ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัฒนธรรมไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
Chotiwat Chotipanit (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มนิยาม
บรรทัด 1:
{{จัดรูปแบบ}}
'''วัฒนธรรมไทย''' ได้รับอิทธิพลหลักจากวัฒนธรรมอินเดีย [[จีน]] [[ขอม]] ตลอดจนวิญญาณนิยม [[ศาสนาพุทธ]]และ[[ศาสนาฮินดู]]
 
พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้ระบุไว้ว่า "วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม จารีตประเพณี พิธีกรรม และภูมิปัญญา ซึ่งกลุ่มชนและสังคมได้ร่วมสร้างสรรค์ สั่งสม ปลูกฝัง สืบทอด เรียนรู้ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจและวัตถุอย่างสันติสุขและยั่งยืน" ถึงแม้คำนิยามของวัฒนธรรมจะมีความครอบคุลม และหลากหลาย ก็ยังยังมีการเน้นมิติของ ความดีงาม และมักจะใช้เป็นข้ออ้างในการ ควบคุม และ ครอบงำ สมาชิกในสังคม
 
ส่วนความหมายของวัฒนธรรมในทางสังคมวิทยานั้น หมายถึง ระบบความหมายและแบบแผนพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมนั้นนั้นยึดถือและปฏิบัติ
 
วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัย[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] [[หลวงพิบูลสงคราม]]สนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี<ref name="Ethnocracy">Otto F. von Feigenblatt. [http://sisaket.go.th/ssis/papers/english/The%20Thai%20Ethnocracy%20Unravels%20A%20Critical%20Cultural%20Analysis%20of%20Thailand%92s%20Socio-Political%20Unrest.PDF The Thai Ethnocracy Unravels: A Critical Cultural Analysis of Thailand’s Socio-Political Unrest]. Journal of Alternative Perspectives in the Social Sciences. สืบค้น 7-9-2557.</ref>