ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัลกุรอาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Ben Bilal (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 50:
 
เนื่องด้วยคัมภีร์อัลกุรอานเป็นธรรมนูญของอิสลาม จึงเกิดมีวิทยาการใหญ่ ๆ แตกแขนงมาจากคัมภีร์อัลกุรอานหลายสาขา เช่น วิชา[[ตัจญ์วีด]] ซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานให้ถูกต้อง วิชา[[อุลูมอัลกุรอาน]] หรือที่เรียกว่า อุศูลอัลกุรอาน เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของอัลกุรอาน ศึกษาว่าโองการแต่ละโองการลงมาที่ไหนเมื่อไหร่และเหตุใด อันเป็นส่วนช่วยในการตีความหมายอัลกุรอาน หรือที่เรียกว่า [[ตัฟซีรอัลกุรอาน]]
 
[[ไฟล์:Alexander-Coin.jpg|thumb|left|150px|เหรียญที่แสดงถึง [[อเล็กซานเดอร์มหาราช]] ในฐานะผู้พิชิตอียิปต์. อเล็กซานเดอร์ถือเป็นบุตรชายของเทพเจ้าราศีเมษ [[อาเมิน]] ในอียิปต์โบราณ. ตามที่ล่ามส่วนใหญ่ของคัมภีร์กุรอาน Zil-Karneyn (คนที่มีสองเขา) ในคัมภีร์กุรอานคือ Alexander.<ref>http://turkoloji.cu.edu.tr/mine_mengi_sempozyum/ismail_avci_iskenderi_zulkarneyn_ve_hizir.pdf</ref>]]
 
ตั้งอดีตจนกระทั่งปัจจุบันได้มีนักปราชญ์อิสลามหลายสิบคนที่ได้แต่งหนังสือตีความหมายอัลกุรอาน เรียกหนังสืออรรถาธิบายนี้ว่า หนังสือ[[ตัฟซีร]] และเรียกผู้แต่งว่า มุฟัซซิร การตีความหมายอัลกุรอานจะใช้หลักของอุลูมอัลกุรอานดังกล่าวบวกเข้ากับวจนะของศาสดา ภาษาศาสตร์ และวิทยาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันนี้ชาวมุสลิมจะอ้างอิงหนังสือตัฟซีรเก่า ๆ เป็นหลักในการเขียนตัฟซีรใหม่ หรือในการแปลความหมายอัลกุรอานเป็นภาษาอื่น