ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กวารีโน กวารีนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{redirect|Camillo-Guarino Guarini|Guarino Guarini|Camillo Guarini}} <!-- กรุณาอย่าเปลี่ยน ค.ศ. เป็น พ.ศ. เพราะ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:38, 12 กุมภาพันธ์ 2551

กัวริโน กัวรินี (ภาษาอังกฤษ: Camillo-Guarino Guarini หรือ Guarino Guarini) (เกิดที่โมดีนาเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1624 - เสียชีวิตที่มิลานเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค. ศ. 1683) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลีของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกแบบพีดมอนต์ นอกจากจะมีผลงานที่ตูรินแล้วกัวรินียังมีอิทธิพลและผลงานในประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรปรวมทั้งในประเทศฝรั่งเศส ประเทศโปรตุเกส และซืซิลี

วังคาริยาโนที่ตูริน

กัวริโน กัวรินีเป็นพระลัทธิเธียไทน์ (Theatine) ในนิกายโรมันคาทอลิก และนอกจากจะเป็นสถาปนิกแล้วกัวรินีก็ยังเป็นนักคณิตศาสตร์ และ นักประพันธ์ด้วย

กัวรินีเป็นพระใหม่ในลัทธิเธียไทน์เมื่อปี ค.ศ. 1639 ประจำอยู่ที่สำนักสงฆ์ซานซิลเวสโตร อาล ควิรินาเล (San Silvestro al Quirinale) ที่กรุงโรมและกลับมาโมดีนาเมื่อปี ค.ศ. 1647 ซึ่งเป็นที่ที่รับการบวชเป็นพระเมื่อปี ค.ศ. 1648 จากนั้นก็ได้รับเลี่อนตำแหน่งขึ้นเป็นลำดับอย่างรวดเร็ว กัวรินีเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีคนแรก ต่อมาก็ได้เป็นผู้ดูแลงาน และในที่สุดก็ได้เป็น provost เมื่อปี ค.ศ. 1654 แต่เจ้าชายอัลฟอนโซ (Alfonso IV d'Este) สนับสนุนพระองค์อื่นจึงตั้งขึ้นเป็น provost แทนกัวรินีผู้ต้องออกจากเมืองโมดีนา ชีวิตในช่วงสองสามปีนี้ไม่มีหลักฐานทางเอกสารบ่งไว้ ในปี ค.ศ. 1656 กัวรินีเป็นสมาชิกของสำนักTheatine ที่เมืองปาร์มา และกัวรินีก็ได้ไปเยี่ยมเมืองปรากและเมืองลืสบอน ก่อนที่จะพิมพ์หนังสือเรื่อง “La Pietà trionfante” ที่เมืองเมสสินาในปี ค.ศ. 1660 ซึ่งเป็นเมืองที่กัวรินีเป็นผู้บรรยายคณิตศาสตร์[1]

กัวรินีเขียนหนังสือคณิตศาสตร์ทั้งในภาษาละตินและอิตาลี รวมทั้ง “Euclides adauctus” ซึ่งเป็นหนังสือเรขาคณิต เมื่อปี ค.ศ. 1665 กัวรินีพิมพ์หนังสือปรัชญาทางคณิตศาสตร์ “Placita Philosophica” ซึ่งเป็นหนังสือที่ “Euclides adauctus” แย้งทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของ นิโคลัส โคเปอร์นิคัสและกาลิเลโอ กาลิเลอี

กล่าวกันว่ากัวรินีได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาจากฟรานเซสโก บอโรมินิ และว่ากันว่ากัวรินีเป็นสถาปนิกคนแรกให้กับดุคฟิลิเบิร์ตแห่งซาวอย (Philibert of Savoy) กัวรินีออกแบบสิ่งก่อสร้างจำนวนมากทั้งสิ่งก่อสร้างสาธารณะและส่วนบุคคลที่ตูริน รวมทั้งวังหลายวังของดุคแห่งซาวอย, วัดหลวงซานลอเรนโซ (ค.ศ. 1666-ค.ศ. 1680), ชาเปลHoly Shroudที่เป็นที่เก็บ ผ้าห่อพระศพพระเยซูแห่งตูริน (Shroud of Turin) ภายในมหาวิหารเซนต์จอห์นแบ็พทิสต์ที่ตูริน (ค.ศ. 1668) ซึ่งสร้างต่อจากงานที่เริ่มโดยคาร์โล ดิ คาสเตลลามอนเต (Carlo di Castellamonte), วังคาริยาโน (Palazzo Carignano) (ค.ศ. 1679-ค.ศ. 1685), วังรัคโคนิจิ (Castle of Racconigi) และสิ่งก่อสร้างอีกหลายแห่งทั้งสิ่งก่อสร้างสาธารณะและคริสต์ศาสนสถานที่โมดีนา, เมสสินา, เวโรนา, เวียนนา, ปราก, ลืสบอน และ ปารีส. ระหว่างปี ค.ศ. 1657 ถึงปี ค.ศ. 1659 กัวรินีพำนักอยู่ที่ประเทศสเปนเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างแบบมัวร์ ซึ่งกัวรินีนำลักษณะบางอย่างมาใช้ในสิ่งก่อสร้างที่ตูริน ในบรรดาผู้ที่ทำงานสืบต่อจากกัวรินีก็รวมทั้งฟิลลิปโป จูวารา (Filippo Juvarra) ผู้เป็นลูกศิษย์ของกัวรินีเองและเบอร์นาโด วิทโตเน (Bernardo Vittone) ผู้เป็นลูกศิษย์ของจูวารา ผู้ซึ่งเป็นผู้เขียน “Architettura Civile” เมื่อปี ค.ศ. 1737

อ้างอิง

  1. Meek, p. 6-11, 19.


ข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Meek, H.A. (1988). Guarino Guarini and his Architecture. Yale. ISBN 0-300-04748-7 (กัวริโน กัวรินีและงานสถาปัตยกรรม โดย เอช เอ มีค)
  • Wittkower, Rudolf (1980). Art and Architecture in Italy, 1600-1750, Pelican History of Art. Penguin, pp403-415. ISBN 0-300-07939-7 (ศิลปะและสถาปัตยกรรมในอิตาลี, ค.ศ. 1600-ค.ศ. 1750 โดย รูดอลฟ วิทเคาเวอร์)