ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาชิกางะ โยชิมิตสึ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 40:
ด้วยความดีความชอบของโชกุนโยชิมิตสึ ทำให้ใน ค.ศ. 1394 โชกุนโยชิมิตสึได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ''ไดโจไดจิง'' ({{ญี่ปุ่น|太政大臣|Daijō-daijin}}) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงที่สุดในราชสำนักญี่ปุ่นรองจาก ''คัมปะกุ'' และในปีเดียวกันนั้น โชกุนโยชิมิตสึสละตำแหน่งโชกุนให้แก่[[อาชิกางะ โยชิโมชิ]]ผู้เป็นบุตรชาย โยชิมิตสึดำรงตำแหน่งเป็น โอโงโชะ ({{ญี่ปุ่น|大御所|Ōgosho}}) หรืออดีตโชกุนแทน พร้อมทั้งบรรพชาเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา[[นิกายเซน]]ได้รับฉายาว่า โดงิ ({{ญี่ปุ่น|道義|Dōgi}}) ในปี[[ค.ศ. 1395]]
[[ไฟล์:Kinkaku-ji the Golden Temple in Kyoto overlooking the lake - high rez.JPG|left|thumb|คฤหาสน์คิงกากุ ต่อมาคือ [[วัดคิงกากุ]]]]
แม้ว่าจะสละตำแหน่งโชกุนให้แก่บุตรชายแล้ว แต่อำนาจการปกครองยังคงอยู่ที่โอโงโชะโยชิมิตสึ ใน ค.ศ. 1397 โอโงโชะโยชิมิตสึซื้อที่ดินบนเขาคิตายามะ ({{ญี่ปุ่น|北山|Kitayama}}) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนครเกียวโต เพื่อสร้างเป็นคฤหาสน์หลังใหม่ให้แก่ตนเองเรียกว่า คฤหาสน์คิงกากุ ({{ญี่ปุ่น|金閣|Kinkaku}}) หรือ คฤหาสน์ศาลาทอง (ปัจจุบันคือ[[วัดคิงกากุ]]) ค.ศ. 1399 ชูโง(เจ้าครองแคว้น)โออูจิ โยชิฮิโระ ({{ญี่ปุ่น|大内 義弘|Ōuchi Yoshihiro}}) ก่อการกบฏต่อรัฐบาลโชกุนฯ และสร้างป้อมปราการขึ้นที่เมืองซากาอิ ({{ญี่ปุ่น|堺|Sakai}} อยู่ในเขตเมือง[[โอซะกะ]]ในปัจจุบัน) เรียกว่า สงครามปีโอเอ ({{ญี่ปุ่น|応永の乱|Ōei no ran}}) โยชิฮิโระยกทัพมายังเมืองเกียวโตแต่โอโงโชะโยชิมิตสึสามารถป้องกันเมืองได้ โยชิฮิโระล่าถอยทัพไปยังเมืองซากาอิ โยชิมิตสึเข้ายึดเมืองซากาอิได้ และโยชิฮิโระคว้านทองท้องฆ่าตัวตาย
 
ใน ค.ศ. 1401 โอโงโชะโยชิมิตสึแต่งคณะทูตเดินทางไปยังนคร[[ปักกิ่ง]]เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน[[ราชวงศ์หมิง]] ปีต่อมา ค.ศ. 1402 [[จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน]]ทรงแต่งตั้งให้โยชิมิตสึดำรงตำแหน่งเป็น "กษัตริย์แห่งญี่ปุ่น" ({{ญี่ปุ่น|日本国王|Nihon-koku-ō}}) ในการติดต่อสัมพันธ์กับราชสำนักจีน เป็นการเริ่มต้นนำประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่ระบอบบรรณาการ[[จิ้มก้อง]]
บรรทัด 46:
สมัยของโชกุนโยชิมิตสึเป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางด้านศิลปะวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในสมัยมูโรมาจิ เรียกว่า สมัยวัฒนธรรมคิตายามะ ({{ญี่ปุ่น|北山文化|Kitayama-bunka}}) ประกอบกับการติดต่อทางการทูตกับจีนทำให้รัฐบาลโชกุนฯ เปิดรับวัฒนธรรมจีน อันได้แก่ พุทธศาสนานิกายเซน [[พิธีชงชาญี่ปุ่น|พิธีชงชา]] ศิลปะการจัดสวน เป็นต้น โยชิมิตสึอุปถัมภ์พุทธศาสนานิกายเซ็น สำนักรินไซ ({{ญี่ปุ่น|臨済|Rinzai}})
 
โยชิมิตสึถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1408 ขณะอายุได้ 49 ปี หลังจากที่ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว โยะชิสึโยะชิมิตสึได้รับชื่อว่า โรกูอัง-อิง ({{ญี่ปุ่น|鹿苑院|Rokuan-in}}) และที่พำนักคฤหาสน์ศาลาทองนั้น ได้รับการยกขึ้นให้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายเซ็น ชื่อว่า วัดโรกูอัง ({{ญี่ปุ่น|鹿苑寺|Rokuan-ji}})
 
== ครอบครัว ==