ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 74:
 
== สิ้นพระชนม์ ==
ตั้งแต่พระอาการทรุดหนักลงในมือหมอบรัดเลย์ พระชีพจรก็เต้นเร็วมากขึ้น ถึงวันที่ 27 กันยายน จับเฟือนพระสติ มีหมอชาวบ้านชราผู้หนึ่งรับอาสาฉลองพระเดชพระคุณด้วยยาศักดิ์สิทธิ์จนสุดกำลังแต่ขอตรวจพระอาการก่อน ก็ได้พระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าและตรวจตรา แต่หมอเฒ่าชราเข้าใจพระโรคผิด อ้างว่าพระโรคอันบานปลายนั้นเป็นเพราะรักษาผิดคัมภีร์ภาคครรภรักษาครรภ์ทรักษา โดยพระองค์บรรทมเพลิงน้อยไป หมอเฒ่าชราสมัครจะรักษาด้วยยาศักดิ์สิทธิ์ให้ทรงหายเป็นปลิดทิ้ง หลังการยืนยันคำพูดอย่างมั่นคงของหมอเฒ่าชรานี้ สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2395 ราว 18.00 น. สิริพระชนมายุ 17 พรรษา ยังความเศร้าโศกโศกเศร้าเสียใจแก่เหล่าข้าราชบริพารยิ่งนัก
 
มีการถวายน้ำสรงพระบรมศพและทรงเครื่องขัตติยมราภรณ์ศุกลัมตามพระราชประเพณี สมพระเกียรติยศพระอัครมเหสีอันสูงศักดิ์อย่างเต็มที่ ห่อด้วยกัปบาสิกะเศวตพัสตร์หลายชั้น แล้วเชิญลงพระลองทองและสวมพระชฎากษัตริย์เหนือพระศิโรเพศประกอบพระโกศทองแห่จากพระตำหนักพระอัครมเหสีในคืนนั้นสู่[[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] ประดิษฐานไว้เหนือพระแท่นแว่นฟ้าตรงที่ตั้งพระบรมศพ[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งประดิษฐานอยู่ไตรรัตน์มาส คือ ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2394 จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2395 พระศพสมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีก็ประดิษฐานไว้โดยมหศักดิ์สมพระเกียรติยศอย่างสูงประดับรอบล้อมไปด้วยสรรพสิ่งอลงกตทั้งปวงที่เฉลิมพระอิสริยยศ กระทั่งพระราชทานเพลิง ซึ่งกินเวลาราว 4-5 เดือน เนื่องจากมีการสร้างพระเมรุมาศและประกอบการพระราชพิธีสมพระอิสริยศักดิ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2395 (นับแบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2396)
เมื่อสมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์แล้ว บรรดาแพทย์ไทย จีน และอเมริกา ลงความเห็นกันว่ามูลเหตุพระโรคซึ่งยากที่จะบำบัดอย่างยิ่งและถึงทำลายพระชนม์ชีพในที่สุดนั้นได้ปรากฏขึ้นโดยลับ ๆ มาแต่ก่อนราชาภิเษกสมรส ด้วยทรงอวบพระองค์ผิดธรรมดาสตรีในวัยเดียวกัน และกลับซูบพระวรกายลงทันที ทั้งทรงพระกาสะตั้งแต่แรกเริ่มประชวร ภายหลังมาปรากฏขึ้น แต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2395 ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงกำพร้าพระบิดาและได้มาเป็นพระราชธิดาบุญธรรมของพระมหากษัตริย์โดยเดชะพระมหากรุณาธิคุณ พระองค์จึงเป็นผู้รับพระมรดก ทั้งสวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์ที่เป็นของพระชนกและพระปิตุจฉา พระองค์ไม่มีพระภาดาหรือพระภคินีร่วมหรือต่างพระชนนีแม้แต่พระองค์เดียว จึงไม่มีทายาทผู้รับพระมรดก พระมรดกจำต้องตกเข้าพระคลังหลวง เมื่อเสร็จพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ตกลงพระราชหฤทัยว่าพระสมบัติราชสมบัติของพระอัครมเหสีส่วนหนึ่งเป็นเงินจำนวนมากจะจ่ายเพื่อเพิ่มพูนทักษิณกุศล บูรณะสังฆาวาสของพระบิดาชนก และพระปิตุจฉาของพระอัครมเหสี ([[วัดเทพธิดารามวรวิหาร]]) แต่อีกส่วนหนึ่งจะจ่ายสร้างพระอารามใหม่ที่เขตกำแพงเมืองใหม่ ในพระนามาภิไธยของพระอัครมเหสีว่า “วัดโสมนัสวิหาร” ([[วัดโสมนัสราชวรวิหาร]]) และที่เหลือนอกจากนั้นจะจ่ายบุรณะปฏิสังขรณ์พระอาราม อันจำเป็นต้องช่วยเหลือเพื่อสาธารณประโยชน์
 
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี [[เจ้าจอมมารดางิ้ว]]ผู้เป็น พระมารดาชนนีได้ลาออกจากพระบรมมหาราชวังไปพำนักอยู่กับพระยาราชภักดีศรีรัตนสมบัติบวรพิริยพาหะ (ทองคำ สุวรรณทัต) ผู้เป็นพี่ชาย<ref name= "ancestry"/>
 
ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้ออกพระนามาภิไธยของพระองค์ว่า "'''สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี'''" ตามที่เป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 หากแต่มิได้เป็นพระราชชนนีในพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อ ๆ มา อนึ่งสมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี มีศักดิ์เป็นญาติกับ[[เจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4]]<ref>[[ส.พลายน้อย]]. ''พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม''. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 313</ref> พระมารดาใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์]]