ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
| deaths = 1.3 ล้านคน (ค.ศ. 2015)<ref name=GBD2015De/>
}}
'''กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ''' ({{lang-en|gastroenteritis}}) หรือ '''ท้องร่วงจากการติดเชื้อ''' ({{Lang-en|infectious diarrhea}}) เป็นภาวะที่มี[[การอักเสบ]]ของอวัยวะใน[[ทางเดินอาหาร]] ได้แก่[[กระเพาะอาหาร]]และ[[ลำไส้]] ผู้ป่วยอาจมีอาการ[[อุจจาระร่วง]] [[อาเจียน]] และ[[ปวดท้อง]]ได้ บางรายอาจ[[มีไข้]] [[อ่อนเพลีย]] และ[[ขาดน้ำ]]ร่วมด้วย ส่วนใหญ่เป็นอยู่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ เรียกว่ากระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน
 
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก[[การติดเชื้อ]][[ไวรัส]] และมีบางส่วนเกิดจากการติดเชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อ[[แบคทีเรีย]] [[ปรสิต]] และ[[เชื้อรา]] เด็กที่ป่วยภาวะนี้และมีอาการรุนแรงส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อ[[ไวรัสโรต้า]] ส่วนในผู้ใหญ่ที่พบบ่อยที่สุดคือ[[ไวรัสโนโรเชื้อ]]และเชื้อแบคทีเรีย[[แคมไพโลแบกเตอร์]] พฤติกรรมที่ทำให้โรคแพร่กระจายได้แก่ กินอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย การรักษาส่วนใหญ่จะเหมือนๆ กันไม่ว่าจะมีเชื้อใดเป็นสาเหตุ ดังนั้นโดยทั่วไปจะไม่นิยมส่งตรวจหาเชื้อ
 
การป้องกันทำได้โดยล้างมือด้วยสบู่ ดื่มน้ำสะอาด ให้ทารกกิน[[นมแม่]]แทนนมชง และขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะ ในเด็กแนะนำให้ป้องกันไวรัสโรต้าด้วยวัคซีนต้าด้วย[[Rotavirus vaccine|วัคซีน]] การรักษาที่สำคัญคือ[[การชดเชยสารน้ำ]] ในรายที่ป่วยเล็กน้อยหรือปานกลางสามารถทำได้ด้วยวิธีกิน[[สารละลายชดเชยสารน้ำ]]ที่ผสมจากน้ำสะอาด [[เกลือแกง]] และ[[น้ำตาล]] ทารกที่กินนมแม่แนะนำให้กินนมแม่ต่อไป ในรายที่ป่วยรุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำผ่าน[[การให้ทางหลอดเลือดดำ]] หรืออาจให้ผ่าน[[สายสวนกระเพาะอาหารทางจมูก]] ในเด็กแนะนำให้เสริมแร่ธาตุ[[สังกะสี]] ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้[[ยาปฏิชีวนะ]] แต่ในเด็กเล็กที่มีไข้และมีอุจจาระเป็นมูกเลือดแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะร่วมในการรักษาด้วย
 
ข้อมูล ค.ศ. 2015 พบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบราว 2 พันล้านคน เสียชีวิตประมาณ 1.3 ล้านคน กลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเด็กและคนที่อาศัยอยู่ใน[[ประเทศกำลังพัฒนา]] โดยข้อมูล ค.ศ. 2011 มีเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ป่วยจากภาวะนี้ราว 1.7 พันล้านคน และเสียชีวิตประมาณ 7 แสนคน เด็กอายุไม่เกิน 2 ปีใน[[ประเทศพัฒนาแล้ว]]จะป่วยจากภาวะนี้ประมาณปีละ 6 ครั้ง หรือมากกว่า ในผู้ใหญ่จะพบภาวะนี้ได้น้อยลงเพราะภูมิคุ้มกันพัฒนาแล้ว ชื่อภาษาอังกฤษของภาวะนี้ชื่อหนึ่งคือ stomach flu ("ไข้หวัดใหญ่ที่กระเพาะอาหาร") ซึ่งเป็นการเรียกชื่อที่ไม่ตรงกับสาเหตุของโรค ภาวะนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับโรค[[ไข้หวัดใหญ่]]แต่อย่างใด<ref>{{cite book|last1=Shors|first1=Teri|title=The microbial challenge : a public health perspective|date=2013|publisher=Jones & Bartlett Learning|location=Burlington, MA|isbn=978-1-4496-7333-8|page=457|edition=3rd|url=https://books.google.com/books?id=TDcvAqyx7AIC&pg=PA457|url-status=live|archive-url=https://web.archive.org/web/20170908184604/https://books.google.com/books?id=TDcvAqyx7AIC&pg=PA457|archive-date=2017-09-08}}</ref>
 
==อ้างอิง==