ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดอนัลด์ ทรัมป์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Heartusa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
ภายหลังทรัมป์ปลดเจมส์ โคมีย์ ผู้อำนวยการ[[เอฟบีไอ]]ใน ค.ศ. 2017 [[กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ|กระทรวงยุติธรรม]]แต่งตั้งรอเบิร์ต มอลเลอร์เป็นที่ปรึกษาพิเศษในการสืบสวนเรื่องการประสานงานหรือความเชื่อมโยงระหว่างการรณรงค์ทรัมป์และรัฐบาลรัสเซียเกี่ยวกับ[[การแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐของรัสเซีย พ.ศ. 2559]] และประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผลการสอบสวนระบุว่าทรัมป์และคณะรณรงค์หาเสียงของเขาต้อนรับและส่งเสริมการแทรกแซงของรัสเซียในการเลือกตั้งนั้น แต่ไม่พบหลักฐานเพียงพอตั้งข้อหาสมคบคิดหรือร่วมมือกับ[[ประเทศรัสเซีย|รัสเซีย]] มอลเลอร์ยังสอบสวนทรัมป์ฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรายงานของเขาสรุปโดยไม่ได้ฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์หรือว่าเขาพ้นจากความรับผิดในข้อหานั้น หลังทรัมป์ร้องขอให้ยูเครนสอบสวน[[โจ ไบเดน]] คู่แข่งทางการเมืองของเขา สภาผู้แทนราษฎรดำเนินกระบวนพิจารณาและลงมติให้ถอดถอนทรัมป์ออกจากตำแหน่งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ฐานละเมิดอำนาจและขัดขวางรัฐสภา แต่วุฒิสภาลงคะแนนเสียงว่าทรัมป์ไม่มีความผิดทั้งสองข้อหาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020
 
ดอนัลด์ ทรัมป์ พ่ายแพ้การเลือกตั้งในสมัยที่สองของตนเองให้แก่ โจ ไบเดน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 ส่งผลให้เขาเป็น 1 ใน 6 ประธานาธิบดีสหรัฐที่ไม่สามารถเอาชนะการเลือกตั้งได้เป็นสมัยที่สอง<ref>https://www.independent.co.uk/news/world/americas/us-politics/how-many-us-presidents-lost-second-term-b1640998.html</ref> เขาก้าวลงจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021 ภายหลังการเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของ โจ ไบเดน และ [[กมลา แฮร์ริส]] ประธานาธิบดีและ[[รองประธานาธิบดีสหรัฐ|รองประธานาธิบดี]]คนใหม่ โดยทรัมป์และภรรยาของเขา ([[เมลาเนีย ทรัมป์]]) ได้กล่าวสุนทรพจน์อำลาประชาชนชาวอเมริกันทั่วประเทศล่วงหน้า 1 วันก่อนการสาบานตนของไบเดน โดยก่อนหน้านั้นทรัมป์ได้ปฏิเสธการยอมรับผลการเลือกตั้งและเรียกร้องให้มีการนับคะแนนใหม่ในหลายพื้นที่<ref>https://www.npr.org/sections/biden-transition-updates/2020/11/22/937739336/trump-requests-georgia-recount-meaning-5-million-votes-will-be-tabulated-a-3rd-t</ref>
 
== ประวัติและชีวิตช่วงต้น ==
บรรทัด 53:
== ครอบครัวและชีวิตสมรส ==
[[ไฟล์:Donald Trump and Melania Trump at Liberty Ball Inauguration 2017.jpg|thumb|left|ดอนัลด์ ทรัมป์ และ เมลาเนีย ทรัมป์ ในงานเลี้ยงฉลองภายหลังพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมปี 2020|335x335px]]
 ดอนัลด์ ทรัมป์ ได้สมรสกับ Ivana Zelníčková นางแบบสาวชาวเช็ก ในปี ค.ศ 1977<ref>https://www.townandcountrymag.com/trump-family-news/</ref> ทั้งสองมีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน ได้แก่ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์, [[อิวานกา ทรัมป์|อิวานก้า ทรัมป์]], และ อีริค ทรัมป์ ซึ่งต่อมาลูกทั้ง 3 คนก็ได้มรดกจากผู้เป็นพ่อ ด้วยตำแหน่งรองประธานบริษัท Trump Organization ที่ทรัมป์เป็นประธานบริหารมาอย่างยาวนาน ทรัมป์และอิวาน่าหย่าขาดจากกันในปี 1990 และ ต่อมาในปี 1993 ทรัมป์ได้สมรสครั้งที่สองกับ มาร์ล่า เมเปิ้ล และมีบุตรด้วยกัน 1 คนคือ ทิฟฟานี่ ซึ่งตั้งชื่อตามร้านเพชรชื่อดังอย่าง Tiffany & Company ก่อนที่ทั้งสองจะแยกกันอยู่ในปี 1997 และหย่าขาดกันในปี 1999
 
  โดนัลด์ ทรัมป์ พบกับ เมลาเนีย คานอส (Melania Knauss) นางแบบสาวชาว[[ประเทศสโลวีเนีย|สโลเวเนีย]] และทำการหมั้นกันในปี 2004 ก่อนจะเข้าพิธีสมรสในปี 2005 ก่อนที่เมลาเนียจะได้รับสัญชาติอเมริกันในปี 2006 และในเดือนมีนาคมปีเดียวกันนั้นเอง เมลาเนีย ทรัมป์ ก็ได้คลอดบุตรชายนามว่า บาร์รอน ทรัมป์<ref>{{Cite web|title=Donald J. Trump|url=https://www.whitehouse.gov/about-the-white-house/presidents/donald-j-trump/|website=The White House|language=en-US}}</ref> ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งมาจากนามปากกาของดอนัลด์ ทรัมป์ โดยมักปรากฏภาพภรรยาและลูกๆของเขาในการหาเสียงของทรัมป์ในช่วงการเลือกตั้งอยู่เสมอ และ เมลาเนีย ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง[[สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งสหรัฐ|สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกา]]อย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2017<ref>https://www.businessinsider.com/trump-family-history-from-immigrants-to-americas-first-family-2020-6</ref>
 
== การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี ==
[[ไฟล์:Donald Trump by Gage Skidmore 5.jpg|thumb|ดอนัลด์ ทรัมป์ ขณะหาเสียง ณ มลรัฐแอริโซน่าในเดือนมีนาคม 2016]]
แม้โพลแทบทุกสำนักต่างรายงานตรงกันว่า ทรัมป์มีแนวโน้มสูงที่จะพ่ายแพ้การเลือกตั้ง โดยโพลต่างระบุว่าตั้งแต่เริ่มต้นการหาเสียงช่วงต้นปีจนกระทั่งถึงการเสร็จสิ้นการดีเบตทั้งสามครั้งกับ [[ฮิลลารี คลินตัน]] คู่แข่งจาก[[พรรคเดโมแครต (สหรัฐ)|พรรคเดโมแครต]] ทรัมป์มีคะแนนตามหลังนางคลินตัน อย่างไรก็ตาม ทรัมป์สามารถชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Make America Great Again" ได้สำเร็จ<ref>{{Cite web|title=2016 presidential election results|url=https://edition.cnn.com/election/2016/results/president|website=edition.cnn.com|language=en}}</ref> ส่งผลให้ในวัย 70 ปี ทรัมป์เป็นบุคคลอายุมากที่สุด (ในขณะนั้น) และมี[[ทรัพย์สิน]]มากที่สุดที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เป็นบุคคลแรกที่ไม่เคยรับราชการทหารหรือข้าราชการมาก่อน และเป็นบุคคลที่สี่ที่ได้รับเลือกตั้งโดยไม่ได้คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งข้างมากทั่วประเทศ เขาได้รับคะแนนเสียง 63 ล้านเสียง<ref>{{Cite news|date=2016-11-09|title=US election 2016 result: Trump beats Clinton to take White House|language=en-GB|work=BBC News|url=https://www.bbc.com/news/election-us-2016-37920175|access-date=2021-05-24}}</ref> และ เป็นหนึ่งในประธานาธิบดีไม่กี่ท่านของสหรัฐที่พ่ายแพ้คะแนน Popular โหวตแต่สามารถเอาชนะด้วย Electoral vote (ด้วยคะแนน 304 - 227) และ ชนะการเลือกตั้งได้ โดย [[ไมก์ เพนซ์|ไมค์ เพนซ์]] ผู้สมัครชิงตำแหน่งรอง ปธน.สหรัฐฯ ก็ได้ก้าวขึ้นรับตำแหน่ง[[รองประธานาธิบดีสหรัฐ|รองประธานาธิบดี]]อย่างเป็นทางการ ในส่วนของการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภานั้น [[พรรคริพับลิกัน (สหรัฐ)|พรรคริพับลีกัน]] ชนะได้เสียงข้างมากในวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียง 51 ต่อ 47 เสียง ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ผลปรากฏว่า พรรคริพับลีกัน สามารถครองเสียงข้างมากในสภาด้วยคะแนนเสียง 232 ต่อ 175 เสียง
 
== นโยบายขณะดำรงตำแหน่ง ==
 
=== 100 วันแรก ===
ดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนสหรัฐออกจาก ''TPP (ข้อตกลงการค้าในภาคพื้นแปซิฟิก)'' ซึ่งปัจจุบันมีประเทศสมาชิกอยู่ด้วยกันทั้งหมด 12 ประเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของเศรษฐกิจโลกทั้งหมด โดยทรัมป์ต้องการให้สหรัฐเป็นมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่จำเป็นต้องอิงกับใครในการพัฒนาเศรษฐกิจ<ref>{{Cite news|date=2017-01-24|title=Trump executive order pulls out of TPP trade deal|language=en-GB|work=BBC News|url=https://www.bbc.com/news/world-us-canada-38721056|access-date=2021-05-24}}</ref> และ ให้คำมั่นจะสร้างงานให้ชาวอเมริกันอย่างมั่นคงอีกครั้ง เขายืนยันว่าตัวเลขประชาชนผู้ตกงานตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาในสหรัฐจะต้องลดลงอย่างมีนัยสำคัญในรัฐบาลของเขา โดยมีหลักการเพียงอย่างเดียวคือทำเพื่ออเมริกาให้กลับมาเป็นที่หนึ่งอีกครั้ง ทรัมป์และทีมงานจะปรับแก้กฎหมายและสร้างงานให้แก่อเมริกันชนอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น[[อุตสาหกรรม]]การผลิต[[เหล็ก]], [[รถยนต์]] ไปจนถึงยารักษาโรค เป็นต้น ทรัมป์ต้องการให้เกิดกระบวนการผลิตและ[[นวัตกรรม]]ใหม่ๆขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดการจ้างงานที่มากขึ้นแก่[[ชาวอเมริกัน|คนอเมริกัน]] นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้เพิ่มงบประมาณทางการทหารมากขึ้นถึง 10% จากรัฐบาลของ[[บารัก โอบามา|โอบามา]]<ref>https://edition.cnn.com/specials/politics/100-days-donald-trump</ref> ต่อมาเมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2017 นายฌอน สไปเซอร์ โฆษกทำเนียบขาว ประกาศว่า ประธานาธิบดี ทรัมป์ จะบริจาคเงินเดือนทั้งหมดในช่วงไตรมาสแรก กว่า $78,333.32 ให้กับหน่วยงาน[[อุทยานแห่งชาติ]]เพื่อพัฒนาในฐานะที่เป็นแหล่ง[[การท่องเที่ยว|ท่องเที่ยว]]ระดับโลก ในด้านการต่างประเทศในช่วง 3 เดือนแรกของการดำรงตำแหน่ง ทรัมป์ออกมาเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง[[สหประชาชาติ]]ต้องกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือที่แข็งกร้าวมากขึ้น ภายหลังจากเกาหลีเหนือยังคงเดินหน้าทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และ[[ขีปนาวุธ]] รวมทั้งทำการออกคำสั่งยิงจรวดโจมตีฐานทัพอากาศ Shayrat ในเมืองฮอม ของ[[ประเทศซีเรีย|ซีเรีย]] เพื่อตอบโต้การใช้[[การสงครามเคมี|อาวุธเคมี]]โจมตีเขตพลเรือน
 
=== เศรษฐกิจและสังคม ===
ทรัมป์ประกาศอย่างชัดเจนต่อสาธารณธชนก่อนการเลือกตั้งว่า เขาจะเข้ามาปฏิรูปนโยบายด้านต่างๆที่ [[บารัก โอบามา|บารัค โอบามา]] ได้ทำไว้ และแสดงเจตนารมณ์ในการบริหารประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์ "Make America Great Again" ซึ่งเป็นนโยบายที่ [[โรนัลด์ เรแกน]] อดีตประธานาธิบดีคนที่ 40 เคยใช้หาเสียง<ref>{{Cite web|title=Reagan: 'Making America great' the first time — United States Studies Centre|url=https://www.ussc.edu.au/events/reagan-making-america-great-the-first-time|website=www.ussc.edu.au}}</ref> ตลอดระยะเวลา 4 ปีในการดำรงตำแหน่งของทรัมป์ เขาให้ความสำคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจมาก โดยมีการปรับภาษีให้เท่าเทียมกัน และ มีการลดหย่อนภาษีลงอย่างทั่วถึง โดยรวมถึงการลดค่าใช่จ่ายในการเลี้ยงบุตรและค่ารักษาพยาลบาลทั่วไปอีกด้วย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนคนว่างงานลงให้มากที่สุด นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นประธานาธิบดีที่ให้ความใส่ใจกับยโยบายด้านการควบคุมผู้อพยพเข้าประเทศมากที่สุดท่านหนึ่ง เขาให้ความเข้มงวดเรื่องนี้มากเนื่องจากต้องการผลักดันกฎหมายแรงงานให้ชาวอเมริกันสิทธิ์มากกว่าชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในสหรัฐ ซึ่งจุดนี้จะเป็นการรับประกันเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชาวอเมริกันได้ รวมถึงการประกันรายได้การมีงานที่ดีรองรับโดยคำถึงถึงสิทธิ์ของคนอเมริกันก่อนเป็นอันดับแรก และ เขาได้มีการเพิ่มมาตรการตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดมากเพื่อป้องกันการก่อการร้าย โดยมีเป้าหมายหลักคือการลดจำนวนผู้อพยพจากพรมแดน[[ประเทศเม็กซิโก|เม็กซิโก]]และแถบ[[ลาตินอเมริกา|ละตินอเมริกา]]ลงให้มากที่สุด<ref>{{Cite web|last=U.S|first=Full Bio Follow Linkedin Kimberly Amadeo is an expert on|last2=Economies|first2=World|last3=investing|last4=Analysis|first4=With Over 20 Years of Experience in Economic|last5=Amadeo|first5=business strategy She is the President of the economic website World Money Watch Read The Balance's editorial policies Kimberly|title=The Impact of Donald Trump's Immigration Policies|url=https://www.thebalance.com/donald-trump-immigration-impact-on-economy-4151107|website=The Balance|language=en}}</ref> เขาและภรรยามีการลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหลายครั้งในหลายรัฐทั่วประเทศ และ แสดงจุดยืนในการเสริมสร้างความมั่นใจของประชาชนต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 
[[ไฟล์:President Trump and the First Lady in El Paso, Texas (48485174852).jpg|thumb|ประธานาธิบดีทรัมป์พร้อมด้วยสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งภริยา และ วุฒิสมาชิก จอห์น คอร์นีย์ ขณะไปเยี่ยมผู้รอดชีวิตจากเหตุกราดยิงที่ เอล ปาโช่ ในปี 2019 ]]
บรรทัด 76:
 
=== การต่างประเทศ ===
ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของทรัมป์ สหรัฐฯ ได้ตั้งคำถามต่อความสำคัญขององค์กรระหว่างประเทศ และ ดำเนินนโยบายการค้าและการทหารซึ่งสอดคล้องของกับสโลแกน America First ที่คำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ​เป็นอันดับหนึ่งซึ่งในบางครั้งได้เพิ่มความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้น เขาได้ประกาศอย่างแข็งกร้าวในการกล้าที่จะเผชิญหน้ากับจีนและเกาหลีเหนือในฐานะประเทศคู่แข่งและผู้เป็นภัยคุกคามทางความมั่นคง ทรัมป์เน้นการใช้นโยบายแบบเอกาภาคีนิยม หรือ "Unilateralism" คือให้อเมริกาลุยเดี่ยว ‘Go It Alone’ ไม่จำเป็นต้องอิงกับพันธมิตรชาติใดเป็นพิเศษซึ่งตรงข้ามกับพรรคเดโมแครตของ โจ ไบเดน อย่างสิ้นเชิง<ref>{{Cite web|last=Welle (www.dw.com)|first=Deutsche|title=US election: How Donald Trump has changed global foreign policy {{!}} DW {{!}} 24.10.2020|url=https://www.dw.com/en/us-election-how-donald-trump-has-changed-global-foreign-policy/a-55194020|website=DW.COM|language=en-GB}}</ref> (เดโมแครตเน้นการใช้เครื่องมือพหุภาคีระหว่างประเทศและใช้พันธมิตรเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารงานด้านการต่างประเทศ) ยิ่งไปกว่านั้น ในสมัยที่ บารัก โอบามา เป็นประธานาธิบดี และ ไบเดนเป็นรองประธานาธิบดี เขามีผลงานชิ้นโบว์แดงด้านการต่างประเทศ คือการจัดทำข้อตกลงอาวุธนิวเคลียร์กับ[[ประเทศอิหร่าน|อิหร่าน]]ในปี 2015 แต่ต่อมาภายหลังทรัมป์ได้ทำการฉีกข้อตกลงดังกล่าวทำให้เกิดวิกฤตอิหร่านขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายของการดำรงตำแหน่งของเขา<ref>https://theconversation.com/the-foreign-policy-legacy-that-donald-trump-leaves-joe-biden-148573</ref>
 
[[ไฟล์:Kim and Trump shaking hands at the red carpet during the DPRK–USA Singapore Summit.jpg|thumb|left|ดอนัล ทรัมป์ และ คิม จอง อึน ขณะพบกันในการประชุมครั้งแรก ณ โรงแรมคาเปลลา เกาะเซนโตซา สาธารณรัฐสิงคโปร์ วันที่ 12 มิ.ย. 2018]]
บรรทัด 82:
 
[[ไฟล์:President Trump at the G20 (48144047611).jpg|thumb|ทรัมป์และปูตินในการการประชุมสุดยอด G20 ที่เมืองโอซาก้า ปี 2019]]
ในขณะที่ความสัมพันธ์กับรัสเซียไม่รุนแรงและตึงเครียดเท่าเกาหลีเหนือ ทรัมป์มักกล่าวชื่นชมและไม่ค่อยวิพากษ์วิจารณ์[[ประธานาธิบดีรัสเซีย]] [[วลาดีมีร์ ปูติน|วลาดิเมียร์ ปูติน]] เท่าใดนัก<ref>https://www.bbc.com/news/world-us-canada-48797485</ref> แต่ก็มีการต่อต้านการกระทำบางอย่างของรัฐบาลรัสเซียในบางเหตุการณ์ โดยฝ่ายบริหารของทรัมป์ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯที่บังคับใช้กับรัสเซียหลังจากการผนวก[[ไครเมีย]]ในปี 2014 และ ทรัมป์ยังสนับสนุนให้รัสเซียกลับเข้าสู่การเป็นสมาชิก สู่ ​​[[กลุ่ม 7|G7]]<ref>{{Cite news|date=2020-06-02|title=G7 leaders reject Russia's return after Trump summit invite|language=en-GB|work=BBC News|url=https://www.bbc.com/news/world-us-canada-52885178|access-date=2021-05-24}}</ref> และ ภายหลังจากที่เขาได้พบกับปูตินในการประชุมสุดยอดผู้นำที่[[เฮลซิงกิ]]เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2018 ทรัมป์ได้วิพากษ์วิจารณ์สมาชิกพรรคการเมืองทั้งทางฝั่งริพับลิกันและเดโมแครตในการปฏิเสธการแทรกแซงของรัสเซียในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 แทนที่จะยอมรับการพิสูจน์เหตุการณ์ดังกล่าวของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯว่ารัสเซียได้ทำการแทรกแซงการเลือกตั้งดังกล่าวจริง
 
=== การรับมือกับไวรัสโคโรนา ===
บรรทัด 93:
ดอนัลด์ ทรัมป์ ประสบกับความยากลำบากในการหาเสียงและซื้อใจประชาชนใน[[การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2563|การเลือกตั้ง]]สมัยที่สองเป็นอย่างมาก โพลทุกสำนักต่างรายงานไปในทิศทางเดียวกันว่าเขามีคะแนนตามหลัง โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต มากถึง 10 จุด และ ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งเท่าไรคะแนนความนิยมของเขาก็ยิ่งลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและความรุนแรงจากการประท้วงในประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อดีตเจ้าหน้าที่ในตำแหน่งสำคัญในทำเนียบขาวและในคณะรัฐมนตรีต่างทยอยออกมาพูดถึงทรัมป์ในแง่ลบอย่างมาก ในขณะที่สมาชิกพรรคแทบทุกคนต่างถอดใจว่าเขาจะแพ้การเลือกตั้งอย่างแน่นอน
 
ทรัมป์พ่ายแพ้การเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนปี 2020 ส่งผลให้เขาเป็น 1 ใน 6 ประธานาธิบดีสหรัฐที่ไม่สามารถเอาชนะการเลือกตั้งได้เป็นสมัยที่สอง (และถือเป็นคนแรกในรอบ 28 ปีต่อจาก จอร์ช เอช.ดับเบิลยู.บุช)<ref>{{Cite web|title=George H. W. Bush|url=https://www.whitehouse.gov/about-the-white-house/presidents/george-h-w-bush/|website=The White House|language=en-US}}</ref> แม้เขาจะสามารถรักษาฐานเสียงของตนเองไว้ได้ในหลาย[[รัฐของสหรัฐ|มลรัฐ]]<ref>{{Cite web|title=2020 presidential election results|url=https://www.cnn.com/election/2020/results/president|website=www.cnn.com|language=en}}</ref> (โดยเฉพาะรัฐแถบตอนกลางและทางเหนือของประเทศที่ประชากรมีแนวคิด[[อนุรักษนิยม|อนุรักษ์นิยม]]) แต่ก็เสียคะแนนให้แก่ไบเดนในหลายมลรัฐทางภาคตะวันตกและตะวันออกเช่นกัน<ref>https://www.independent.co.uk/news/world/americas/us-politics/trump-lost-2020-election-coronanvirus-pandemic-b1796315.html</ref> โดยจากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่างให้ความเห็นว่า ทรัมป์ล้มเหลวในการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา<ref>{{Cite web|last=Westenfeld|first=Adrienne|date=2020-11-16|title=Barack Obama Broke Down Every Way Donald Trump Failed to Handle COVID-19|url=https://www.esquire.com/entertainment/books/a34686511/barack-obama-coronavirus-response-donald-trump/|website=Esquire|language=en-US}}</ref> และ ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในด้านสิทธิมนุษยชนและการต่อต้าน[[คตินิยมเชื้อชาติ|การเหยียดผิว]]จาก[[การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์|กรณีการเสียชีวิตของ "จอร์จ ฟลอยด์]]"<ref>{{Cite news|date=2020-07-16|title=George Floyd: What happened in the final moments of his life|language=en-GB|work=BBC News|url=https://www.bbc.com/news/world-us-canada-52861726|access-date=2021-05-24}}</ref> รวมทั้งการประกาศ[[สงครามการค้าจีน–สหรัฐ|สงครามการค้า]] การตั้งกำแพงภาษี กับจีนและคู่ค้าอีกหลายประเทศได้ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจลามไปทั้งโลก<ref>https://claremontreviewofbooks.com/why-trump-lost/</ref> ในขณะที่ประชาชนกว่า 74 ล้านเสียง ที่ยังคงเชื่อมั่นและเทคะแนนให้เขาเนื่องมาจากความมั่นใจในนโยบายทางเศรษฐกิจและการปราบปรามผู้ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งการแก้ปัญหาภาวะการว่างงานในประเทศ โดย[[รัฐจอร์เจีย]]ได้ประกาศนับคะแนนใหม่ด้วยมือหลังจากผลโหวตสุดท้ายไบเดนมีคะแนนนำทรัมป์อยู่เพียง 14,000 คะแนน แต่เมื่อมีการนับคะแนนใหม่อย่างเป็นทางการก็ได้รับการยืนยันว่าไบเดนเอาชนะทรัมป์ไปได้ โดยในช่วงแรกของการนับคะแนนรวมทั่วประเทศทรัมป์มีคะแนนนำห่างไบเดนในหลายมลรัฐพอสมควร แต่เมื่อมีการนับบัตรเลือกตั้งทาง[[ไปรษณีย์]] คะแนนของไบเดนก็ตีตื้นขึ้นมาและสามารถเอาชนะไปได้ในหลายมลรัฐ (การเลือกตั้งครั้งนี้เปิดให้มีการลงคะแนนล่วงหน้าทางไปรษณีย์เนื่องจากสถานการณ์โควิด)<ref>{{Cite web|title=2020 presidential election results|url=https://www.cnn.com/election/2020/results/president|website=www.cnn.com|language=en}}</ref>
 
นอกจากนี้ไบเดนยังถือเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ที่ได้รับคะแนนโหวต (Popular Vote) สูงที่สุดในประวัติศาสตร์มากถึง 81 ล้านเสียงอีกด้วย<ref>https://www.nbcnews.com/think/opinion/trump-lost-2020-election-biden-could-he-win-2024-ncna1247805</ref> ทรัมป์ได้ลงจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการ<ref>https://www.bbc.com/news/55730719</ref> เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021 โดยปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์และปฏิเสธที่จะเข้าร่วมพิธีสาบานตนของไบเดน และ กมลา แฮร์ริส ปัจจุบันเขาพำนักอยู่ที่ พาล์มบีช (Palm Beach) [[รัฐฟลอริดา]] และ มีท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ที่จะลงสมัครเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2024<ref>https://www.usatoday.com/story/news/politics/2021/04/19/donald-trump-again-teases-another-presidential-run-2024/7295093002/</ref><ref>https://www.axios.com/franklin-graham-trump-2024-president-054ab9ca-f55e-4588-baa0-b564cefa0592.html</ref>
 
== โซเชียลมีเดีย ==
ทรัมป์ถือเป็นหนึ่งในบุคคลระดับโลกที่มีชื่อเสียงในด้านการใช้[[สื่อสังคม|โซเชียล มีเดีย]]<ref>https://www.theverge.com/2021/5/4/22419850/donald-trump-social-media-platform-ban-twitter-facebook</ref> โดยเขามีผู้ติดตามจำนวนมากนับตั้งแต่สมัครบัญชี[[ทวิตเตอร์]]ใน ค.ศ. 2009 และ มีจำนวนผู้ติดตามสูงถึง 90 ล้านคนทั่วโลก โดยตลอดระยะเวลา 12 ปี เขาทำการโพสต์ในทวิตเตอร์ไปถึง 57,000 ครั้ง โดยเป็นการโพสต์ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง 25,000 ครั้ง<ref>https://www.bbc.com/news/technology-57018148</ref> เขายังชื่นชอบการติดต่อสื่อสารผ่าน [[เฟซบุ๊ก]] โดยมักใช้เป็นพื้นที่ส่วนตัวในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง โจมตีคู่แข่งทางการเมืองฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่ก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง เช่น บารัก โอบามา และ โจ ไบเดน รวมถึง [[แนนซี เพโลซี]] ประธาน[[สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา]] ผู้ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับทรัมป์มาตลอดตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งในช่วงแรก<ref>https://www.bbc.com/news/av/world-us-canada-48386303</ref> บัญชีเฟซบุ๊กของทรัมป์ถูกแบนอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม ปี 2021<ref>https://www.nytimes.com/2021/05/05/technology/facebook-trump-ban-upheld.html</ref>
 
== ความสัมพันธ์กับสื่อ ==
[[ไฟล์:President Trump's First 100 Days- 45 (33573172373).jpg|thumb|ทรัมป์ขณะให้สัมภาษณ์กับสื่อ ณ ทำเนียบขาวในปี 2017]]
ทรัมป์มีชื่อเสียงในด้านการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมาตลอดหลายปี โดยเฉพาะเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2016 เขามีความสัมพันธ์ในแง่ที่เรียกว่า "ทั้งรักทั้งเกลียด" (Love - Hate relationship) กับสื่อต่างๆทั้งในและต่างประเทศ<ref>https://www.pressgazette.co.uk/trump-vs-media-freedom-of-press-distrust/</ref> เขามักเรียกสื่อที่เขียนข่าวโจมตีเขาในแง่ลบว่าเป็นสื่อจอมลวงโลก (fake news media) และ กล่าวว่าสื่อเหล่านี้เป็นศัตรูต่อประชาชนรวมทั้งประเทศชาติ ในฐานะประธานาธิบดีทรัมป์เปิดเผยต่อสาธารณะชนอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการเพิกถอนหนังสือรับรองของนักข่าวที่เขามองว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงไม่สร้างสรรค์<ref>https://www.rutgers.edu/news/how-trump-shaped-media</ref> ทีมกฎหมายของเขาทำการเพิกถอนบัตรประจำตัวของผู้สื่อข่าวประจำ[[ทำเนียบขาว]] 2 คน ซึ่งได้รับเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการกระทำดังกล่าว หลายต่อหลายครั้งที่ทรัมป์ถูกโจมตีว่ามักใช้วาจาข่มขู่ผู้สื่อข่าวหลายครั้ง ในช่วงต้นปี 2020 ทีมแคมเปญหาเสียงของทรัมป์ฟ้องร้องหนังสือพิมพ์เดอะ[[เดอะนิวยอร์กไทมส์|นิวยอร์กไทมส์]] [[เดอะวอชิงตันโพสต์]] และ [[ซีเอ็นเอ็น]]ในข้อหาหมิ่นประมาท ก่อนที่คดีดังกล่าวจะถูกยกฟ้องเนื่องจากศาลเห็นว่าสื่อดังกล่าวไม่มีเจตนาในการดูหมิ่นทรัมป์
 
== วงการมวยปล้ำ ==
ในปี ค.ศ. 2013 [[ดับเบิลยูดับเบิลยูอี]] ได้บรรจุชื่อทรัมป์เข้าสู่[[หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี]]ประจำปี ค.ศ. 2013 ในหมวด Celebrity ([[ผู้มีชื่อเสียง]]ที่ได้รับการจดจำในการมีบทบาทและ / หรือมีความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับ WWE)<ref>{{cite web |url=http://www.wwe.com/classics/wwe-hall-of-fame/donald-trump-announced-for-wwe-hall-of-fame-26090724 |title=Donald Trump announced for WWE Hall of Fame |first=Ryan |last=Murphy |publisher=[[WWE]]}}</ref> โดยเฉพาะในศึก [[เรสเซิลเมเนีย|WrestleMania]] ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2007 ซึ่งทรัมป์ได้เป็นแขกรับเชิญในรายการ ณ เวลานั้น ทรัมป์ยังมีสถานะเป็นพิธีกรทีวีและนักธุรกิจซึ่งการมาขึ้นสังเวียนครั้งนั้น เขาได้รับบทบาทเป็นหุ้นส่วนของสมาคม WWE ก่อนจะแตกคอกับ วินซ์ แม็คมาน ประธานบริหาร ทำให้ทั้งคู่มาเผชิญหน้ากันในศึก WrestleMania โดยต่างฝ่ายต่างถือหางนักมวยปล้ำฝั่งละ 1 คน ซึ่ง ทรัมป์ อยู่ฝั่งของ [[บ็อบบี แลชลีย์|บ็อบบี้ แลชลีย์]] ส่วน แม็คมาน เลือก [[อูมากา]] พร้อมกับมีเดิมพันว่านักมวยปล้ำของใครแพ้ ฝั่งนั้นจะต้องโกนหัวต่อหน้าผู้ชมเต็มสนาม ไฟต์ดังกล่าว นักมวยปล้ำทั้งสองฝ่ายสู้กันอย่างดุเดือด ขณะที่ ทรัมป์ และ แม็คมาน ก็มีการออกอาวุธใส่กันพอหอมปากหอมคอ ส่วนผลการต่อสู้ปรากฏว่า บ็อบบี้ แลชลีย์ เป็นฝ่ายคว้าชัยชนะได้สำเร็จ ทำให้ ทรัมป์ และ นักมวยปล้ำคู่ใจจัดการจับแม็คมานโกนหัวกันสดๆบนเวที
 
== ทรัพย์สิน ==
บรรทัด 111:
 
[[ไฟล์:New York City Mai 2009 PD 045.JPG|thumb|ทรัมป์ทาวเวอร์ ตึกระฟ้าหรูหราย่านแมนแฮตตันในนิวยอร์กถือเป็นกิจการหลักที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่ ดอนัลด์ ทรัมป์ ]]
อย่างไรก็ตามจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทรัมป์ เปิดเผยว่า อาณาจักรธุรกิจของตนเองได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการล็อกดาวน์เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีผลต่อรายได้ โดยรายได้จากโรงแรมในเครือของทรัมป์ ทั้งใน[[วอชิงตัน ดี.ซี.|วอชิงตัน]]และ[[ลาสเวกัส]]ลดลงกว่าครึ่ง รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬา[[กอล์ฟ]] จนทำให้รายได้โดยรวมของเขาลดลงจนเหลืออยู่ที่ประมาณ 273-308 ล้านดอลลาร์ ในการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินครั้งสุดท้ายในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐ นายทรัมป์ได้ลงรายละเอียดความเสียหายที่เกิดจากโควิด-19 ในตอนที่ธุรกิจท่องเที่ยวมากมายได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว โดยสมัยที่เป็นผู้นำสหรัฐ ทรัมป์ได้ต่อต้านนโยบายที่จะชะลอการแพร่ระบาดผ่านการใส่[[หน้ากากอนามัย]]และยืนยันว่าสามารถเดินทางท่องเที่ยวในประเทศได้อย่างปลอดภัย ข้อมูลการเงินที่ครอบคลุมตลอดทั้งปี 2020 จนถึง 20 วันแรกของปี 2021 ชี้ให้เห็นว่า รายได้จากโรงแรมทรัมป์ใน[[วอชิงตัน ดี.ซี.|วอชิงตัน]] ลดลงเหลือ 15.1 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 40.5 ล้านดอลลาร์เมื่อปีก่อนหน้า<ref>{{Cite web|title=The Trump Organization {{!}} Luxury Real Estate Portfolio|url=https://www.trump.com/|website=www.trump.com|language=en}}</ref> ขณะที่สาขา[[ลาสเวกัส]] ยอดขายที่เกี่ยวข้องกับโรงแรมลดลงเหลือ 9.2 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 23.3 ล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า นอกจากนี้ กอล์ฟรีสอร์ตที่เมือง[[ไมแอมี]] ซึ่งเป็นธุรกิจสำคัญอีกแห่งของทรัมป์ ก็มีรายได้ลดลงเหลือ 44 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 77 ล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า ขณะที่สนามกอล์ฟของทรัมป์ ทั้งใน[[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]]และ[[ประเทศไอร์แลนด์|ไอร์แลนด์]]ก็มีรายได้ลดลงประมาณ 2 ใน 3 ของที่เคยทำได้ในปีก่อนหน้า โดย ข้อมูลจากการจัดอันดับมหาเศรษฐีของบลูมเบิร์ก (Bloomberg Billionaires Index) พบว่า ทรัพย์สินของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ลดลงราว 700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 21,525 ล้านบาท เหลือ 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 70,725 ล้านบาท หลังก้าวลงจากตำแหน่งผู้นำสหรัฐ<ref name="bio">{{cite web|title=Donald (John) Trump biography |work=biography.com |url=http://www.biography.com/search/article.do?id=9511238 |accessdate=2008-07-06 |archive-url=https://web.archive.org/web/20090108145719/http://www.biography.com/search/article.do?id=9511238 |archive-date=2009-01-08}}</ref>
 
ที่มา: นิตยสารโพสต์ทูเดย์