ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยายมราช (ศุข สินศุข)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้า
 
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''เจ้าพระยายมราช''' (? - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2395) นามเดิมว่า '''ศุข''' หรือ '''สุก''' หรือ '''ทองสุก''' ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกรมพระนครบาลในต้นรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นพระราชปนัดดาใน[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] เป็นต้นสกุล"'''สินศุข'''"
 
เจ้าพระยายมราช (ศุข) เป็นบุตรของพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน)<ref name=":0">'''ลำดับสกุลเก่า บางสกุล ภาคที่ ๔ สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี (ฉะบับร่าง)'''. โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์ พระนคร; ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐.</ref> ซึ่งพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน) นั้น เป็นพระโอรสใน[[สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์|เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ (จุ้ย)]] ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังนั้น เจ้าพระยายมราช (ศุข) จึงเป็นพระราชปนัดดา (เหลน) ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยายมราช (ศุข) มีพี่น้องที่รับราชการได้แก่ พระชาติสุเรนทร (สอน) พระมหาสงคราม (เอี่ยม) และจมื่นมหาสนิท (เอม)<ref name=":0" /> มีน้องชายชื่อนุด ซึ่งเป็นปู่ของ[[เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)]]
 
เจ้าพระยายมราช (ศุข) ปรากฏครั้งแรกรับราชการเป็นพระยาเพชรบุรีเจ้าเมืองเพชรบุรี ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในพ.ศ. 2375 ตนกูกูเด่น (Tunku Kudin) หลานของอดีตเจ้าเมืองไทรบุรีตวนกูปะแงหรัน เป็นกบฏยกทัพเข้ายึดเมืองไทรบุรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าฯมีพระราชโองการให้พระยาเพชรบุรี (ศุข) พร้อมกับ[[พระยาราชวังสัน (ฉิม)]] พระยาพิไชยบุรินทรา และพระยาณรงค์ฤทธิโกษา ยกทัพเรือลงไปปราบกบฏไทรบุรีล่วงหน้าก่อน จากนั้นจึงมีพระราชโองการให้[[เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)]] ยกทัพเรือใหญ่ตามลงไป เมื่อพระยาเพชรบุรี (ศุข) และเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ยกทัพไปถึงเมืองสงขลา เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้ปราบกบฏของตนกูกูเด่นลงได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว<ref>เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''.</ref>
 
ในพ.ศ. 2381 หลานอีกคนหนึ่งของพระยาไทรบุรีปะแงหรัน ชื่อว่าตนกูมูฮาหมัดซาอัด (Tunku Muhammad Sa'ad) กบฏยกทัพเข้ายึดเมืองไทรบุรีอีกครั้ง นำไปสู่[[กบฏหวันหมาดหลี]] พระยาเพชรบุรี (ศุข) ได้ติดตาม[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)|พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค)]] ยกทัพเรือลงไปปราบกบฏไทรบุรีอีกครั้ง เมื่อทัพเรือของพระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) ยกไปถึงเมืองสงขลา ปรากฏว่าฝ่ายเมืองนครศรีธรรมราชได้ปราบกบฏไทรบุรีลงได้สำเร็จแล้ว ในเวลานั้นเอง เกิดการวิวาทขัดแย้งระหว่างต่วนสนิปากแดงเจ้าเมืองกลันตัน และตนกูบือซา (Tunku Besar) หรือ[[ตนกูปะสา]] นำไปสู่[[สงครามกลางเมืองกลันตัน]] พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) มีคำสั่งเรียกตัวต่วนสนิและตนกูปะสามาพบที่เมืองสงขลาเพื่อเจรจาสงบศึก แต่ต่วนสนิและตนกูปะสาไม่มา พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) จึงมอบหมายให้พระยาเพชรบุรี (ศุข) ยกทัพเรือไปตั้งอยู่ที่[[อำเภอสายบุรี|เมืองสายบุรี]] เพื่อกดดันให้ต่วนสนิและตนกูปะสาสงบศึกยุติการรบ<ref>กรมศิลปากร. ''จดหมายหลวงอุดมสมบัติ''. พุทธศักราช ๒๕๓๐.</ref>
 
ในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 พระยาเพชรบุรี (ศุข) ได้เลื่อนเป็น''พระยาสุรเสนา'' เจ้ากรมกลาโหมฝ่ายเหนือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในพ.ศ. 2394 ทรงแต่งตั้งพระยาสุรเสนา (ศุข) ขึ้นเป็น''เจ้าพระยายมราช ชาติเสนางคนรินทร์ มหินทราธิบดีศรีวิไชย ราชมไหสวรรยบริรักษ์ ภูมิพิทักษโลกาธิกรณ์ ทัณฑฤทธิธร ชาติศรสิงหพาหนเทพยมุรธาธร มหานครบาลสมุหบดี อภัยพิรียบรากรมพาหุ''<ref>ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. '''พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔'''. ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗; โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์ พระนคร.</ref> เสนาบดีกรมพระนครบาล เจ้าพระยายมราช (ศุข) ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2395<ref>สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. '''เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์'''. กรุงเทพ : กรมศิลปากร, 2545.</ref>