวลบทกวีชุด ''Poetic Edda'' ซึ่งเรียบเรียงขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 จากบรรดาเอกสารก่อนหน้าระบุว่า อึกก์ดราซิลล์เป็นต้นไม้สีเทาซีดขนาดมหึมาซึ่งเขียวชอุ่มอยู่ตลอด ตั้งอยู่ที่แกนกลางของจักรวาลและมีความศักดิ์สิทธิ์มาก กิ่งก้านของอึกก์ดราซิลล์แผ่ขยายจนไปถึงสวรรค์ อึกก์ดราซิลล์ถูกค้ำจุนไว้โดยรากแก้วสามแขนงซึ่งแผ่ไปยังสามสถานที่ได้แก่ บ่อน้ำ[[อูร์ดาร์บรุนเนอร์]] (Urðarbrunnr), ตาน้ำร้อน[[คเวร์เก็ลมีร์]] (Hvergelmir) และบ่อน้ำ[[มีมิสบรุนเนอร์]] (Mímisbrunnr){{sfn|Faulkes|1995|p=17}} เบื้องล่างสุดของอึกก์ดราซิลล์มีเหล่ามังกร[[นีดฮ็อกเกอร์]]อาศัยอยู่ ด้านบนกิ่งก้านมีเหล่าอินทรีไร้นามอาศัยอยู่
'''อึกก์ดราซิลล์''' ({{lang-non|Yggdrasill}}) เป็นชื่อแคลนในrov
 
ตรงข้างใต้บ่ออูร์ดาร์บรุนเนอร์เป็นสถานที่จัดประชุมสภาเทพ ทุกวันเหล่าทวยเทพเดินทางจาก[[อาสการ์เดอร์]]มายังที่นี่ผ่านสะพาน[[บิฟร็อสต์]] ตาน้ำร้อนคเวร์เก็ลมีร์ในดินแดน[[นิเวิลเฮย์เมอร์]]เป็นที่อยู่ของมังกรนีดฮ็อกเกอร์และเหล่านาคา น้ำจากคเวร์เก็ลมีร์จะไหลเป็นแม่น้ำไปจนถึงประตูนรก บ่อน้ำมิสบรูนร์ตั้งใต้รากซึ่งเชื่อมไป[[ยอตุนเฮย์เมอร์]] น้ำบ่อนี้เต็มไปด้วยปัญญาและความรอบรู้ถึงขนาดที่โอดินน์ยอมสละดวงขาข้างหนึ่งแลกกับการได้ดื่มน้ำ
 
อึกก์ดราซิลล์เป็นภาษานอร์สโบราณที่ถูกตีความว่าหมายถึง "อาชาแห่งโอดินน์" มาจากการตีความคำว่า {{lang|non|drasill}} ที่แปลว่าม้า กับคำว่า {{lang|non|Ygg(r)}} ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายนามแฝงของเทพ[[โอดินน์]] ในบทกวี '' Hávamál'' ระบุว่าโอดินน์ต้องการทราบความลับสูงสุดของจักรวาล (การกำเนิดจักรวาล, ชีวิตหลังความตาย และอนาคตของจักรวาล) จึงทรงทรมานองค์เองโดยผูกเท้าข้างหนึ่งกับต้นอึกก์ดราซิลล์ แทงหอกที่สีข้าง ทุกข์ทรมานอยู่ถึงเก้าวันจนสิ้นพระชนม์ แล้วก็ทรงฟื้นคืนขึ้นมาใหม่โดยไม่เจ็บปวดและเต็มเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณ ต้นอึกก์ดราซิลล์จึงได้ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คานประหารโอดินน์{{sfn|Simek|2007|p=375}}
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}