ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มนุษย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 59:
}}
 
'''มนุษย์''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Homo sapiens}}, [[ภาษาละติน]]แปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้มีปัญญา") เป็น[[สปีชีส์]]เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ใน[[สกุล]] ''[[โฮโม|Homo]].'' ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นใน[[ทวีปแอฟริกา]]ราว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว.<ref>{{cite web|url=http://www.mnh.si.edu/anthro/humanorigins/ha/sap.htm|title=Human Evolution by The Smithsonian Institution's Human Origins Program|work=Human Origins Initiative|publisher=[[Smithsonian Institution]]|accessdate=2010-08-30}}</ref>
 
เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับ[[ชิมแพนซี]] ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล ''Homo.''<ref>Tattersall, Ian & Jeffrey Schwartz. 2009. Evolution of the Genus Homo. Annual Review of Earth and Planetary Sciences. Vol. 37: 67-92. DOI: 10.1146/annurev.earth.031208.100202</ref> สปีชีส์ ''โฮโม'' แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ ''[[Homo erectus]]'', ''[[Homo ergaster]]'' ร่วมกับ ''[[Homo heidelbergensis]]'' ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่.<ref>Antón, Susan C. & Carl C. Swisher, III. 2004. Early Dispersals of homo from Africa. Annual Review of Anthropology. Vol. 33: 271-296. DOI: 10.1146/annurev.anthro.33.070203.144024</ref><ref>Trinkaus, Erik. 2005. Early Modern Humans. Annual Review of Anthropology. Vol. 34: 207-30 DOI: 10.1146/annurev.anthro.34.030905.154913</ref> ''Homo sapiens'' ได้เดินทางต่อไปเพื่อตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึง[[ยูเรเชีย]]ระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว<ref>{{cite web|url=http://www.sciencenews.org/view/generic/id/69197/title/Hints_of_earlier_human_exit_from_Africa |title=Hints Of Earlier Human Exit From Africa |doi=10.1126/science.1199113. |publisher=Science News |date= |accessdate=2011-05-01}}</ref><ref>Paul Rincon [http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-12300228 Humans 'left Africa much earlier'] BBC News, 27 January 2011</ref> [[ทวีปออสเตรเลีย]]ราว 40,000 ปีที่แล้ว [[ทวีปอเมริกา]]ราว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น [[ฮาวาย]] [[เกาะอีสเตอร์]] [[มาดากัสการ์]] [[นิวซีแลนด์]]ระหว่าง ค.ศ. 300 ถึง ค.ศ. 1280.<ref name=Lowe>{{cite web|url=http://researchcommons.waikato.ac.nz/bitstream/10289/2690/1/Lowe%202008%20Polynesian%20settlement%20guidebook.pdf|title=Polynesian settlement of New Zealand and the impacts of volcanism on early Maori society: an update|last=Lowe|first=David J.|year=2008|publisher=University of Waikato|accessdate=29 April 2010}}</ref><ref>Tim Appenzeller, Nature [http://www.nature.com/news/human-migrations-eastern-odyssey-1.10560 Human migrations: Eastern odyssey] 485, 24–26 doi:10.1038/485024a 02 May 2012</ref> ราว 10,000 ปีที่แล้ว มนุษย์เริ่มเกษตรกรรมแบบอยู่กับที่ โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ป่า ทำให้ประชากรทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว. ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิง และเทคนิคใหม่ ๆ ของการพัฒนาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ประชากรมนุษย์ยิ่งเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน. เนื่องจากมนุษย์อาศัยอยู่ในทุก[[ทวีป]]ยกเว้น[[แอนตาร์กติกา]] จึงได้ชื่อว่าเป็น "สปีชีส์ที่พบได้ทั่วโลก" (cosmopolitan species). จนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ขนาดประชากรมนุษย์ที่กองประชากรสหประชาชาติประเมินไว้ มีจำนวนอยู่ที่ราว 7 พันล้านคน.<ref>{{cite news|url=http://www.nytimes.com/2011/11/01/world/united-nations-reports-7-billion-humans-but-others-dont-count-on-it.html?_r=1|title=U.N. Reports 7 Billion Humans, but Others Don’t Count on It|last=Roberts|first=Sam|date=31 October 2011|work=[[The New York Times]]|accessdate=2011-11-07}}</ref>
 
มนุษย์มีลักษณะพิเศษ คือ มีสมองใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัว โดยเฉพาะ[[สมองชั้นนอก]] [[สมองส่วนหน้า]] และ[[สมองกลีบขมับ]]ที่พัฒนาเป็นอย่างดี ทำให้มนุษย์สามารถให้เหตุผลเชิงนามธรรม ใช้ภาษา พินิจภายใน (introspection) แก้ปัญหาและสร้างสรรค์วัฒนธรรมผ่านการเรียนรู้ทางสังคม. ความสามารถทางจิตใจของมนุษย์นี้ ประกอบกับการปรับตัวมาเคลื่อนไหวสองเท้าซึ่งทำให้มือว่างจัดการจับวัตถุได้ ทำให้มนุษย์สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้ดีกว่าสปีชีส์อื่นใดบนโลกมาก มนุษย์ยังเป็นสปีชีส์เดียวเท่าที่ทราบที่ก่อไฟและ[[การทำอาหาร|ทำอาหาร]]เป็น สวมใส่เสื้อผ้า และสร้างสรรค์ รวมถึงมีความสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีและศิลปะอื่น ๆ การศึกษามนุษย์เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ เรียกว่า [[มานุษยวิทยา]]
 
เอกลักษณ์ที่สำคัญของมนุษย์ ได้แก่ ความถนัดในการใช้ระบบการสื่อสารด้วยสัญลักษณ์ เช่น ภาษา เพื่อการแสดงออก แลกเปลี่ยนความคิด และการจัดระเบียบ. มนุษย์สร้างโครงสร้างทางสังคมอันซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยการรวมกลุ่มจำนวนมากที่มีทั้งร่วมมือและแข่งขันกัน จาก[[ครอบครัว]]และวงศาคณาญาติ ไปจนถึง[[รัฐ]]. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์ได้ก่อตั้งค่านิยม [[บรรทัดฐานทางสังคม]]และพิธีกรรม ซึ่งรวมกันเป็นรากฐานของสังคมมนุษย์. มนุษย์ขึ้นชื่อในความปรารถนาที่จะเข้าใจและมีอิทธิพลเหนือสิ่งแวดล้อม แสวงหาคำอธิบายและปรับเปลี่ยนปรากฏการณ์ต่าง ๆ ผ่าน[[วิทยาศาสตร์]] [[ปรัชญา]] [[เทพปกรณัม]] และ[[ศาสนา]].
 
== ประวัติศาสตร์ ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มนุษย์"