ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว อิโมจิ การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9462031 สร้างโดย 1.47.38.3 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
 
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''ฉันชอบกุ๊บกิ๊บมากเขาสวยยยยย😻ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ''' ({{lang-en|special relativity}}) ถูกเสนอขึ้นในปี [[ค.ศ. 1905]] โดย[[อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์]] ในบทความของเขา "เกี่ยวกับพลศาสตร์ไฟฟ้าของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่ (On the Electrodynamics of Moving Bodies)" สามศตวรรษก่อนหน้านั้น หลักสัมพัทธภาพของ[[กาลิเลโอ กาลิเลอี|กาลิเลโอ]]กล่าวไว้ว่า การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ทั้งหมดเป็นการสัมพัทธ์ และไม่มีสถานะของการหยุดนิ่งสัมบูรณ์และนิยามได้ คนที่อยู่บนดาดฟ้าเรือคิดว่าตนอยู่นิ่ง แต่คนที่สังเกตบนชายฝั่งกลับบอกว่า ชายบนเรือกำลังเคลื่อนที่ ทฤษฎีของไอน์สไตน์รวมหลักสัมพัทธภาพของกาลิเลโอเข้ากับสมมติฐานที่ว่า ผู้สังเกตทุกคนจะวัด[[ความเร็วแสง|อัตราเร็วของแสง]]ได้เท่ากันเสมอ ไม่ว่าสภาวะ[[การเคลื่อนที่เชิงเส้น]]ด้วยความเร็วคงที่ของพวกเขาจะเป็นอย่างไร
 
ทฤษฎีนี้มีข้อสรุปอันน่าประหลาดใจหลายอย่างซึ่งขัดกับสามัญสำนึก แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการทดลอง ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษล้มล้างแนวคิดของ[[ปริภูมิสัมบูรณ์]]และ[[เวลาสัมบูรณ์]]ของ[[ไอแซก นิวตัน|นิวตัน]]โดยการยืนยันว่า ระยะทางและเวลาขึ้นอยู่กับผู้สังเกต และรับรู้เวลากับปริภูมิต่างกันขึ้นอยู่กับผู้สังเกต มันนำมาซึ่งหลักการสมมูลของสสารและพลังงาน ซึ่งสามารถแสดงเป็นสมการชื่อดัง ''E''=''mc''<sup>2</sup> เมื่อ c คืออัตราเร็วของแสง ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษสอดคล้องกับ[[กลศาสตร์นิวตัน]]ในสำนึกทั่วไปและในการทดลองเมื่อความเร็วของสิ่งต่าง ๆ น้อยมากเมื่อเทียบกับอัตราเร็วแสง