ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: เพิ่มเนื้อหา
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: เพิ่มแหล่งอ้างอิง
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32:
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นตามมณฑลต่าง ๆ โดยทั่วกัน ยึดแบบอย่างของ[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]โรงเรียนหลวงแห่งแรกของประเทศไทย ดังที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า{{คำพูด|เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นลงไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะให้ได้มีโอกาศเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉนั้น จึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตสาห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้|พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เนื่องในโอกาสเสด็จฯ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พ.ศ. 2427<ref>{{cite web|url=http://www.cu100.chula.ac.th/story/30/|title=ร้อยเรื่องราวจากรั้วจามจุรี: ๑ พระราชปณิธาน|website=CU100|publisher=จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|access-date=2021-05-14}}</ref>}}
 
ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3–4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 โปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี<ref>{{cite web|url=https://ww2.ayutthaya.go.th/content/history_1|title=ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา|website=จังหวัดพระนครศรีอยุธยา|publisher=สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา|access-date=2021-05-18}}</ref> โดยมี [[พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)|พระยาโบราณบุรานุรักษ์ (พร เดชะคุปต์)]] เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลประจำมณฑล ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า และได้สนองพระบรมราชโองการของพระองค์ มีส่วนร่วมในการจัดตั้งโรงเรียน เขาได้ขอพระราชานุญาตขยายพื้นที่[[วัดเสนาสนาราม]] และเรี่ยไรเงินจากผู้มีจิตศรัทธาในการสร้างโรงเรียน และได้มอบหนังสือตำนานกรุงเก่าให้กับห้องสมุด<ref>ปองพล วิชาดี. (2563). พระยาโบราณราชธานินทร์กับอยุธยาวิทยาลัย. ''วารสารชาติเสือ'', ''115''(1), 9.</ref> เพื่อเตรียมสร้างโรงเรียนประจำมณฑลขึ้นใน ร.ศ. 123 หรือปี พ.ศ. 2448 โดยในระยะแรกใช้กุฏิพระ ศาลาวัด และบริเวณใกล้เคียงกับวัดเสนาสนาราม หลัง[[พระราชวังจันทรเกษม]] เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน<ref name="อยุธยาวิทยานุสรณ์">สังข์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2484). ''อยุธยาวิทยานุสรณ์''. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.</ref>{{rp|1}} โดยมีขุนประกอบวุฒิสารท (ทิพ เปรมกมล) เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน
 
ในปี พ.ศ. 2448 มีปรากฏทะเบียนรายชื่อนักเรียนไว้ จำนวน 259 คน แต่ไม่ปรากฏรายชื่อครู โดยในเวลานั้น ยังมีนักเรียนที่เป็นพระและสามเณร และยังไม่มีนามสกุลและเลขประจำตัวใช้<ref name="อยุธยาวิทยานุสรณ์" />{{rp|4}} ต่อมาพระอนุสิษฐ์วิบูลย์ (เปี่ยม จันทรสถิตย์) ได้เป็นครูใหญ่ต่อจากขุนประกอบวุฒิสารท