ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Adisak007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
Adisak007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 95:
 
== แนวทางการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียน ==
เมื่อประชาชนมีปัญหาจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนขึ้น ประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาความเป็นธรรม เพื่อเยียวยาแก้ไขข้อขัดข้องหรือความทุกข์ร้อนของตน ซึ่งช่องทางที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการแสวงหาความเป็นธรรมมีหลายช่องทาง อาทิ การร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง การร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา การร้องเรียนต่อองค์กรอิสระ หรือฟ้องคดีต่อศาล ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นกลไกหนึ่งในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการแสวงหาความเป็นธรรม โดยมีลักษณะเฉพาะบางประการที่แตกต่างจากหน่วยงานตรวจสอบอื่นของทางราชการ กล่าวคือ ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ไม่สังกัดฝ่ายบริหาร โดยมีสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินทำหน้าที่สนับสนุนงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำให้การดำเนินงานของผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล หรือฝ่ายบริหาร จึงเชื่อมั่นได้ว่าการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนของผู้ตรวจการแผ่นดินนั้น มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ร้องเรียน หรือผู้ถูกร้องเรียนก็ตาม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล และหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี <br>ตลอดจนผู้ตรวจการแผ่นดินยังยึดหลักการทำงานแบบกัลยาณมิตร โดยให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายผู้ร้องเรียน และเจ้าหน้าที่ที่ถูกร้องเรียนพิจารณาตามหลักกฎหมาย คุณธรรม จริยธรรมอย่างสันติวิธี <ref>จดหมายข่าวผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ 9 ฉบับที่ 58 ประจำเดือนมกราคม 2562 หัวข้อ ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย หน้า 15 URL https://www.ombudsman.go.th/new/assets/ombudsman_newsletter/pdf/058.pdf</ref>