ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 79:
 
โปรโตคอลในชั้นย่อย CS จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างโปรโตคอลที่สูงกว่า เช่น TCP/IP หรือ IPX/SPX กับโปรโตคอลในชั้นย่อย AAL ส่วนโปรโตคอลในชั้น SAR จะทำการจัดแบ่งข้อมูลให้มีขนาดที่สามารถใส่ในเซลล์หนึ่งได้ ซึ่งข้อมูลจะมีขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 48 ไบต์ ในแต่ละเซลล์ข้อมูลแล้วส่งผ่านไปยังชั้น AAL เลเยอร์ต่อไป หน้าที่ของ AAL ก็คือจะนำข้อมูลจากชั้น SAR ที่มีขนาด 48 ไบต์ แล้วทำให้อยู่ในฟอร์แมตก่อนที่จะเป็นเซลล์ แล้วส่งต่อไปยังชั้น ATM เลเยอร์ ซึ่งในชั้นนี้ก็จะนำข้อมูลส่วนหัวที่มีขนาด 5 ไบต์ ทำให้ได้เซลล์ข้อมูลที่มีขนาด 53 ไบต์เมื่อรวมทั้งเฮดเดอร์ และเพโหลดเข้าด้วยกัน
 
โปรโตคอลในชั้น AAL นี้จะแบ่งเป็น 5 ประเภท และเรียกชื่อตั้งแต่เลข 1-5 ซึ่งจะทำหน้าที่ในการให้บริการ 1 ใน 4 ประเภทของการให้บริการในชั้นนี้ ถึงแม้ว่า ATM ได้ออกแบบให้มีในชั้น AAL 5 โปรโตคอล ก็ตาม แต่ที่ใช้จริงมีแค่ 4 โปรโตคอล โดย AAL 3 และ 4 ได้ถูกรวมเป็นโปรโตคอลเดียวกันเรียกว่า AAL 3/4 ดังนั้นโปรโตคอลที่ใช้งานได้จริง ๆ คือ 1, 2, 3/4 และ 5 ประเภทของการให้บริการจะเรียกเป็น Class A,B,C และ D ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 
- Class A Service : คลาส A นี้จะใช้โปรโตคอล AAl 1 ซึ่งจะเป็นการถ่ายโอนข้อมูลแบบอัตราคงที่ หรือ CBR (Constant Bit Rate) และการเชื่อมต่อแบบคอนเน็กชันโอเรียนเต็ด (Connection-Oriented) การให้บริการแบบนี้จะเหมาะกับการถ่ายโอนข้อมูลแบบต่อเนื่อง เช่น เสียง และวิดีโอ เป็นต้น
 
- Class B Service : การเชื่อมต่อในชั้นนี้จะเป็นเหมือนกับคลาส A ที่แตกต่างกันคือ อัตราข้อมูลจะเป็นแบบผันแปร หรือ VBR(Variable Bit Rate) อัตราการถ่ายโอนข้อมูลจะไม่คงที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของ Application ตัวอย่าง Application ที่เหมาะกับโปรโตคอลนี้ เช่น การถ่ายโอนวิดีโอ (Video on demand)ที่ต้องการจะรีเฟรชเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น
 
- Class C Service : คลาส C จะเหมือนคลาส B คือจะเป็นการเชื่อมต่อแบบคอนเน็คชันโอเรียนเต็ด และมีอัตราข้อมูลแบบ VBR ที่ต่างกันคือจะเป็นการรับส่งแบบอะซิงโครนัส(Asynchronous) คือจะไม่จำกัดในเรื่องเวลา ทันทีที่สร้างการเชื่อมต่อสำเร็จจะส่งข้อมูลเมื่อใดก็ได้
 
- Class D Service : คลาสนี้จะให้บริการคอนเน็กชันเลสส์ (Connectionless) และการรับส่งแบบอะซิงโครนัส การบริการแบบนี้จะเหมาะสำหรับการรับส่งข้อมูลใน LAN ทั่ว ๆ ไป
 
 
=== ATM Layer ===