ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประทุษวาจา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Raphind (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 10:
 
ในประเทศไทย [[ราชบัณฑิตยสถาน]]บัญญัติคำว่า "ประทุษวาจา" ขึ้นเมื่อต้น พ.ศ. 2557<ref name = "tcij">{{cite web|title=ประทุษวาจา (hate speech) เบื้องต้น สำหรับสังคมไทย|url=https://www.tcijthai.com/news/2015/11/archived/5385|date=2558-02-11|accessdate=2561-06-16|language=th|location=Bangkok|website=tcijthai.com|author-first=พิรงรอง|author-last=รามสูต|publisher=ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง}}</ref> และเคยมีแนวคิดจะบรรจุบทบัญญัติเกี่ยวกับประทุษวาจาไว้ใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560|รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560]] แต่ถูกตัดออกในชั้นพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ<ref name = "tcij"/>
===เกณฑ์วิธีการในการไม่สร้างประทุษวาจาตามแนวพุทธ===
เกณฑ์ในการตรัสวาจาของพระพุทธเจ้า<ref>พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหาจุฬาฯ) เล่มที่ 13 สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ 88 ข้อที่ 87</ref>
{94} [86] ขณะนั้นเอง กุมารน้อยยังนอนหงายอยู่บนพระเพลาของอภัยราชกุมารลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอภัยราชกุมารว่า “ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้ากุมารน้อยนี้อาศัยความประมาทของพระองค์หรือของหญิง พี่เลี้ยง พึงนำไม้หรือก้อนกรวดมาใส่ปาก พระองค์จะพึงปฏิบัติกับกุมารน้อยนั้นอย่างไร” อภัยราชกุมารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะนำออกเสีย ถ้าหม่อมฉันไม่อาจจะนำออกแต่ทีแรกได้ หม่อมฉันก็จะเอามือซ้ายประคองศีรษะ แล้วงอนิ้วมือขวา ล้วงเอาไม้หรือก้อนกรวดพร้อมด้วยเลือดออกเสีย ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะหม่อมฉันมีความเอ็นดูในกุมารน้อย”
“ราชกุมาร ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน รู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้น
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น ตถาคตรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก
เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้น เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในหมู่สัตว์ทั้งหลาย”
 
== อ้างอิง ==