ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Somsak Ung (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล คณะในมหาวิทยาลัย | ชื่อ = วิทยาลัยดุริยศิลป์<br/>มหาวิทยาลัยพายัพ | ชื่ออังกฤษ = Duriyaslip College of Music | ภาพ = | วันที่ก่อตั้ง = | คณบดี = ธวัช อัศวเดชาฤทธิ์ | สีประจำคณะ = {{color box|#000000}} ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:19, 9 กรกฎาคม 2564

วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ อังกฤษ: Duriyaslip College of Music เป็นวิทยาลัยดนตรีชั้นนำของประเทศ และในภาคเหนือ เป็นวิทยาลัยดนตรีแห่งที่สี่ของประเทศไทย ต่อจาก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (มหิดล), คณะดุริยางคศาสตร์ และ วิทยาลัยดนตรี โดยมีวิทยาลัยดนตรีที่เปิดพร้อมกันในปีนั้นสองโรงเรียนคือ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (มหาสารคาม) และ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

วิทยาลัยดุริยศิลป์
มหาวิทยาลัยพายัพ
Duriyaslip College of Music
คติพจน์ให้ดู ให้อ่าน ให้คิด...
คณบดีธวัช อัศวเดชาฤทธิ์
ที่อยู่
วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ เขตแก้วนพรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
สี  สีดำ
เว็บไซต์music.payap.ac.th

ประวัติ

เดิมมีสถานะเป็น สาขาวิชา สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ นับเป็น 1 ใน 8 สาขาวิชาแรกที่เปิดดำเนินการพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยพายัพเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยมีอาจารย์แคโรลีน คิงสฮิลล์ เป็นหัวหน้าสาขาวิชาดุริยศิลป์คนแรก ในปี พ.ศ. 2548 ภาควิชาดุริยศิลป์ได้ปรับปรุงหลักสุตรและจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญดนตรีเฉพาะทางมากขึ้น โดยแบ่งกลุ่มวิชาออกเป็น 6 แขนงวิชา คือ ดนตรีศึกษา ดนตรีเชิงพาณิชย์ การประพันธ์เพลง ดนตรีแจ๊ส ดนตรีศาสนา และการแสดงดนตรี การจัดกลุ่มแขนงวิชาทำให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนในกลุ่มแขนงวิชาที่นักศึกษาสนใจเป็นพิเศษ ตามความถนัดของแต่ละคน สามารถพัฒนาทักษะให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้ ในปี พ.ศ. 2549 ภาควิชาดุริยศิลป์ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยศิลป์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 4 แขนงวิชา คือ ดนตรีศึกษา ดนตรีชาติพันธุ์ การประพันธ์เพลง และการแสดงดนตรีสากล จากการขยายงานด้านการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ ในปี พ.ศ. 2551 ภาควิชาดุริยศิลป์จึงได้รับการปรับสถานภาพเป็นวิทยาลัยดุริยศิลป์

หลักสูตร

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
หลักสูตรประกาศนียบัตร
หลักสูตรระยะสั้น

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Fine Art)

  • แขนงวิชาการประพันธ์เพลง (Composition)
  • แขนงวิชาการแสดงดนตรีสากล (Instrumental Performance)
  • แขนงวิชาการแสดงขับร้อง (Vocal Performance)
  • แขนงวิชาการแสดงดนตรีจีน (Chinese Instrumental Performance)

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Fine Art)

  • แขนงวิชาดนตรีศึกษา (Music Pedagogy)
  • แขนงวิชาการประพันธ์เพลง (Composition)
  • แขนงวิชาการแสดงดนตรีสากล (Instrumental Performance)

หลักสูตรประกาศนียบัตร (Commercial Music)

  • หลักสูตรเทคโนโลยีดนตรี (Music Technology)
  • หลักสูตรการประพันธ์ดนตรีเพื่อการพาณิชย์ (Commercial Music Composition)
  • หลักสูตรการตลาดดนตรี (Music Business)

หลักสูตรระยะสั้น 1 - เตรียมความพร้อมสู่นักเรียนดุริยางค์ทหารบก

  • หลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่นักเรียนดุริยางค์ทหารบก

หลักสูตรระยะสั้น 2 - เตรียมความพร้อมสู่การศึกษาสาขาดนตรีในระดับอุดมศึกษา

  • หลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่การศึกษาสาขาดนตรีในระดับอุดมศึกษา

หลักสูตรระยะสั้น 3 – หลักสูตรการเรียบเรียงบทเพลงขั้นพื้นฐาน

  • หลักสูตรการเรียบเรียงบทเพลงขั้นพื้นฐาน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น