ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชลยศึกชาวญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 12:
[[File:Japanese soldier suicide Cape Endaiadere.jpg|thumb|left|ทหารญี่ปุ่นที่ยืนอยู่ในทะเล Cape Endaiadere, นิวกีนี, เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1942 ซึ่งกำลังถือ[[ระเบิดมือ]]มาไว้ที่ศรีษะก่อนที่เขาจะใช้มันเพื่อการฆ่าตัวตาย. ส่วนทหารออสเตรเลียที่ยืนอยู่บนชายหาดได้เรียกร้องให้เขายอมจำนน.<ref>{{cite web|url=http://cas.awm.gov.au/item/013968|title=Australian War Memorial 013968|work=Collection database|publisher=Australian War Memorial|access-date=1 January 2010|archive-url=https://web.archive.org/web/20110314170709/http://cas.awm.gov.au/item/013968|archive-date=14 March 2011|url-status=dead}}</ref><ref>McCarthy (1959), p. 450</ref>]]
 
ทัศนคติต่อการยอมจำนนของกองทัพญี่ปุ่นได้ถูกนำมาใช้ใน "หลักเกณฑ์การปฏิบัติในสนามรบ"([[หลักเกณฑ์ทหารเซ็นจินคุน|เซ็นจินคุน]]) ซึ่งได้ตีพิมพ์แจกเอกสารให้แก่ทหารญี่ปุ่นทุกคน เอกสารฉบับนี้ได้พยายามที่จะกำหนดมาตรฐานของพฤติกรรมทหารญี่ปุ่นและปรับปรุงวินัยและขวัญกำลังใจภายในกองทัพ และรวมถึงข้อห้ามไม่ให้ถูกจับเป็นเชลย<ref name="Drea_2009_212">Drea (2009), p. 212</ref> รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินการให้เซ็นจินคุนนั้นเกิดบรรลุผลด้วยการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งได้ทำการยกย่องสรรเสริญให้กับผู้ที่ต่อสู้รบจนตัวตายมากกว่าจะยอมจำนนในช่วงสงครามของญี่ปุ่น<ref name="Straus_2003_39">Straus (2003), p. 39</ref> ในขณะที่[[กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น]](IJN) ไม่ได้ตีพิมพ์แจกเอกสารเทียบเท่ากับเซ็นจินคุน บุคลากรของกองทัพเรือถูกคาดหวังให้แสดงพฤติกรรมที่คล้ายกันและไม่ยอมจำนน<ref name="Straus_2003_40">Straus (2003), p. 40</ref> ทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้กล่าวว่าพวกเขาจะถูกสังหารหรือทรมานโดยฝ่ายสัมพันธมิตร หากพวกเขาถูกจับเป็นเชลย<ref name="Dower_1986_77">Dower (1986), p. 77</ref> ข้อบังคับการปฏิบัติทางภาคสนามของกองทัพบกได้รับการแก้ไขใน ค.ศ. 1940 เพื่อแทนที่บทบัญญัติที่ระบุว่าบุคลากรที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสในโรงพยาบาลภาคสนามได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1929 สำหรับทหารผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในภาคสนาม โดยมีข้อกำหนดที่ว่าผู้บาดเจ็บจะไม่ตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก ในช่วงสงคราม สิ่งนี้ทำให้บุคลากรผู้บาดเจ็บจะถูกเจ้าหน้าที่แพทย์สังหารหรือถูกมอบด้วยระเบิดมือเพื่อให้ฆ่าตัวตาย เหล่านักบินจากเครื่องบินญี่ปุ่นซึ่งตกลงสู่ดินแดนที่ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครอง มักจะฆ่าตัวตายแทนที่พวกเขาจะยอมให้ถูกจับกุม<ref>Ford (2011), p. 139</ref>
 
{{Quote box
| quote = ผู้ที่รู้จักความละอายใจนั้นอ่อนแอ จงคิดไตร่ตรองถึง[การปกปักรักษา]เกียรติยศของชุมชนท่านและให้ความเชื่อถือกับตัวท่านเองและครอบครัวท่านเสมอ ให้เพิ่มความพยายามของท่านเป็นสองเท่าและตอบสนองต่อความคาดหวังของพวกเขา จงอย่ามีชีวิตอยู่เลยเพื่อได้รับความอัปยศในฐานะเชลย โดยการตายของท่านจะไม่หลงเหลือด่างพร้อยด้วยเกียรติยศของท่าน
| source = ''เซ็นจินคุน''<ref name="Straus_2003_39" />
| width = 35%
| align =
}}
 
ในขณะที่นักวิชาการๆไม่เห็นด้วยว่า เซ็นจินคุนนั้นมีผลผูกพันทางกฏหมายกับทหารญี่ปุ่นหรือไม่ เอกสารดังกล่าวสะท้อนถึงบรรทัดฐานทางสังคมของญี่ปุ่นและมีอำนาจเหนือทั้งบุคลากรทางทหารและพลเรือน ในปี ค.ศ. 1942 ทางกองทัพได้แก้ไขประมวลกฏหมายทางอาญาเพื่อระบุถึงเจ้าหน้าที่ที่ยอมจำนนทหารภายใต้บัญชาการของพวกเขาจะต้องถูกจำคุกอย่างน้อยหกเดือน โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ซึ่งการยอมจำนนจะเกิดขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ดึงดูดความสนใจเพียงเล็กน้อย เมื่อเซ็นจินคุนได้ถูกกำหนดมาอย่างเข้มงวดมากและมีพลังทางศีลธรรมมากขึ้น<ref name="Straus_2003_402">Straus (2003), p. 40</ref>
 
การปลูกฝังความคิดของทหารญี่ปุ่นถึงการให้ความเคารพการยอมจำนนเพียงเล็กน้อยได้นำไปสู่การปฏิบัติที่ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรพบว่าเป็นการหลอกลวง ในช่วงสงครามแปซิฟิก มีเหตุการณ์หนึ่งที่ทหารญี่ปุ่นได้แสร้งยอมจำนนเพื่อหลอกล่อกองกำลังทหารฝ่ายสัมพันธมิตรให้เข้ามาเพื่อซุ่มโจมตี นอกจากนี้ ทหารญี่ปุ่นที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งบางครั้งได้พยายามจะใช้ระเบิดมือเพื่อสังหารทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้พยายามจะช่วยเหลือพวกเขา<ref>Doyle (2010), p. 206</ref> ทัศนคติต่อการยอมจำนนของญี่ปุ่นมีส่วนทำให้เกิดการปฏิบัติที่รุนแรงซึ่งเกิดขึ้นได้กับบุคลากรฝ่ายสัมพันธมิตรที่พวกเขาถูกจับกุม<ref name="Straus_2003_3">Straus (2003), p. 3</ref>
[[ไฟล์:Australian_soldiers_Japanese_POW_Oct_1945.jpg|thumb|ทหารชาวออสเตรเลียสองนายกับเชลยศึกชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943.]]
ไม่ใช่เพียงทหารญี่ปุ่นทุกคนที่เลือกที่จะปฏิบัติตามศีลธรรมที่ได้กำหนดเอาไว้ในเซ็นจินคุน เหล่าผู้ที่เลือกว่าจะยอมจำนนซึ่งที่ทำเช่นนั้นด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงไม่เชื่อว่าการฆ่าตัวตายนั้นเหมาะสมหรือขาดเจตจำนงที่จะกระทำดังกล่าว ความขมขืนต่อเจ้าหน้าที่ และการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะปฏิบัติเป็นอย่างดี<ref>Strauss (2003), pp. 44–45</ref> ในช่วงปีหลัง ๆ ของสงคราม ขวัญกำลังใจของทหารญี่ปุ่นนั้นได้พังทลายลงอันเป็นผลมาจากชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ส่งผลทำให้จำนวนผู้ที่เตรียมพร้อมจะยอมจำนนหรือแปรพักตร์เพิ่มมากขึ้น<ref>Gilmore (1998), pp. 2, 8</ref> ในช่วง[[ยุทธการที่โอกินาวะ]], ทหารญี่ปุ่นจำนวน 11,250 นาย (รวมทั้งแรงงานที่ไม่มีอาวุธ 3,581 คน) ได้ยอมจำนน ระหว่างเดือนเมษายนและเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1945 คิดเป็น 12 เปอร์เซ็นของกองกำลังที่ประการอยู่เพื่อป้องกันเกาะ จำนวนคนเหล่านี้เพิ่งถูกเกณฑ์มาจากสมาชิกหน่วยยามป้องกันบ้านเกิด [[โบอิไต]] ที่ไม่ได้รับการปลูกฝังความคิดแบบเดียวกับกองทัพประจำการของกองทัพบก แต่ก็มีทหารของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นจำนวนมากก็ได้ยอมจำนนเช่นกัน<ref>Hayashi (2005), pp. 51–55</ref>
 
 
 
 
== อ้างอิง ==