ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Pooye (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Horus
ป้ายระบุ: เปลี่ยนทางใหม่ ย้อนรวดเดียว
Pooye (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับให้สมบูรณ์เรียบร้อยดี
ป้ายระบุ: ลบหน้าเปลี่ยนทาง ถูกย้อนกลับแล้ว ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
บรรทัด 1:
#เปลี่ยนทาง{{กล่องข้อมูล [[คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม]]
| ชื่อ = วิทยาลัยดุริยางคศิลป์<br/>[[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]]
| ชื่ออังกฤษ = College of Music, Mahasarakham University
| ภาพ = [[ไฟล์:ตราวิทยาลัยดุริยางคศิลป์_มมส.png|200px]]
| วันที่ก่อตั้ง ={{วันเกิดและอายุ|2551|9|26}}
| คณบดี = ผศ.ดร.คมกริช การินทร์
| สีประจำคณะ = {{color box|#6D2C90}} [[สีม่วง]]
| ชื่อย่อ =วดศ. / MUA
| ที่อยู่ = อาคารวิทยาบริการ C เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
| website = [http://www.music.msu.ac.th music.msu.ac.th]
|ประเภท=คณะ
|คำขวัญ=สร้างคน สร้างจินตนาการ สร้างงานคุณภาพ
|โทรศัพท์=043-754385, 3780
| วารสาร = [https://music.msu.ac.th/mod/book/view.php?id=293 วารสารดนตรีและศิลปะวัฒนธรรม]
}}
 
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: College of Music) [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] เป็นหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนด้าน[[ดนตรี]] ดำเนินงานโดยยึดหลักปรัชญาของ[[มหาวิทยาลัย]]มหาสารคามที่ว่า พหูนํ ปณฺฑิโตชีเว “ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน” และหลักปรัชญาของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ที่ว่า “สร้างคน สร้างจินตนาการ สร้างงานคุณภาพ” วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นวิทยาลัยดนตรีชั้นนำของประเทศ และในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิทยาดุริยางคศิลป์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาวิทยาลัยเพื่อความเป็นเลิศ 5 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนการ[[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|ด้าน]]สอน [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|ด้านการวิ]]จัย [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|ด้าน]]การบริการวิชาการสังคม [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|ด้าน]]การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ[[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|ด้าน]]การบริหารจัดการ ตลอดจนเป็นแนวทางในการดำเนินงานโดยอยู่ภายใต้ค่านิยม ของวิทยาลัยได้แก่ “MUSIC” เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมดนตรี จนถึงระดับปริญญาเอก มีสาขาวิชาที่หลากหลายครอบคลุมทุกเนื้อหาทาง[[ดนตรี]] ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนด้านดนตรี เทียบเท่าคณะ แห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
== ประวัติ ==
“วิทยาลัยดุริยางคศิลป์” เป็นโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี "พ.ศ. 2550– 2554" (ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ "28 กันยายน" 2550)   เดิมเป็นสาขาวิชาดุริยางคศิลป์  สังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์ และในปี "พ.ศ. 2550" สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ได้แยกการบริหารออกมาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นโครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนให้แก่บุคคลที่สนใจศึกษาในสาขาวิชาด้านดนตรี โดยในปี "พ.ศ. 2540" ได้เปิดหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ ปี "พ.ศ. 2549" เปิดหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ ปี "พ.ศ. 2550" ได้ร่วมมือกับโรงเรียนสาธิต [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] จัดการเรียนการสอนหลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี และในปี "พ.ศ. 2551" ได้เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
 
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] ได้รับประกาศให้จัดตั้งเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา "พ.ศ. 2550" และประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา  เรื่องหลักเกณฑ์การจัดตั้งส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา
 
"พ.ศ. 2551" สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามในการประชุมครั้งที่ 9/2551 เมื่อวันที่ "26 กันยายน" 2551 จึงมีมติอนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์เป็นส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของ[[สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ]] "พ.ศ. 2550" และมีฐานะเทียบเท่าคณะมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษ “College of Music”
 
'''ปรัชญา'''
 
* สร้างคน สร้าจินตนาการ สร้างงานคุณภาพ
 
== หลักสูตรที่เปิดสอน ==
ปัจจุบัน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดการเรียนการสอนในหลักสูตร<ref>[https://music.msu.ac.th/mod/book/view.php?id=70&chapterid=21 หลักสูตรวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มมส]</ref> ได้แก่
 
{| class = "wikitable" width = 100%
|-
! colspan = "4" style = "background: #FFD700; color: #333333; " | หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
|-
! style = "background: #6D2C90; color:white; "| ระดับเตรียมอุดมดนตรี
! style = "background: #6D2C90; color:white; "| ระดับปริญญาบัณฑิต
! style = "background: #6D2C90; color:white; "| ระดับปริญญามหาบัณฑิต
! style = "background: #6D2C90; color:white; "| ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
|-
| valign="top" |
'''หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี'''
* โครงการพิเศษ ศิลป์-ดนตรี<br/>[[โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)|โรงเรียนสาธิต มมส ฝ่ายมัธยม]]
| valign="top" |
'''หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.)'''
* สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
** แขนงวิชาดนตรีพื้นบ้าน
** แขนงวิชาดนตรีไทย
** แขนงวิชาดนตรีตะวันตก
** แขนงวิชาดนตรีเอเชีย
'''หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)'''
* สาขาวิชาดนตรีศึกษา
** กลุ่มวิชาดนตรีพื้นบ้าน
** กลุ่มวิชาดนตรีไทย
** กลุ่มวิชาดนตรีตะวันตก
| valign="top" |
'''หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)'''
* สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
** แขนงวิชาดนตรีวิทยา
** แขนงวิชาดนตรีศึกษา
** แขนงวิชาดนตรีพื้นบ้าน
** แขนงวิชาหมอลำ
** แขนงวิชาการจัดการดนตรีและศิลปะการแสดง
** แขนงวิชาบริหารธุรกิจดนตรีและเทคโนโลยีดนตรี
** แขนงวิชาการประพันธ์เพลง
| valign="top" |
'''หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) '''
* สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
** แขนงวิชาดนตรีวิทยา
** แขนงวิชาดนตรีศึกษา
** แขนงวิชาการบริหารจัดการทางดนตรี
|-
|}
 
== ด้านการจัดการเรียนการสอน ==
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีระบบและกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของวิทยาลัย มีการกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้อย่างชัดเจน มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ทุกระดับการศึกษา มีการออกแบบการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มีการสนับสนุนการใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษา มีระบบการนำข้อมูลย้อนกลับมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และมีโครงการพัฒนาบุคลากรและนิสิตที่ครอบคลุมเป้าประสงค์ในการผลิตบัณฑิตทางด้านดนตรี สนับสนุนงบประมาณในการผลิตเอกสาร ตำรา แก่คณาจารย์ทุกระดับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีระบบกลไกในการส่งเสริมและพัฒนานิสิตนักศึกษาตามศักยภาพให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยจัดสวัสดิการและสิ่งอานวยความสะดวกที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตมีแนวทางส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาบันและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มีการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานิสิตที่จัดโดยสโมสรนิสิต สาขาวิชา มีการส่งเสริมให้นิสิตสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีแนวทางในการดูแล ติดตามนิสิต เพื่อให้ตระหนักในการปฏิบัติตามคุณธรรม จริยธรรม และวินัยนิสิต โดยเน้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของวิชาชีพต่อการดำรงชีวิตในระหว่างการเป็นนิสิตและสังคมในอนาคต มีการส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากร สิ่งอานวยความสะดวก รวมทั้งบุคลากรในการดำเนินการเพื่อบูรณนาการเรียนการสอนเข้ากับพันธกิจด้านอื่นๆ ของวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพนิสิตตามนโยบายของ[[มหาวิทยาลัย]] และ[[กระทรวงศึกษาธิการ]]
 
== ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ==
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ให้ความสำคัญกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้กำหนดเป็นจุดเน้นที่เป็นอัตลักษณ์ของวิทยาลัย ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรและนิสิตเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจะได้มีประสบการณ์ที่กว้างไกล และจัดโครงการ/กิจกรรมเป็นรูปธรรม เน้นการส่งเสริม[[เม็กซิโกซิตี#.E0.B8.A8.E0.B8.B4.E0.B8.A5.E0.B8.9B.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.98.E0.B8.A3.E0.B8.A3.E0.B8.A1|ศิลปวัฒนธรรม]] ด้านการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
== ด้านบริการวิชาการสังคม ==
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีวิสัยทัศน์เพื่อเป็นหน่วยงานจัดการเรียนการสอนทางด้านดนตรีที่เป็นเลิศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยกมาตรฐานการเรียนการสอนดนตรีให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ มีการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์และนิสิตมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยการบริการวิชาการ และการทำนุบำรุง[[เม็กซิโกซิตี#.E0.B8.A8.E0.B8.B4.E0.B8.A5.E0.B8.9B.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.98.E0.B8.A3.E0.B8.A3.E0.B8.A1|ศิลปวัฒนธรรม]] มีการกำหนดกลยุทธ์ด้านบริการวิชาการ โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้ทุกสาขาวิชา จัดและเข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการ มีการประเมินผลเพื่อนำผลมาพัฒนารูปแบบและเนื้อหาของกิจกรรมบริการวิชาการให้เกิดประโยชน์สูงสุดในครั้งต่อไป และได้นำความรู้และประสบการณ์ในการบริการวิชาการและวิชาชีพมาบูรณาการในการเรียนการสอนและวิจัย
 
== ด้านบริการจัดการ ==
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย และแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาวิทยาลัย โดยให้บุคลากรมีส่วนร่วม มีการนำ KPIs, ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษามาเป็นเครื่องมือในการวัดผลการดำเนินงานตามภารกิจหลัก มีการประชุมเสวนาเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพงานระหว่างบุคคล สาขาวิชา และวิทยาลัย มีการติดตามพัฒนาเพื่อปรับดัชนีชี้วัดหลักจากการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทุกเดือน มีการมอบหมายและกระจายอำนาจด้านการบริหารงานให้กับผู้บริหารทุกระดับและทีมงานตามความเหมาะสม ผู้บริหารทุกระดับมีการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาล มีการติดตามผลการดำเนินงานตามภารกิจทุกเดือน เพื่อกำหนดเป็นแผนการดำเนินงานในแต่ละด้าน มีการจัดสรรงบประมาณ จัดสรรอัตรากาลังและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับ และมีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีและสื่อสนับสนุนที่ทันสมัย และบริหารงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า มีการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์กร
 
== ทำเนียบผู้บริหาร ==
 
ตั้งแต่เปิดทำการสอน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีคณบดีดำรงตำแหน่งในสังกัดต่างๆของวิทยาลัย ตามลำดับต่อไปนี้
{| class="wikitable" width="100%"
! colspan="3" align="center" style="background: #6D2C90" |<span style="color:White"> คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</span>
|-
! style="background: #A56FAF; color:white;" |รายนามคณบดี
! style="background: #A56FAF; color:white;" |วาระการดำรงตำแหน่ง
|-
| align="left" |1. รศ.ดร.สุพรรณี เหลือบุญชู
|"พ.ศ. 2525"|"พ.ศ. 2551" - "พ.ศ. 2529"|"พ.ศ. 2555"
|-
| align="left" |2. ผศ.ดร.ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์
|"พ.ศ. 2525"|"พ.ศ. 2556" - "พ.ศ. 2529"|"พ.ศ. 2559"
|-
| align="left" |3. ผศ.ดร.คมกริช การินทร์
|"พ.ศ. 2559"|"พ.ศ. 2560" - ปัจจุบัน 
|}
 
== หน่วยงานภายใน ==
'''- สำนักงานเลขานุการ'''
* งานบุคคล
* งานวิชาการ
* งานแผนและงบประมาณ
 
'''- ภาควิชาดุริยางคศิลป์พื้นบ้าน'''
 
'''- ภาควิชาดุริยางคศิลป์ไทย'''
 
'''- ภาควิชาดุริยางคศิลป์ตะวันตก'''
 
'''- บัณฑิตศึกษา'''
 
'''- หน่วยงานวิจัย'''
* หน่วยวิจัยดนตรีและศิลปวัฒนธรรม(ดนตรีผู้ไท)
 
== ด้านความร่วมมือกับภาคเอกชน ==
สถาบันดนตรียามาฮ่า (สยามกลการ) ผู้นำดนตรีศึกษารายแรกของเมืองไทย จับมือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดโรงเรียนสอนดนตรี ณ ศูนย์การค้าเสริมไทยคอมเพล็กซ์ ด้วยเงินลงทุน 10 ล้านบาท เตรียมปั้นบุคลากรดนตรีครั้งใหญ่ โดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นเทรนเนอร์ คัดเลือกนิสิต นักศึกษาคนรุ่นใหม่ เปิดประสบการณ์ดนตรีสร้างรายได้มหาศาล เตรียมพร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด มองเห็นความสำคัญในการผลิตบุคลากรด้านดนตรี นับเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาดนตรี ควบคู่ไปกับการพัฒนานิสิต นักศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถด้านดนตรี เพื่อเสริมศักยภาพของนิสิตไทยสู่บุคลากรดนตรี มืออาชีพ และก้าวสู่ระดับสากล อีกทั้ง เตรียมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015
โดยมีความพร้อมในการขยายเครือข่ายร่วมกับพันธมิตรธุรกิจดนตรี คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดโรงเรียนสอนดนตรี ณ ศูนย์การค้าเสริมไทยคอมเพล็กซ์ ติดกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยได้รับความร่วมมือคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ในการเป็นเทรนเนอร์ของโรงเรียนในแขนงวิชาต่าง ๆ อาทิ เปียโน กีตาร์คลาสสิค กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบส กลองชุด ไวโอลิน และหลักสูตรอื่นๆ ของสถาบัน ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรดนตรีในสาขาดนตรีไทย และดนตรีพื้นบ้าน เพื่อเปิดสอนให้กับบุคคลทั่วไป และยังเป็นการผลิตบุคลากรนักดนตรีที่มีความรู้ และมีคุณภาพ ตลอดจนให้ความสำคัญเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอนต้องได้มาตรฐานสากล เพื่อรักษาระดับมาตรฐานทางด้านการเรียนการสอนเอาไว้ให้ดีที่สุดในเมืองไทย ตอบสนองความต้องการของนิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจอยากศึกษาดนตรี
 
== พิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร ==
[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ[[พิธีพระราชทานปริญญาบัตร]]แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] ในช่วงเดือนธันวาคมเป็นประจำทุกปี
*ครุยดุษฎีบัณฑิต ทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำ เย็บเป็นเสื้อคลุมยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณ หลังจีบตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดเทา กว้าง 10 เซนติเมตร ขลิบริมด้วยผ้าสีเหลือง กว้าง 1.5 เซนติเมตร เย็บติดเป็นสาบตามสีมหาวิทยาลัยตลอดด้านหน้าทั้งสองข้าง แขนเสื้อปลายบานยาวระดับข้อมือ ตอนกลางแขนเสื้อทั้งสองข้างมีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเทา กว้าง 7 เซนติเมตร ยาว 42 เซนติเมตร ขลิบริมด้วยผ้าสีเหลือง กว้าง 0.5 เซนติเมตร ปลายแถบทั้งสองข้างเป็นมุมแหลม จำนวน 3 แถบ ติดเรียงกันตามขวางระยะห่างกัน 3.5 เซนติเมตร ตัวเสื้อประดับเข็มวิทยฐานะ จำนวน 2 อัน ในระดับหน้าอกกึ่งกลางของแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเทาด้านหน้าทั้งสองข้าง มีผ้าคล้องคอด้านในทำด้วยผ้าต่วนหรือแพรสีเหลือง มีแถบทำด้วยผ้าต่วนหรือแพรสีเทา กว้าง 8 เซนติเมตร ทาบจากมุมด้านล่างเป็นแนวยาวรอบ และมีแพรสีเหลือง กว้าง 1.5 เซนติเมตร ขลิบริมขอบล่าง
*ครุยมหาบัณฑิต เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต แต่ตอนกลางแขนมีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเท่า จำนวน 2 แถบ ติดเรียงกันตามขวางระยะห่าง 3.5 เซนติเมตร
 
== การรับบุคคลเข้าศึกษา ==
 
=== ระดับปริญญาตรี ===
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนที่มีความรู้ความสามารถด้านดนตรี ทั้งดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีไทย ดนตรีตะวันออก และดนตรีตะวันตก เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยครูผู้สอนหรือควบคุมวงดนตรีในโรงเรียนต่างๆ เป็นคัดเลือกนักเรียนที่อยู่ในความดูแลให้เข้าศึกษา ในระดับอุดมศึกษาตามความถนัดของแต่ละคน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านดนตรีเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนดนตรี รวมทั้งการผลิตบุคลากรและผลงานทางดนตรีให้กับสังคมของประเทศและสังคมโลกต่อไป โดยมีวัตุถุประสงค์คือ 1. เพื่อรับนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถดีเด่นทางด้านดนตรี ทั้งดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีไทย และดนตรีตะวันตก เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2. เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนได้เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา 3. เพื่อครูผู้สอนได้เป็นผู้สนับสนุนและคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 
'''วิทยาลัยดุริยางคศิลป์''' [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|'''มหาวิทยาลัยมหาสารคาม''']] มีเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 โครงการ ได้แก่
 
* โครงการรับผ่าน[[การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย#%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87 (Admissions)|ระบบแอดมิสชันของคณะกรรมการการอุดมศึกษา]]
* โครงการโควต้ารับตรง [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]]
* โครงการรับตรงระบบพิเศษ [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]]<ref>{{cite web|date=9 เมษายน 2557|title=โปสเตอร์การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ระบบพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2557|url=http://www.acad.msu.ac.th/file_uploads/news_files/file_02-2014-04-09123529.pdf|publisher=acad.msu.ac.th|accessdate=19 พฤษภาคม 2557}}</ref><ref>{{cite web|date=18 มีนาคม 2557|title=ประกาศการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ระบบพิเศษ กรณีนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2557|url=http://www.acad.msu.ac.th/file_uploads/news_files/file_02-2014-04-04152101.pdf|publisher=acad.msu.ac.th|page=2|accessdate=18 พฤษภาคม 2557}}</ref>
* โครงการศิษย์ก้นกุฏิดนตรีและผู้มีความรู้ความสามารถดีเด่นด้านดนตรี
* โครงการโควตาส่งเสริมเยาวชนดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม
 
=== ระดับปริญญาโท ===
หลักสูตรระดับปริญญาโท แบ่งเป็น 2 แผน คือ แผน ก และแผน ข ดังนี้
 
* แผน ก แบบ ก 1 หมายถึง การเรียนที่มีเพียงการทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว มีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และจะต้องทำกิจกรรมทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ อาจมีการเรียนกระบวนวิชาเพิ่มเติมได้โดยไม่นับหน่วยกิตสะสม
 
* แผน ก แบบ ก 2 หมายถึง การเรียนที่เป็นลักษณะของการศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หน่วยกิตสะสมเป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรของสาขาวิชา
 
* แผน ข หมายถึง การศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา และทำการค้นคว้าแบบอิสระไม่น้อยกว่า 3-6 หน่วยกิต
 
มีการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง
 
=== ระดับปริญญาเอก ===
หลักสูตรระดับปริญญาเอก แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
 
* แบบ 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ แยกเป็น
 
แบบ 1.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แบบ 1.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
 
* แบบ 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ และศึกษากระบวนวิชาเพิ่มเติม แยกเป็น
 
== ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ==
'''ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง'''
 
* นที คณารัตน์ปทุม /นักร้อง/ เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 19/สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ แขนงวิชาดนตรีตะวันตก
* รัตนาพร สารศรี (โบว์ดำ ลำซิ่ง อาร์สยาม) /นักร้อง/สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ แขนงวิชาดนตรีดนตรีพื้นบ้าน (หมอลำ)
* วงศกรณ์ โยวะราช (ลำเพลิน วงศกร แกรมมี่โกลด์) /นักร้อง/
 
== สถานที่ตั้งและพื้นที่ ==
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ตั้งอยู่ที่อาคารวิทยบริการ C มีอาณาเขตอยู่ภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) ติดกับ[[วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|วิทยาลัยการเมืองการปกครอง]]และสำนักคอมพิวเตอร์ อยู่ตรงข้ามกับอาคารบรมราชกุมารี ที่ตั้งของ[[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] โดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีพื้นที่ลานอัฐศิลป์หรือลานแปดเหลี่ยม เป็นสถานที่ทำกิจกรรมหลักของคณะเช่นเดียวกับวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
 
==คณะและวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง==
 
{{col-begin}}
{{col-3}}
=== คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ===
* [[คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|คณะแพทยศาสตร์]]
* คณะพยาบาลศาสตร์
* [[คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|คณะเภสัชศาสตร์]]
* คณะสาธารณสุขศาสตร์
* [[คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|คณะสัตวแพทยศาสตร์]]
* บัณฑิตวิทยาลัย
{{col-3}}
 
=== คณะกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ===
* [[คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์]]
* [[คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|คณะศึกษาศาสตร์]]
* [[คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |คณะการบัญชีและการจัดการ]]
* คณะศิลปกรรมศาสตร์
* [[คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม]]
* [[วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|วิทยาลัยการเมืองการปกครอง]]
* [[วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|วิทยาลัยดุริยางคศิลป์]]
* คณะวัฒนธรรมศาสตร์
* คณะนิติศาสตร์
* สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
{{col-3}}
 
=== คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ===
* [[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|คณะวิทยาศาสตร์]]
* [[คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|คณะเทคโนโลยี]]
* [[คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|คณะวิทยาการสารสนเทศ]]
* คณะวิศวกรรมศาสตร์
* [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์]]
* คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
* สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
|}
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{คณะศิลปกรรมศาสตร์ในประเทศไทย}}
{{มหาวิทยาลัยมหาสารคาม}}
 
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม|วิทยาลัยดุริยางคศิลป์]]
[[หมวดหมู่:คณะดนตรีและดุริยางค์ในประเทศไทย]]