ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระขวัญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวใกล้เสด็จสวรรคต สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ และพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังพระราชวังหลวง พร้อมด้วยข้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นจำนานมาก โดยเสด็จเข้าประทับในพระตำหนักหนองหวาย หลังจากนั้น สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ มีพระบัญฑูรให้มหาดเล็กไปเชิญเสด็จเจ้าพระขวัญมาเข้าเฝ้า โดยมีพระราชประสงค์จะให้เจ้าพระขวัญทรงม้าเทศให้ทอดพระเนตร เมื่อเจ้าพระขวัญทรงทราบว่าสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ มีพระบัณฑูรให้หาก็ทรงวางผลอุลิตหวานที่กำลังเสวยอยู่แล้วทูลลา[[สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงโยธาทิพ]] พระราชมารดา เพื่อเสด็จไปเข้าเฝ้าสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ณ พระตำหนักหนองหวาย พร้อมด้วยนักพระสัฏฐาธิราช พระพี่เลี้ยงและข้าไทยจำนวนหนึ่ง เมื่อเจ้าพระขวัญเสด็จถึงพระตำหนักหนองหวาย สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ มีพระบัณฑูรห้ามไม่ให้พระพี่เลี้ยงและข้าไทยตามเสด็จเข้ามาและให้ปิดกำแพงแก้วเสีย แล้วจึงจับเจ้าพระขวัญ[[สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์]] แล้วให้ข้าหลวงนำพระศพไปฝังไว้ที่[[วัดโคกพระยา]] หลังจากนั้นจึงเสด็จกลับ[[พระราชวังบวรสถานมงคล]]
 
ด้านสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงโยธาทิพนั้น เมื่อพระราชโอรสเสด็จไปเฝ้าสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ก็ทรงเข้าที่พระบรรทม เมื่อพระองค์ทรงเคลิ้มหลับลงก็ได้ยินเสียงเจ้าพระขวัญมาทูลขอพระราชทานผลอุลิตหวานที่เหลืออยู่มาเสวย ก็ตกพระทัยตื่นพระบรรมทม ในเวลานั้นพระพี่เลี้ยงในเจ้าพระขวัญและข้าไทยทั้งหลายก็ร้องไห้เข้ามากราบบังคมทูลเรื่องราวทั้งหมด กรมหลวงโยธาทิพทรงพระกันแสงและเสด็จขึ้นไปเฝ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงพระประชวรหนักอยู่ แล้วทรงกราบบังคมทูลว่า ลูกข้าพระพุทธเจ้าหาความผิดมิได้ กรมพระราชวังบวรฯ ฆ่าลูกข้าพระพุทธเจ้าเสียโดยหาเหตุมิได้ เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงทราบทรงพระพิโรธกรมพระราชวังบวรฯ เป็นอันมากแลตรัสว่าจะไม่ยกราชสมบัติให้แก่กรมพระราชวังบวรฯ แล้วทรงพระกรุณาตรัสเวนราชสมบัติให้เจ้าพระพิไชยสุรินทร พระราชนัดดา คืนนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต<ref>พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม</ref><ref>พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาภาค ๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเปนส่วนพระกุศลทานมัย ในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น 3) กรมหลวงวรเสฐสุดา พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัญญา สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกย์ลักษณวดี</ref>
 
[[พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)]] ให้ข้อมูลที่แตกต่างกันว่า เมื่อ[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]] ขึ้นครองราชย์ ให้จับเจ้ากรมขุนเสนาบริรักษ์ (โอรสของท้าวศรีจุฬาลักษณ์พระขนิษฐาของพระเพทราชา พระนามเดิมว่าหม่อมแก้ว) พระองค์เจ้าดำ (พระโอรสของพระเพทราชาที่ประสูติแต่สนม ฉบับอื่นว่าถูกสำเร็จโทษในต้นรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ) พระองค์เจ้าแขก (สันนิษฐานว่าเป็นพระโอรสของพระเพทราชาอีกองค์หนึ่ง) ไปประหารชีวิต อยู่มาอีกสองวันจึงให้จับเจ้าพระขวัญไปสำเร็จโทษที่[[วัดโคกพระยา]]<ref>พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)</ref>
 
[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] ระบุเหตุการณ์ที่คล้ายกันคือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอตรัสน้อย พระราชโอรสของกรมหลวงโยธาเทพ ถูกเจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรลวงไปสำเร็จโทษ โดยที่[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]] ไม่ได้ทรงรู้เห็นด้วย และทรงเสียพระทัยจนกันแสงเมื่อทราบเรื่อง<ref>พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)</ref>
 
[[คำให้การชาวกรุงเก่า]] ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกับพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) และฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าเจ้าพระขวัญถูกสำเร็จโทษในรัชกาล[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]] และยังกล่าวด้วยว่าเพราะเจ้าพระขวัญวางแผนก่อกบฏ<ref>คำให้การชาวกรุงเก่า</ref>
 
จดหมายของมงเซนเญอร์หลุยส์ ช็องปียง เดอ ซีเซ่ (Monseigneur Louis Champion de Cicé) มุขนายกมิสซังประจำกรุงศรีอยุธยาถึงผู้อำนวยการคณะมิสซังต่างประเทศกรุงปารีส วันที่ 6 เดือนตุลาคม ค.ศ. 1703 (พ.ศ. ๒๒๔๖2246) ซึ่งเป็นหลักฐานร่วมสมัย ได้ระบุว่าในรัชกาล[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]] เจ้าพระขวัญซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินยังมีพระชนม์อยู่ ไม่ได้ถูกสำเร็จโทษตอนพระเพทราชาประชวร<ref>ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๗ เรื่องจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนแผ่นดินพระเจ้าเสือแลแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ ภาค ๔ พิมพ์ในงารศพ คุณหญิงผลากรนุรักษ (สงวน เกาไศยนันท์) เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙</ref><ref>https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1663390497057747?hc_location=ufi</ref>
 
บันทึกเหตุการณ์ระหว่างการประชวรและการสวรรคตของพระเจ้ากรุงสยามผู้ทรงพระนามว่าพระทรงธรรม์ (Relaas van’t voorgevallene bij de Zieke en overlijden van den Siamse koninck Phra Trong Than gernaamt) ของนายอาร์เนาต์ เกลอร์ (Aernout Cleur) หัวหน้าสถานีการค้าของ[[บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์]]ประจำกรุงศรีอยุธยาในช่วงปลายรัชสมัย[[สมเด็จพระเพทราชา]]ถึงรัชสมัย[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]] เป็นหลักฐานร่วมสมัย ได้ระบุว่าพระขวัญ (PRAQUAN) หรือเจ้าพระขวัญ เป็นพระราชโอรสของกรมหลวงโยธาเทพ ไม่ใช่กรมหลวงโยธาทิพตามพระราชพงศาวดารที่ชำระในยุคหลัง และกล่าวว่าในช่วงต้นรัชกาล[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]] ทรงปฏิบัติกับเจ้าพระขวัญเป็นอย่างดี ทรงเรียกเจ้าพระขวัญว่า เจ้าฟ้าน้อย (TJAUW FA NOY) โปรดให้ได้ทรงฉลองพระองค์ของหลวงและทรงให้มีส่วนร่วมในราชการ แต่[[กรมหลวงโยธาเทพ]]กลับคิดแผนชิงบัลลังก์ให้เจ้าพระขวัญ โดยวางแผนว่าเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินมาบนพระราชยานเพื่อไปถวายความเคารพพระบรมศพพระราชบิดาในเดือนห้า ก็จะได้โอกาสที่จะลอบยิงปืนปลงพระชนม์ และเจ้าพระขวัญจะทรงทำหน้าที่นี้โดยใช้ปืนพกที่ทรงพกติดตัวไปด้วยขณะที่ทรงม้า แต่นางกำนัลของกรมหลวงโยธาเทพนำแผนการไปกราบทูลให้พระเจ้าแผ่นดินทราบ ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1703 (พ.ศ. 2246) พระเจ้าแผ่นดินเสด็จมาถวายสักการะพระบรมศพพระราชบิดาพร้อมกับเจ้าพระขวัญ พระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่งให้เจ้าพระขวัญทรงม้าเพื่อออกพระกำลัง เมื่อทรงควบม้าไปถึงพระคลังวิเศษ (pakhuijs WISIT) ออกญาพิชิต (OIJA PIJIT) พระยาท้ายน้ำ (PIA TAIJNAM) และออกญาสุรศรี (OIJA ZURASIJ) ขุนนางทั้ง 4 ได้จับตัวเจ้าพระขวัญและนำพระองค์ไปสำเร็จด้วยท่อนจันทน์ และพระศพถูกนำไปฝังยังวัดโคกพระยา เมื่อกรมหลวงโยธาเทพทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของเจ้าพระขวัญผู้เป็นพระโอรส จึงทรงหนีไปเข้าเฝ้ากรมหลวงโยธาทิพ กรมหลวงโยธาทิพจึงทูลขอให้ละเว้นพระชนม์ชีพของกรมหลวงโยธาเทพจากพระเจ้าแผ่นดิน จึงถูกลงโทษเพียงริบทรัพย์สมบัติและถอดจากที่พระมเหสีเท่านั้น แต่ออกญาสมบัติบาล, พระยาราชบังสัน, พระวิไชยสุรินทร์, พระรามเดชะ, พระเสมียนโกเศศ, ออกหลวงทิพรักษา และขุนนางใหญ่น้อยอื่นๆอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายสนับสนุนเจ้าพระขวัญถูกนำไปประหารชีวิตหมด<ref>https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-voc%E0%B9%83%E0%B8%99/1667305233332940/</ref>
 
== พระราชตระกูล ==