ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 29:
== ประวัติ ==
=== สถาปนาโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า ===
'''พ.ศ. 2448 - 2484'''[[ไฟล์:King Chulalongkorn portrait photographLoC.jpg|thumbnail|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ก่อตั้งสถาปนาโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า]]
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นตามมณฑลต่าง ๆ โดยทั่วกัน ยึดแบบอย่างของ[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]โรงเรียนหลวงแห่งแรกของประเทศไทย ดังที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า{{คำพูด|เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นลงไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะให้ได้มีโอกาศเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉนั้น จึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตสาห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้|พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เนื่องในโอกาสเสด็จฯ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พ.ศ. 2427<ref>{{cite web|url=http://www.cu100.chula.ac.th/story/30/|title=ร้อยเรื่องราวจากรั้วจามจุรี: ๑ พระราชปณิธาน|website=CU100|publisher=จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|access-date=2021-05-14}}</ref>}}
 
ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3–4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 โปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี โดยมี พระยาโบราณบุรานุรักษ์ เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลประจำมณฑล และได้สนองพระบรมราชโองการของพระองค์ จัดตั้งโรงเรียนประจำมณฑลขึ้นใน ร.ศ. 123 หรือปี พ.ศ. 2448 โดยในระยะแรกใช้กุฏิพระ ศาลาวัด และบริเวณใกล้เคียงกับ[[วัดเสนาสนาราม]] หลัง[[พระราชวังจันทรเกษม]] เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน<ref name="อยุธยาวิทยานุสรณ์">สังข์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2484). ''อยุธยาวิทยานุสรณ์''. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.</ref>{{rp|1}} โดยมีพระอนุสิษฐ์วิบูลย์ขุนประกอบวุฒิสารท (เปี่ยมทิพย์ จันทรสถิตย์เปรมกมล) เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน
 
ในช่วงปี พ.ศ. 2448 – 2449 มีปรากฏทะเบียนรายชื่อนักเรียนไว้ จำนวน 259 คน (รวมทั้ง 2 ปี) แต่ไม่ปรากฏรายชื่อครู โดยในเวลานั้น ยังมีนักเรียนที่เป็นพระและสามเณร และยังไม่มีนามสกุลและเลขประจำตัวใช้<ref name="อยุธยาวิทยานุสรณ์" />{{rp|4}} พ.ศ. 2449 พระอนุสิษฐ์วิบูลย์ (เปี่ยม จันทรสถิตย์) ได้เป็นครูใหญ่ต่อจากขุนประกอบวุฒิสารท
 
ในปี พ.ศ. 2450 กระทรวงธรรมการเห็นว่าประชาชนนิยมส่งบุตรหลานมาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก จนทำให้สถานที่เดิมคับแคบ จึงได้จัดสร้างอาคารเรียนแบบประยุกต์ครึ่งตึกครึ่งไม้ ลักษณะถาวร 2 ชั้นแบบ 6 ห้องเรียนและห้องประชุมอีก 1 ห้อง ประชาชนในมณฑลกรุงเก่าขณะนั้นเรียกชื่อโรงเรียนกันว่า '''"โรงเรียนหลังวัง"''' (ซึ่งตึกที่[[กระทรวงธรรมการ]]ได้สร้างนั้น ต่อมา[[โรงเรียนอยุธยานุสรณ์]]ขอใช้ตึกนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียน เพราะโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยย้ายมาอยู่ในสถานที่ปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2450 พระวิเศษกลปกิจ (รัตน์ ปัทมะศิริ) ได้เป็นครูใหญ่ต่อจากพระอนุสิษฐ์วิบูลย์ ในเวลานั้นโรงเรียนไม่มีการจัดเป็นชั้นประถมและมัธยม แต่มีการจัดไว้เป็นชั้น 1, ชั้น 2, ชั้น 3 ฯลฯ เท่านั้น วันหยุดของโรงเรียนเป็นวันโกนวันพระ นอกจากโรงเรียนจะมีคุณครูเป็นผู้สอน ยังมีนักเรียนฝึกหัดสอนเป็นผู้สอนนักเรียนด้วย โดยคุณครูจะต้องควบคุมดูแลการสอนของนักเรียนฝึกหัดสอนอีกทีหนึ่ง ในปีดังกล่าวมีนักเรียนเข้าใหม่จำนวน 89 คน<ref name="อยุธยาวิทยานุสรณ์" />{{rp|4}}
 
ในปี พ.ศ. 2451 ขุนบำเหน็จวรสาร (ชิต) ได้เป็นครูใหญ่ต่อจากพระวิเศษกลปกิจ โดยในปีนี้ [[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)|พระยาไพศาลศิลปศาสตร์ (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)]] เจ้ากรมตรวจกระทรวงธรรมการ ได้มาตรวจโรงเรียนเพื่อเปลี่ยนระเบียบของโรงเรียนใหม่ โดยได้ให้ชื่อโรงเรียนว่า '''"โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า"''' เรียกนักเรียนฝึกหัดครูว่า "นักเรียนสอน" จัดนักเรียนออกเป็น 6 ห้องเรียน ได้แก่ มูล 1, มูล 2, เตรียม, ประถม 1, ประถม 2 และประถม 3 เปลี่ยนทะเบียนใหม่ และได้รับนักเรียนใหม่เข้ามาเพิ่มในวันดังกล่าวจำนวน 151 คน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2451 โรงเรียนได้ถูกใช้เป็นสถานที่พักข้าราชการในงานสมโภชกรุงเก่า จึงได้ทำการปิดการเรียนการสอนเป็นเวลา 2–3 วัน และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2451 พระชำนาญขบวนสอน (เฉย สุกุมาลนันท์) ครูรองของโรงเรียน ได้มาทำหน้าที่เป็นครูใหญ่แทน ส่วนขุนบำเหน็จวรสารได้ย้ายไปเป็นผู้รั้งข้าหลวงธรรมการ<ref name="อยุธยาวิทยานุสรณ์" />{{rp|5}}
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 ได้มีการนำนักเรียนไปถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเป็นครั้งแรกในช่วงเดือนมีนาคม โดยได้จัดให้นักเรียนเดินแถวไปรับน้ำที่[[วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร]]<ref name="อยุธยาวิทยานุสรณ์" />{{rp|6}} ต่อมาในเดือนมิถุนายน พระชำนาญขบวนสอน ครูใหญ่ได้ย้ายไปเป็นผู้ช่วยข้าหลวงธรรมการ รัตน์ ครูรองของโรงเรียน จึงมาเป็นครูใหญ่แทน<ref name="อยุธยาวิทยานุสรณ์" />{{rp|5}} ในเดือนกันยายน ขุนบำเหน็จวรสาร ข้าหลวงธรรมการ ได้มีคำสั่งให้ย้ายสร่าง ครูใหญ่โรงเรียนเสนาสน์ มาเป็นผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2452 และให้ครูใหญ่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่าดูแลรับผิดชอบโรงเรียนเสนาสน์ด้วย โดยได้รวมให้โรงเรียนเสนาสน์มาอยู่รวมในการปกครองของโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า ให้เป็นโรงเรียนเดียวกัน<ref name="อยุธยาวิทยานุสรณ์" />{{rp|5–6}}