ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีโทรทัศน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
=== โทรทัศน์ภาคพื้นดินในประเทศไทย ===
{{บทความหลัก|โทรทัศน์ในประเทศไทย|โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย}}
สำหรับในประเทศไทย คลื่นความถี่โทรทัศน์ภาคพื้นดิน เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ ตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] โดยมีหน่วย[[ราชการ]], [[รัฐวิสาหกิจ]]ในรูป[[บริษัท|บริษัทมหาชน]] หรือหน่วยงานของรัฐ เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ หรืออาจทำสัญญาสัมปทาน ร่วมกับ[[นิติบุคคล]]ภาคเอกชน เพื่อมอบสิทธิให้เป็นผู้ดำเนินกิจการก็ได้
 
บรรทัด 14:
[[วุฒิสภาไทย]] ลงมติให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นผลให้เปลี่ยนแปลงระบบคลื่นความถี่ จากเดิมที่ใช้[[โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก]] ไปสู่การเป็น[[โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย|โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล]] ภายใน พ.ศ. 2558 โดยจะเป็น[[โทรทัศน์ความละเอียดสูง]]จำนวนหนึ่ง ตามขีดความสามารถเท่าที่มีในระยะแรก
 
ต่อมา [[คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ]] (กสทช.) วางแผนแม่บทโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล โดยแต่เดิมกำหนดให้มีบริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 48 ช่อง โดยแบ่งเป็นกลุ่มช่องรายการเชิงธุรกิจ 24 ช่อง โดยมี 7 ช่องโทรทัศน์ความละเอียดสูง เป็นรายการทั่วไปทั้งหมด นอกนั้นเป็นช่องโทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน ประกอบด้วย 7 ช่องรายการทั่วไป, 7 ช่องรายการประเภทข่าว และ 3 ช่องรายการเด็ก/เยาวชน ส่วนกลุ่มช่องรายการเพื่อบริการสาธารณะ 12 ช่อง จะจัดสรรให้สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเดิม 3 ช่องรายการ อีกส่วนหนึ่งจำแนกตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ การส่งเสริมความเข้าใจระหว่างรัฐบาลและรัฐสภากับประชาชน, การส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย, ความมั่นคงของรัฐ, ความปลอดภัยสาธารณะ, เด็กและครอบครัว (ซึ่ง กสทช.หารือเบื้องต้นว่าจะให้ไทยพีบีเอสดำเนินการเพิ่มอีกช่องหนึ่ง), การศึกษา และความรู้, ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม, สุขภาพ กีฬา และคุณภาพชีวิต, บุคคลด้อยโอกาส และเยาวชน โดยกลุ่มช่องรายการเพื่อบริการชุมชนและภูมิภาคอีก 12 ช่อง ยังไม่มีการกำหนดสัดส่วนของหมวดหมู่ โดยได้มีการประมูลไปแล้วเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556
 
สำหรับสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเดิม ซึ่งมีสถานะเป็นช่องรายการเชิงธุรกิจ (คือ[[ช่อง 3 เอชดี|ไทยทีวีสีช่อง 3]], [[ช่อง 7 เอชดี|ช่อง 7 สี]] และ[[เอ็มคอตเอชดี|โมเดิร์นไนน์ทีวี]]) จะต้องเข้าประมูลช่องรายการเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ กสทช.อนุญาตให้ทดลองออกอากาศ โดยเข้าใช้สัญญาณ ในส่วนรายการชุมชนและภูมิภาค ไปพลางก่อนได้ เมื่อคลื่นความถี่พร้อมสำหรับการออกอากาศแล้ว ส่วนสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเดิม ซึ่งมีสถานะเป็นช่องรายการเพื่อสาธารณะ (คือ [[ททบ.5]], [[สทท.]] และ[[ไทยพีบีเอส]]) กสทช.จะอนุญาตให้เข้าใช้สัญญาณ ในส่วนช่องรายการเพื่อสาธารณะได้ เมื่อคลื่นความถี่พร้อมสำหรับการออกอากาศแล้ว
 
ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย ได้เริ่มการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 และได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเป็นรายช่องและรายพื้นที่ โดยเริ่มจากช่องไทยพีบีเอสเป็นช่องแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558<ref>[https://www.thairath.co.th/content/543430 ไทยพีบีเอสเริ่มแล้ว ยุติทีวีอนาล็อก! สมุย-ไชยปราการ นำร่องพื้นที่แรก] ไทยรัฐออนไลน์</ref> และไทยทีวีสีช่อง 3 เป็๋นช่องสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563
 
== โทรทัศน์ดาวเทียม ==