ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นีกีตา ครุชชอฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 137:
 
== หลังการอสัญกรรมของสตาลิน ==
ปี ค.ศ. 1953 หลังการถึงแก่อสัญกรรมของสตาลินในวันที่ 5 พฤษภาคม 1953 [[ลัฟเรนตีย์ เบรียา]] (Lavrenti Beria) หัวหน้าหน่วยตำรวจลับของสตาลิน ได้ขึ้นป็นรองประธานสภารัฐมนตรีดำดับที่หนึ่ง และรัฐมนตรีกิจการภายในในทันที ถือเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโซเวียต หลังจากนั้นหนึ่งวัน พันธมิตรของครุสซอฟ กอร์กี มาเลนคอฟ ได้กลายเป็นประธานสภารัฐมนตรีหุ่นเชิด และเบเรียครองอำนาจทุกอย่าง เบเรียมีนโยบายที่จะออกจากเยอรมันตะวันออกและหันไปญาติดีกับสหรัฐ ทำให้คณะกรรมการพรรคหลายคนไม่พอใจ และไม่ไว้ใจในตัวเบเรีย โดยเฉพาะครุชชอฟ เป็นคนที่ต่อต้านเบเรียอย่างเปิดเผย แต่ว่าไม่สามารถทำอะไรเบเรียได้ จนกระทั่งเมื่อเกิดการลุกฮือของประชาชนในเยอรมันตะวันออกในเดือนมิถุนายน สมาชิกพรรคหลายคนกังวลว่านั้นเป็นนโยบายที่ผิดพลาดและจะทำลายโซเวียต นั้นทำให้มาเลนคอฟหันไปช่วยเหลือครุชชอฟ ครุชชอฟทำการ[[รัฐประหาร]]ยึดอำนาจจากเบเรียทำให้เบเรียถูกจับตัวได้วันที่ 26 มิถุนายน 1953 หลังจากนั้น ในเดือนกันยายน 1953 ครุสซอฟจึงได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งโซเวียต และในปี 1958 ก็ได้ควบตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรี
 
ต่อมาครุฟชอฟก็ได้ทำให้โลกต้องตกตะลึงด้วยการผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้ง[[ว่าด้วยลัทธิบูชาบุคคลและผลลัพธ์ของมัน|ประณามขุดคุ้ยความโหดร้ายของสตาลิน]] ผู้ซึ่งเป็นเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุก ๆ ที่ที่มีรูปปั้นสตาลินจะถูกทุบทิ้งจนหมด เพลงชาติที่มีชื่อสตาลินก็ถูกลบออก ศพของสตาลินก็ย้ายจากข้าง ๆ [[วลาดิมีร์ เลนิน]] ไปฝังอยู่ในกำแพง[[เครมลิน]] แต่ว่าการประณามสตาลินในครั้งนั้นทำให้ประธาน[[เหมา เจ๋อตง]]ผู้นำของประเทศ[[จีน]]เกิดไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะเขาได้ยึดถือลัทธิการเชิดชูวีรบุรุษก็คือประธานเหมาได้เอาสตาลินมาเทียบเท่ากับตน ทำให้การประณามของครุฟชอฟนั้นมากระทบถึงประธานเหมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตตกต่ำลงจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันของทั้งสองประเทศในเวลาต่อมา จนกระทั่งทำให้เกิดการแบ่งแยกอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นออกมาสองแบบคือ อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบผสมรวมกับระบบทุนนิยมของรัสเซียและอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบดั้งเดิม (คือรักษาระบบนารวมเอาไว้) ของจีน การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ [[แอลบาเนีย]] [[กัมพูชา]] และ[[โซมาเลีย]] เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต