ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองพลน้ำเงิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox military unit | unit_name = กองพลน้ำเงิน | image = 150px | image_size = 150px | caption = ตราสัญลักษณ์ประจำของกองพลน้ำเงิน, ประกอบด้วยธงชาติสเปน | dates = {{Start date|1941|6|24|df=y}} {{en dash}} {{end date|1943|10|10|df=y}} | country = {{flagdeco|Francoist Spain|1938}} สเปนภาย...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:54, 13 กรกฎาคม 2564

กองพลน้ำเงิน(สเปน: División Azul, เยอรมัน: Blaue Division) เป็นหน่วยทหารอาสาสมัครจากรัฐสเปนภายใต้การนำของพรังโกภายในกองทัพเยอรมัน(แวร์มัคท์) บนแนวรบด้านตะวันออกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการคือ กองพลทหารอาสาสมัครเสปน (División Española de Voluntarios) โดยกองทัพสเปนและกองพลทหารราบที่ 250 (250 Infanterie-Division) โดยเยอรมัน

กองพลน้ำเงิน
ตราสัญลักษณ์ประจำของกองพลน้ำเงิน, ประกอบด้วยธงชาติสเปน
ประจำการ24 มิถุนายน ค.ศ. 1941 (1941-06-24)10 ตุลาคม ค.ศ. 1943 (1943-10-10)
ประเทศ สเปนภายใต้การนำของฟรังโก
ขึ้นต่อ ไรช์เยอรมัน
เหล่า Wehrmacht
รูปแบบทหารราบ
กำลังรบ18,000 men (1941)
45,000 men (total, 1941–44)[1]
สมญากองพลน้ำเงิน
ปฏิบัติการสำคัญ
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญAgustín Muñoz Grandes
Emilio Esteban Infantes

สเปนถูกปกครองโดยระบอบเผด็จการภายใต้การนำของฟรันซิสโก ฟรังโก ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในสงครามกลางเมืองสเปน(ค.ศ. 1936 - ค.ศ. 1939) โดยได้รับการสนับสนุนจากนาซีเยอรมนี ฟรังโกเลือกที่จะวางตัวเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่สองแต่มีความเห็นใจแก่ฝ่ายอักษะ ภายหลังจากการประชุมหารือโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ Ramón Serrano Suñer และเจ้าหน้าที่นายทหารระดับสูงในกองทัพสเปน ฟรังโกได้ตกลงยินยอมให้ชาวสเปนทำการอาสาสมัครเข้าร่วมในกองทัพเยอรมันได้และยินยอมที่จะให้การสนับสนุนโดยปริยาย ในขณะที่กองพลทหารราบถูกควบคุมดูแลโดยพวก Falangist และเสนาธิการกองทัพบกและถูกส่งไปฝึกในเยอรมนี หน่วยทหารได้ต่อสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกและเข้าร่วมอย่างเด่นชัดในการล้อมเลนินกราด แต่กลับถูกถอนกำลังออกจากแนวรบ หลังจากที่สเปนถูกกดดันในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 และถูกส่งกลับไปยังประเทศสเปนหลังจากนั้นได้ไม่นาน มีจำนวนหลายพันคนที่ไม่ยอมกลับประเทศก็ได้ถูกรวมเข้าไปในกองพลทหารราบที่ 121 กองพันน้ำเงินที่มีอายุสั้น และในท้ายที่สุดก็ถูกรวมเข้ากับวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส

อ้างอิง

  1. Moreno Juliá 2018, p. 193.