ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กวารีโน กวารีนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[image:Museo del Risorgimento italiano.JPG|thumb|300px|วังคาริยาโนที่ตูริน]]
 
'''กัวริโน กัวรินี''' (ภาษาอังกฤษ: Camillo-Guarino Guarini หรือ Guarino Guarini) (เกิดที่[[โมดีนา]]เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1624 - เสียชีวิตที่[[มิลาน]]เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค. ศ. 1683) เป็น[[สถาปนิก]]ชาว[[ประเทศอิตาลี|อิตาลี]]ของ[[สถาปัตยกรรมแบบบาโรก]]แบบ[[พีดมอนต์]] นอกจากจะมีผลงานที่[[ตูริน]]แล้วกัวรินียังมีอิทธิพลและผลงานในประเทศอื่นๆ ใน[[ทวีปยุโรป]]รวมทั้งใน[[ประเทศฝรั่งเศส]] [[ประเทศโปรตุเกส ]] และ[[ซืซิลีซิซิลี]]
 
กัวริโน กัวรินีเป็นพระลัทธิเธียไทน์ (Theatine) ใน[[นิกายโรมันคาทอลิก]] และนอกจากจะเป็น[[สถาปนิก]]แล้วกัวรินีก็ยังเป็น[[นักคณิตศาสตร์]] และ [[นักประพันธ์]]ด้วย
บรรทัด 12:
“Euclides adauctus” แย้ง[[ทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ]]ของ [[นิโคลัส โคเปอร์นิคัส]]และ[[กาลิเลโอ กาลิเลอี]]
 
กล่าวกันว่ากัวรินีได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาจาก[[ฟรานเซสโก บอโรมินิ]] และว่ากันว่ากัวรินีเป็นสถาปนิกคนแรกให้กับดุคฟิลิเบิร์ตแห่งซาวอย (Philibert of Savoy) กัวรินีออกแบบสิ่งก่อสร้างจำนวนมากทั้งสิ่งก่อสร้างสาธารณะและส่วนบุคคลที่ตูริน รวมทั้งวังหลายวังของดุคแห่งซาวอย, วัดหลวงซานลอเรนโซ (ค.ศ. 1666-ค.ศ. 1680), ชาเปลHoly Shroudที่เป็นที่เก็บ [[ผ้าห่อพระศพพระเยซูแห่งตูริน]] (Shroud of Turin) ภายในมหาวิหารเซนต์จอห์นแบ็พทิสต์ที่ตูริน (ค.ศ. 1668) ซึ่งสร้างต่อจากงานที่เริ่มโดยคาร์โล ดิ คาสเตลลามอนเต (Carlo di Castellamonte), วังคาริยาโน (Palazzo Carignano) (ค.ศ. 1679-ค.ศ. 1685), วังรัคโคนิจิ (Castle of Racconigi) และสิ่งก่อสร้างอีกหลายแห่งทั้งสิ่งก่อสร้างสาธารณะและ[[คริสต์ศาสนสถาน]]ที่โมดีนา, เมสสินา, [[เวโรนา]], [[เวียนนา]], [[ปราก]], [[ลืสบอนลิสบอน]] และ [[ปารีส]]. ระหว่างปี ค.ศ. 1657 ถึงปี ค.ศ. 1659 กัวรินีพำนักอยู่ที่[[ประเทศสเปน]]เพื่อหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างแบบ[[มัวร์]] ซึ่งกัวรินีนำลักษณะบางอย่างมาใช้ในสิ่งก่อสร้างที่ตูริน ในบรรดาผู้ที่ทำงานสืบต่อจากกัวรินีก็รวมทั้งฟิลลิปโป จูวารา (Filippo Juvarra) ผู้เป็นลูกศิษย์ของกัวรินีเองและเบอร์นาโด วิทโตเน (Bernardo Vittone) ผู้เป็นลูกศิษย์ของจูวารา ผู้ซึ่งเป็นผู้เขียน “Architettura Civile” เมื่อปี ค.ศ. 1737
 
== อ้างอิง ==