ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชลยศึกชาวญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
 
เชลยศึกชาวญี่ปุ่นมักเชื่อกันว่าการยอมจำนนของพวกเขาได้ทำลายพันธะทั้งหมดกับญี่ปุ่นและมีหลายคนได้ให้ข่าวกรองทางทหารแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร เชลยที่ถูกจับกุมโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกนั้นอยู่ในสภาพที่ดีโดยทั่ว ๆ ไปในค่ายที่ตั้งอยู่ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนเชลยที่ถูกจับกุมโดยสหภาพโซเวียตนั้นได้รับการปฏิบัติอย่างโหดร้ายในค่ายแรงงานที่ตั้งอยู่ในไซบีเรีย ภายหลังสงคราม เชลยศึกชาวญี่ปุ่นถูกส่งตัวกลับประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าสหรัฐและบริติชจะเก็บเชลยศึกเอาไว้จำนวนพันนาย จนถึง ค.ศ. 1946 และ ค.ศ. 1947 ตามลำดับ และสหภาพโซเวียตยังคงกังขังเชลยศึกชาวญี่ปุ่นนับแสนนายจนถึงต้นปี ค.ศ. 1950 สหภาพโซเวียตก็ค่อย ๆ ปล่อยเชลยศึกจำนวนบางส่วนออกไปในช่วงไม่กี่ทศวรรษต่อมา แต่บางคนก็ไม่ได้กลับจนกระทั่งสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายในปี ค.ศ. 1990 ในขณะที่คนอื่น ๆ ได้ตั้งรกรากและเริ่มมีครอบครัวในสหภาพโซเวียตซึ่งเลือกที่จะอยู่ต่อ<ref name="nytimes.com2">https://www.nytimes.com/1998/04/12/world/japan-s-blossoms-soothe-a-pow-lost-in-siberia.html</ref>
 
== ทัศนคติต่อการยอมจำนนของญี่ปุ่น ==
ในช่วง ค.ศ. 1920 และ ค.ศ. 1930 [[กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น]](IJA) ได้นำแนวคิดที่ว่าให้ทหารสู้รบจนตัวตายแทนที่จะยอมจำนน<ref name="Drea_2009_257">Drea (2009), p. 257</ref> นโยบายนี้สะท้อนแนวทางปฏิบัติของการทำสงครามของญี่ปุ่นในยุคก่อนสมัยใหม่<ref>Strauss (2003), pp. 17–19</ref> ใน[[ยุคเมจิ]] รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำนโยบายตะวันตกมาใช้กับเชลยศึกและบุคลากรชาวญี่ปุ่นเพียงไม่กี่คนที่ยอมจำนนใน[[สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น]]ซึ่งจะถูกลงโทษเมื่อสงครามยุติลง เชลยที่ถูกจับกุมโดยกองกำลังญี่ปุ่นในช่วงเวลานี้และ[[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง]]และ[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ซึ่งได้รับการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเช่นกัน<ref>Strauss (2003), pp. 20–21</ref> การปฏิบัติที่ดีต่อผู้ถูกคุมขังนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งแสดงความรู้สึกถึง "ความกล้าหาญ" เมื่อเทียบกับการรับรู้ถึงความโหดร้ายป่าเถื่อนอย่างมากในเอเชียที่รัฐบาลเมจิต้องการที่จะหลีกเลี่ยง<ref>{{Cite web|title=MIT Visualizing Cultures|url=https://visualizingcultures.mit.edu/asia_rising/ar_essay02.html|access-date=2020-05-03|website=visualizingcultures.mit.edu}}</ref> ทัศนคติต่อการยอมจำนนของญี่ปุ่นดูจะเมินเฉยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ลงนามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1929 ซึ่งได้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติต่อเชลยศึก แต่ไม่ได้ให้สัตยาบันในข้อตกลง โดยกล่าวอ้างว่า การยอมจำนนนั้นขัดต่อความเชื่อของทหารญี่ปุ่น ทัศนคตินี้ได้รับการสนับสนุนโดยการปลูกฝังความคิดของคนหนุ่มสาว<ref>Strauss (2003), pp. 21–22</ref>
 
[[File:Japanese soldier suicide Cape Endaiadere.jpg|thumb|left|ทหารญี่ปุ่นที่ยืนอยู่ในทะเล Cape Endaiadere, นิวกีนี, เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1942 ซึ่งกำลังถือ[[ระเบิดมือ]]มาไว้ที่ศรีษะก่อนที่เขาจะใช้มันเพื่อการฆ่าตัวตาย. ส่วนทหารออสเตรเลียที่ยืนอยู่บนชายหาดได้เรียกร้องให้เขายอมจำนน.<ref>{{cite web|url=http://cas.awm.gov.au/item/013968|title=Australian War Memorial 013968|work=Collection database|publisher=Australian War Memorial|access-date=1 January 2010|archive-url=https://web.archive.org/web/20110314170709/http://cas.awm.gov.au/item/013968|archive-date=14 March 2011|url-status=dead}}</ref><ref>McCarthy (1959), p. 450</ref>]]
 
ทัศนคติต่อการยอมจำนนของกองทัพญี่ปุ่นได้ถูกนำมาใช้ใน "หลักเกณฑ์การปฏิบัติในสนามรบ"([[หลักเกณฑ์ทหารเซ็นจินคุน|เซ็นจินคุน]]) ซึ่งได้ตีพิมพ์แจกเอกสารให้แก่ทหารญี่ปุ่นทุกคน เอกสารฉบับนี้ได้พยายามที่จะกำหนดมาตรฐานของพฤติกรรมทหารญี่ปุ่นและปรับปรุงวินัยและขวัญกำลังใจภายในกองทัพ และรวมถึงข้อห้ามไม่ให้ถูกจับเป็นเชลย<ref name="Drea_2009_212">Drea (2009), p. 212</ref> รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินการให้เซ็นจินคุนนั้นเกิดบรรลุผลด้วยการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งได้ทำการยกย่องสรรเสริญให้กับผู้ที่ต่อสู้รบจนตัวตายมากกว่าจะยอมจำนนในช่วงสงครามของญี่ปุ่น<ref name="Straus_2003_39">Straus (2003), p. 39</ref> ในขณะที่[[กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น]](IJN) ไม่ได้ตีพิมพ์แจกเอกสารเทียบเท่ากับเซ็นจินคุน บุคลากรของกองทัพเรือถูกคาดหวังให้แสดงพฤติกรรมที่คล้ายกันและไม่ยอมจำนน<ref name="Straus_2003_40">Straus (2003), p. 40</ref> ทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้กล่าวว่าพวกเขาจะถูกสังหารหรือทรมานโดยฝ่ายสัมพันธมิตร หากพวกเขาถูกจับเป็นเชลย<ref name="Dower_1986_77">Dower (1986), p. 77</ref> ข้อบังคับการปฏิบัติทางภาคสนามของกองทัพบกได้รับการแก้ไขใน ค.ศ. 1940 เพื่อแทนที่บทบัญญัติที่ระบุว่าบุคลากรที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสในโรงพยาบาลภาคสนามได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1929 สำหรับทหารผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในภาคสนาม โดยมีข้อกำหนดที่ว่าผู้บาดเจ็บจะไม่ตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก ในช่วงสงคราม สิ่งนี้ทำให้บุคลากรผู้บาดเจ็บจะถูกเจ้าหน้าที่แพทย์สังหารหรือถูกมอบด้วยระเบิดมือเพื่อให้ฆ่าตัวตาย เหล่านักบินจากเครื่องบินญี่ปุ่นซึ่งตกลงสู่ดินแดนที่ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครอง มักจะฆ่าตัวตายแทนที่พวกเขาจะยอมให้ถูกจับกุม<ref>Ford (2011), p. 139</ref>
 
== อ้างอิง ==
เส้น 11 ⟶ 18:
 
[[หมวดหมู่:สงครามโลกครั้งที่สอง]]
{{โครงทหาร}}