ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
หลังสงคราม เจ้าชายฟิลิปทรงได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ให้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ก่อนที่จะมีการประกาศหมั้นหมายอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1947 พระองค์ทรงสละพระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ทั้งหมดของกรีซและเดนมาร์ก กลายเป็น [[คนในบังคับอังกฤษ]] โดยทรงใช้ชื่อและนามสกุลอังกฤษ "เมานต์แบ็ตเทน" ซึ่งแปลงมาจากนามสกุลเยอรมัน "บัทเทินแบร์ค" ของฝ่ายพระมารดา พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ก่อนที่จะอภิเษกสมรส พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานฐานันดรศักดิ์แก่เจ้าชายฟิลิปให้เป็นฮิส รอยัลไฮเนส และสถาปนาพระองค์เป็น[[ดยุกแห่งเอดินบะระ]] [[เอิร์ลแห่งแมริโอเน็ต]] และ[[บารอนกรีนวิช]] เจ้าชายฟิลิปทรงลาออกจากการรับราชการทหาร เมื่อเจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถในค.ศ. 1952 โดยทรงมีตำแหน่งยศเป็นผู้บัญชาการทหารและได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าชายบริติชใน ค.ศ. 1957 เจ้าชายฟิลิปทรงมีพระราชบุตรถึงสี่พระองค์กับควีนเอลิซาเบธที่สอง: เจ้าชาย[[เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์|ชาร์ล เจ้าชายแห่งเวลล์]] เจ้าหญิง[[เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี|แอนน์ พระราชกุมารี]] [[เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก]] และ[[เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซกซ์]] ผ่านทางพระราชเสาวนีย์ของควีนเอลิซาเบธที่สองแห่งบริติช(Order in Council) ได้ถูกประกาศขึ้นใน ค.ศ. 1960 ทายาทของเจ้าชายฟิลิปและควีนเอลิซาเบธที่สองจะไม่มีพระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ ซึ่งสามารถใช้นามสกุลเป็น [[เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์]] ซึ่งมีสมาชิกบางพระองค์ในราชวงศ์ที่ใช้พระนามเต็ม เช่น เจ้าหญิงแอนน์ เจ้าชายแอนดรูว์ และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด
 
ด้วยการที่ทรงเป็นผู้คลั่งไคล้ด้านกีฬา เจ้าชายฟิลิปทรงช่วยพัฒนางานกิจกรรมจากการขี่ม้ามาเป็นการขับขี่รถม้า พระองค์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ ประธาน หรือสมาชิกขององค์กรต่าง ๆ กว่า 780 องค์กร และดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่ง[[รางวัลดยุกแห่งเอดินบะระ]] ซึ่งเป็นโครงการการพัฒนาตนเองสำหรับคนหนุ่มสาวที่มีอายุ 14 ถึง 24 ปี<ref>{{cite web|title=Do your DofE – The Duke of Edinburgh's Award|url=https://www.dofe.org/do-your-dofe/|url-status=dead|archive-url=https://web.archive.org/web/20190129181534/https://www.dofe.org/do-your-dofe/|archive-date=29 January 2019|access-date=29 January 2019|website=dofe.org}}</ref> พระองค์ทรงเป็นพระราชสามีคู่อภิเษกสมรสที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของราชวงศ์บริติชและเป็นสมาชิกชายที่มีพระชนม์ที่ยาวนานที่สุดในราชวงศ์บริติช ทรงเกษียณจากพระราชกรณียกิจ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 2017 ด้วยพระชนม์มายุ 96 พรรษา โดยทรงสำเร็จจากพระราชกรณียกิจ 22,219 ครั้ง และกล่าวสุนทรพจน์ 5,493 ครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1952<ref>{{cite news|last1=Low|first1=Valentine|date=9 April 2021|title=Prince Philip was a man determined to make an impact|website=The Times|url=https://www.thetimes.co.uk/article/prince-philip-was-a-man-determined-to-make-an-impact-jtg3stdl0|url-access=subscription|access-date=12 April 2021}}</ref> เจ้าชายฟิลิป[[การสิ้นพระชนม์และพิธีฝังพระศพเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินบะระ|ทรงสิ้นพระชนม์]] เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2021 อีกสองเดือนก่อนที่พระองค์จะมีพระชนม์มายุครบ 100 ปี
 
==วัยเยาว์ ==