ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุสานบ้านพรุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 51:
 
== ประวัติสุสาน ==
[[ไฟล์:Ban Phru Cemetery (III).jpg|270px|thumb|right|โซนป้ายหลุมศพรุ่นเก่าในช่วงยุคแรก ๆ ของสุสาน]]
 
ในอดีตบริเวณพื้นที่สุสานบ้านพรุปัจจุบัน เป็นสวนยางพาราเก่าซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านพรุ จนเมื่อขุนนิพัทธ์จีนนครได้เข้ามาซื้อที่ดิน แล้วบริจาคเป็นสถานที่สำหรับการฌาปนกิจชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในหาดใหญ่ ซึ่งมีมูลเหตุมาจากการสร้างทางรถไฟสายใต้จนเมื่อมาสิ้นสุดบริเวณ[[สถานีชุมทางหาดใหญ่]] ซึ่งเป็นชุมทางหลักของภาคใต้ แรงงานชาวจีนส่วนใหญ่จึงเลือกมาปักหลักตั้งถิ่นฐานที่อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งในขณะนั้นเป็นชุมชนขนาดเล็ก ในเวลานั้นขุนนิพัทธ์จีนนคร หัวหน้าแรงงานชาวจีน ได้เป็นผู้สร้างถนนนิพัทธ์อุทิศ 1,2,3 ในรูปแบบกริดตารางขนานไปกับสถานีชุมทางหาดใหญ่ทางทิศตะวันออก เมื่อปี พ.ศ. 2459 ทำให้เกิดการสร้างตึกแถวพาณิชยกรรมตลอดแนวถนนทั้ง 3 สายนี้ อันเป็นการบุกเบิกพัฒนาเมืองหาดใหญ่ที่สำคัญ ทำให้หาดใหญ่กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ในเวลาต่อมา<ref>สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้. (2555).[https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองหาดใหญ่.]</ref><ref>ศิลปวัฒนธรรม. (2564). [https://www.silpa-mag.com/history/article_42351 ขุนนิพัทธ์จีนนคร ผู้บุกเบิกหาดใหญ่ยุคแรกสุด อุทิศที่ดิน พัฒนาจากป่าสู่เมืองใหญ่.]</ref>
 
เส้น 57 ⟶ 59:
ในส่วนกรรมสิทธิ์สุสานมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง ก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ. 2511 ต่อเนื่องจากส่วนสุสานมูลนิธิจงฮั่วสงเคราะห์คนชราอนาถไปทางใต้ โดยมีการใช้แนวรั้วและแนวถนนเชื่อมต่อกัน ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นสุสานที่มีเจ้าของเพียงรายเดียว สุสานของมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง มีการจัดการที่ค่อนข้างเป็นระบบมากกว่าของมูลนิธิจงฮั่ว จากการวางแถวของฮวงซุ้ยที่มีขนาดกลาง ๆ และขนาดใหญ่วางเป็นแถวชัดเจน แสดงถึงสภาพเศรษฐกิจของสังคมหาดใหญ่ยุคนั้นที่ชาวจีนประกอบอาชีพจนมีฐานะร่ำรวย มากขึ้นกว่าชาวจีนในช่วงยุคแรก ๆ ที่จะทำฮวงซุ้ยขนาดเล็ก และไม่ตกแต่งป้ายหลุมมาก แม้ว่าภาพรวมมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊งจะเน้นขายฮวงซุ้ยเป็นหลัก แต่ก็มีการฮวงซุ้ยสำหรับศพไร้ญาติ รวมถึงหลุมบรรจุอัฐิไร้ญาติรวมขนาดใหญ่บริเวณด้านหน้าโครงการ
 
ในปี พ.ศ. 2558 ทางมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊งได้เปิดให้คนภายนอกเข้ามาใช้งานในเชิงกิจกรรมนันทนาการพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย โดยทางมูลนิธิมีการจัดสรรเครื่องออกกำลังกาย เครื่องเล่น และลานแอโรบิกไว้รองรับ ซึ่งก็พบว่ามีประชาชนส่วนหนึ่งเข้ามาใช้งานในช่วงและช่วงเย็น ทั้งการเล่นฟุตบอล เล่นเครื่องออกำลังกาย เลี้ยงปลา เต้นแอโรบิก และวิ่ง สุสานแห่งนี้มีการเปิดไฟในช่วงเย็นจนถึง 20.00 น. นอกจากนี้ในบางโอกาสสุสานแห่งนี้ก็เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเช่นวิ่งมาราธอน หรือปั่นจักรยาน เนื่องจากระบบสัญจรภายในสุสานมีระยะค่อนข้างไกล การเปิดสุสานให้คนภายนอกเข้ามาใช้นี้ มีรูปแบบคล้ายกับ[[สุสานแต้จิ๋ว|สวนสุขภาพสมาคมแต้จิ๋ว]] ใน[[เขตสาทร]] กรุงเทพมหานคร
 
== ชื่อ==