ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{Infobox ancient site | name = สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ | native_name = | native_name_lang = | alternate_name = | image = | image_size = 250px | alt = | caption = | map = {{Infobox mapframe|frame=yes|frame-align=left|frame-width=250|coord={{Coord|14|29|45|N|100|00|57.4|E|display=inline,title}}|frame-height=200|type=point|marker=|zoom=15|text=สระน้ำศ...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 91:
| 67 เมตร
|}
<!--
== ประวัติ ==
=== ตำนาน ===
=== การใช้งาน ===
น้ำภายในสระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ค้นพบหลักฐานว่าถูกนำไปใช้ในพระราชพิธีของราชสำนักตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบันทึกการใช้น้ำในสมัยรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2388 ช่วงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้มีใบบอกเมืองสุพรรณบุรี จ.ศ. 1207 โดยเป็นการแจ้งให้นำน้ำจากสระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่เพื่อไปใช้ใน[[พระราชพิธีสิบสองเดือน|พระราชพิธีตรุษ]] ความว่า {{คำพูด|"...ด้วย ณ วันเดือนแรมห้าปีมะเส็ง สัพศก กำหนดพระราชพิธีก[ต]รุษ ขุนคงคาออกไปตักน้ำสระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ ข้าพเจ้าได้แต่งให้หมื่นรองแขวง กรมการกำกับขุนคงคาออกไปตักน้ำสระ [...] กับหญ้าคามัดนั่งเข้ามา ณ ศาลากลางข้าพเจ้ากรมการได้เอาผ้าขาวกรองน้ำใส่หม้อใหม่กระละหม้อมีตราประจำครั่ง ข้างสี่หมอกับหญ้าคามัดมอบให้ขนคงศาเจ้าพนักงานคุมหม้อนำเข้ามาสั่ง ณ กรุงเทพฯ"|ใบบอกเมืองสุพรรณบุรี จ.ศ. 1207}}
 
ในปี พ.ศ. 2398 ช่วงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในหนังสือสมุดไทยดำ หมวดจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 จ.ศ. 1217 แจ้งกรมการเมืองสุพรรณบุรี ให้ตักน้ำจากสระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ เพื่อไปทำพระราชพิธีสารท ความว่า {{คำพูด|"...ด้วยมีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าสั่งว่า ๆ กับเทศกาลพระราชพิธีสารท จะต้องพระราชประสงค์นำสระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ สี่สระมาใส่น้ำพระพุทธมนต์ ในพระราชพิธีให้ข้าราชการรับพระราชทานตามอย่างแต่ก่อน..."|หนังสือสมุดไทยดำ หมวดจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 จ.ศ. 1217}}
 
ในปี พ.ศ. 2403 ทรงมีพระราชประสงค์นำน้ำเข้ากรุงเทพมหานครสำหรับใช้ในพระราชพิธีตรุษ และพระราชพิธีสารททุกครั้ง เอกสารบางฉบับแสดงให้เห็นถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญอย่างมากกับน้ำจากสระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2407 มีสารตราถึงเมืองสุพรรณบุรี ให้หาเครื่องบวงสรวง แล้วตักน้ำส่งกรุงเทพมหานคร, ในปี พ.ศ. 2410 มีสารตราจากเจ้าพระยาจักรีถึงพระยาสุพรรณบุรี แจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมโหรและกรมช้าง ไปตักน้ำจากสระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่เพื่อเป็นน้ำพระราชพิธี, ในปี พ.ศ. 2409 ทรงพระมีพระบรมราชโองการสั่งให้พระยาสุพรรณ และกรมการเมืองส่งน้ำจากสระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ไปกรุงเทพมหานคร สำหรับเป็นน้ำสรง น้ำเสวย ความว่า {{คำพูด|"สารตรา เจ้าพระยาจักรีฯ มาถึงพระยาสุพรรณ กรมการเมืองสุพรรณ ด้วยมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า จะต้องพระราชประสงค์น้ำสระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกต มาไว้สำหรับใช้เป็นน้ำสรง น้ำเสวย และในพระรชพิธีตรุษ พระราชพิธีสารท จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนญาณโยค ขุนศรีสาคร กรมโหร ๒ ขุนยอดศักดิ์ กรมช้าง ๑ ๓ คน ออกมาตักน้ำ ๔ สระ|หนังสือสมุดไทยดำ หมวดจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 จ.ศ. 1217 เลขที่ 147}}
-->
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}