ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมาชิกเอกลักษณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 78:
|}
จากตัวอย่างสุดท้ายที่ได้แสดง กรุป (''S'', *) สามารถมีเอกลักษณ์ซ้ายได้หลายตัว ซึ่งความจริงก็คือสมาชิกทุกตัวสามารถเป็นเอกลักษณ์ซ้ายได้ และในทางเดียวกันก็สามารถมีเอกลักษณ์ขวาได้หลายตัวด้วย ถ้าหากกรุปมีทั้งเอกลักษณ์ซ้ายและเอกลักษณ์ขวา และทั้งสองมีค่าเท่ากัน จะเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์สองด้านในสมาชิกตัวเดียวกัน ยกตัวอย่าง สมมติให้ ''l'' เป็นเอกลักษณ์ซ้าย และ ''r'' เป็นเอกลักษณ์ขวา ทั้ง ''l'' และ ''r'' จะเป็นเอกลักษณ์สองด้านก็ต่อเมื่อ ''l'' = ''l'' * ''r'' = ''r'' นอกจากนั้นเอกลักษณ์สองด้านก็สามารถมีได้หลายตัวเช่นกัน
 
ยิ่งไปกว่านั้นก็มีความเป็นไปได้ในทางพีชคณิตที่จะไม่มีสมาชิกเอกลักษณ์อยู่ในกรุปเลย ดังจะเห็นได้จาก[[ผลคูณจุด]]และ[[ผลคูณไขว้]]ของ[[เวกเตอร์]] ผลคูณจุดจะให้ผลลัพธ์เป็น[[สเกลาร์]]เสมอ ดังนั้นจึงไม่มีเวกเตอร์ใดเป็นสมาชิกเอกลักษณ์ และผลคูณไขว้จะให้ผลลัพธ์เป็นเวกเตอร์ที่อยู่ใน[[ทิศทาง]][[ตั้งฉาก]]กับสองเวกเตอร์ที่เป็นตัวตั้งและไม่เป็น[[เวกเตอร์ศูนย์]] ดังนั้นจึงไม่มีเวกเตอร์ลัพธ์อยู่ในทิศทางเดิมเหมือนตอนเริ่มต้น
 
[[หมวดหมู่:พีชคณิตนามธรรม]]