ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุสานบ้านพรุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
| ''มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง'' พ.ศ. 2511
}}
| renovation_date = พ.ศ. 2558 มีการเปิดเป็นพื้นที่สถานที่ออกกำลังกาย<ref name="detail">ศุภกร หงส์ฟ่องฟ้า. วันที่ 9 ธันวาคม 2563. หัวหน้าสุสานมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง. สัมภาษณ์</ref>
| owner = มูลนิธิจงฮั่วสงเคราะห์คนชราอนาถา และมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง
| size = 532,800 ตร.ม. (333 ไร่)
บรรทัด 32:
สุสานแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกจากบริจาคที่ดินจำนวน 180 ไร่ โดยขุนนิพัทธ์จีนนคร เมื่อปี พ.ศ. 2482<ref>สงขลานิวส์. (2014). [http://www.songkhlamedia.com/media/index.php?topic=2611.0 ขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจียกีซี) ต้นตระกูลจิระนคร ผู้สร้างเมืองหาดใหญ่.] สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564.</ref> เพื่อเป็นสถานที่ฌาปนกิจชาวจีนที่เป็นแรงงานสร้างทาง[[รถไฟสายใต้]] ซึ่งได้เข้ามาตั้งรกรากในอำเภอหาดใหญ่ โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 เป็นต้นมา มีการสร้างตัดถนนและชุมชนติดต่อกับ[[สถานีชุมทางหาดใหญ่]] ซึ่งขยายตัวไปทางทิศตะวันออก ทำให้ประชากรชาวไทยเชื้อสายจีนค่อย ๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้น<ref>วงค์เดือน ภานุวัฒนากูล. (2552). อัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม. ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์</ref> สุสานแห่งนี้จึงเป็นสถานที่สำคัญที่รองรับการฌาปนกิจชาวจีนทั้งหมดในยุคนั้น โดยขุนนิพัทธ์ได้เลือกที่ตั้งในการทำสุสานที่ห่างจากตัวเมืองหาดใหญ่ไปทางใต้ คือบริเวณเทศบาลบ้านพรุในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นก็มีชุมชนของคนในพื้นที่เดิมอาศัยอยู่แล้ว กรรมสิทธิ์ที่บริจาคโดยขุนนิพัทธ์ปัจจุบันดูแลโดยมูลนิธิจงฮั่วสงเคราะห์คนชราอนาถา ในขณะที่มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง ได้เข้ามาเปิดสุสานเมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อเนื่องกับสุสานเดิมทางทิศใต้
 
บริเวณหลุมศพเก่าในช่วงแรก ๆ ของการเปิดสุสานของมูลนิธิจงฮั่วสงเคราะห์คนชราอนาถา ถือเป็นโซนหนึ่งที่มีรูปแบบของการตกแต่งป้ายหลุมหลากหลายมากที่สุดในภาคใต้ แตกต่างจากในปัจจุบันที่พบว่ามีการทำป้ายหลุมฮวงซุ้ยที่คล้าย ๆ กัน โดยภายในโซนหลุมเก่านี้ประกอบด้วยรูปแบบจีนมีสถูปพุทธ รูปแบบคริสตัง และรูปแบบหลุมหินเรียงก่อ ปัจจุบันหลุมเก่าหลายหลุมได้ถูกทิ้งร้างและไม่ได้รับการเข้าไปดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก
 
ในเวลาต่อมาเมื่อหาดใหญ่ได้ยกระดับเป็นเทศบาลนครหาดใหญ่และบ้านพรุได้ยกระดับเป็นเทศบาลเมืองบ้านพรุ ทำให้มีชุมชน โรงงาน และโกดังสินค้า เข้ามาตั้งใกล้กับสุสานมากขึ้นตลอดแนว[[ถนนเพชรเกษม]] ซึ่งเชื่อมต่อไปยังด่านพรมเเดนสะเดา [[ประเทศมาเลเซีย]]ได้ ทำให้สุสานกลายเป็นที่เปิดโล่งขนาดของเทศบาลเมืองบ้านพรุ ปัจจุบันทางมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊งจึงได้เปิดให้คนภายนอกเข้ามาใช้งานในเชิงกิจกรรมนันทนาการและออกกำลังกาย สำหรับประชาชนในเทศบาลเมืองบ้านพรุ โดยมีการเปิดไฟในช่วงเย็นจนถึง 20.00 น.<ref name="detail"></ref>
 
== ที่ตั้ง==
บรรทัด 42:
* ทิศใต้ ติดต่อกับวัดป่าแสงธรรม ที่ดินเปล่า และโกดังบริษัทเอส-2000
* ทิศตะวันตก ติดต่อกับถนนเพชรเกษม ฝั่งตรงข้ามถนนเป็นชุมชน
 
== ภูมิทัศน์บริเวณที่ตั้งสุสาน ==
ลักษณะกายภาพบริเวณพื้นที่สุสานบ้านพรุ เป็นที่ราบเชิงเขาของแอ่งหาดใหญ่ โดยมีลักษณะค่อย ๆ ลาดต่ำจากทางฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นภูเขาเตี้ย ลงไปทางทิศตะวันตกที่เป็นที่ต่ำกว่า จนจดคลองอู่ตะเภา มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 13.00 เมตร และสูงสุดประมาณ 56.00 เมตร ด้วยเหตุนี้ทางฝั่งทิศตะวันตกของสุสานจึงเป็นจุดที่สามารถเห็นทัศนียภาพแนวเทือกเขาฝั่งตรงข้ามได้อย่างชัดเจนตามภูมิลักษณะในรูปแบบแอ่ง นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นอาคารสูงจากตัวเมืองหาดใหญ่ชั้นในทางทิศเหนือได้อีกด้วย
 
ด้วยระยะทางจากสุสานที่ห่างจากคลองอู่ตะเภากว่า 1.85 กิโลเมตร รวมถึงความสูงของภูมิลักาณะบริเวณพื้นที่สุสาน ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมหลากจากคลองอู่ตะเภา<ref>ศูนย์วิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคใต้. (2559) [https://www.gispsu.net/datajob ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.]</ref> สอดคล้องกับการวางสุสานตามหลักชัยภูมิ[[ฮวงจุ้ย]] ที่กล่าวว่าพื้นที่สุสานที่น้ำต้องไม่ท่วมถึง
 
== ชื่อ==
เส้น 48 ⟶ 53:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Position=left|Ban Phru Cemetery|สุสานบ้านพรุ}}
{{geolinks-bldg|6.9583506|100.475493}}
 
{{สร้างปี|2482}}