ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Security Thainam (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9210317 สร้างโดย 119.42.79.103 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 67:
 
=== ภายในประเทศไทย ===
# ธุรกิจของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน หรือ บ้านจัดสรร เป็นต้น ต่างพากันปิดกิจการลง พนักงานถูกปลดออก มีหนี้สินเกิดขึ้นมหาศาล จนมีการประท้วงโดยประชาชนส่งผลทำให้พลเอกชวลิต ตัดสินใจลาออกและต้องพ้นธนาจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2540]] โดยมีนาย[[ชวน หลีกภัย]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 สืบต่อมาในวันถัดไป (คือเมื่อวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2540)
# ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามพยุงค่าเงินบาท โดยใช้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศจนหมด ประกอบกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ต้องใช้เงินของกองทุนในการให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินหลายแห่ง(หมายถึง ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เป็นต้น)ในประเทศไทย ด้วยจำนวนเงินสูงสุดถึง 6 แสนล้านบาท ทำให้การใช้เงินในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ครั้งนี้ของทั้ง 2 หน่วยงานเองหมดลงทันทีและต้องกู้จาก ไอเอ็มเอฟ จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
# อุตสาหกรรมการเงินในประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้เข้ายึดใบอนุญาตการประกอบกิจการของสถาบันการเงิน(ประกอบไปด้วยประเภทบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟรองซิเอร์ เป็นต้น) โดยสรุปรวมได้แล้วถึง 58 แห่ง ทำให้จำนวนดังกล่าว ต้องมีการปิดกิจการลงอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม กลับมีเพียงแค่ 2 บริษัทเท่านั้น คือบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือ [[ธนาคารเกียรตินาคิน|ธนาคารเกียรตินาคินภัทร]]) และบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ บางกอกอินเวสต์เมนท์ จำกัด (มหาชน) (ต่อมาคือบริษัท [[อยุธยา โทเทิล โซลูชั่น]] จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ [[ธนาคารกรุงศรีอยุธยา]] ปัจจุบันปิดกิจการแล้ว) ที่สามารถกลับมาประกอบกิจการได้ตามปกติ ต่อมาได้มีการประกาศบังคับใช้พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พุทธศักราช 2540 เมื่อวันที่ [[22 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2540]] เพื่อจัดตั้ง''[[องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน]]'' เพื่อฟื้นฟูฐานะ การช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงินที่มีความสุจริต และชำระบัญชีกับบริษัทการเงินที่ถูกยึดใบอนุญาตก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่สามารถดำเนินการเองได้<ref>[https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutionsDevelopmentFund/Law_Notification/DocLib_Acts/Act_PLC_2540.pdf พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พุทธศักราช 2540] จัดทำข้อมูลโดย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560)</ref> ต่อมาหลังจากเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้ว เมื่อปี [[พ.ศ. 2541]] ก็ได้ออกประกาศบังคับใช้มาตรการหนึ่งเพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาโครงสร้างสถาบันการเงินประเภทธนาคารครั้งใหญ่ ซึ่งก็คือ ''มาตรการ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541'' ซึ่งมาตรการนั้น ทำให้เกิดการควบโอน ควบรวม การซื้อขายกิจการธนาคารบางแห่ง ซึ่งมีปัญหาเพราะเรื่องสินทรัพย์ หนี้สิน และการเพิ่มทุน (ทั้งนี้รวมไปถึงการเข้ายึดกิจการโดยรัฐบาล และการยกเลิกธุรกิจธนาคาร ของบางธนาคารไปด้วย) จึงส่งผลทำให้จำนวนธนาคารถูกลดลงไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง นอกเหนือจากนี้แล้ว ยังได้มีการปรับปรุงโครงสร้างด้านกิจการเงินทุนและหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ดำเนินกิจการอย่างปกติและไม่ถูกปิดกิจการในขณะนั้น ให้ดำเนินการแยกธุรกิจเงินทุน และธุรกิจหลักทรัพย์ ในบริษัทเดียวกันออกจากกัน กล่าวคือธุรกิจเงินทุนในบริษัทเดิม ก็ให้ดำเนินกิจการต่อไปโดยไม่ต้องปิดกิจการ เพียงแต่ต้องเปลี่ยนชื่อเรียกนิติบุคคลว่า ''บริษัทเงินทุน'' (ต่อมาบริษัทเงินทุนบางแห่ง พัฒนาตัวเองเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทประเภทอื่น) แต่ในขณะที่ธุรกิจหลักทรัพย์นั้น ให้แยกการประกอบธุรกิจจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (หรือบริษัทเงินทุนในภายหลัง) ออกไปจัดตั้งเป็นนิติบุคคลอิสระ เป็น''บริษัทหลักทรัพย์'' เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการประกอบธุรกิจ