ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 62:
== พลเรือนสามัญ ==
 
ในวันที่ [[18 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2461]]1918 สภาทหารและแรงงานแห่งเมืองโกทาได้ปลดดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาออกจากราชบัลลังก์ อีกห้าวันต่อมา พระองค์ได้ทรงลงนามในประกาศการสละราชสิทธิในการสืบราชสมบัติ เมื่อทรงกลายเป็นพลเรือนสามัญในขณะนี้ ดยุคคาร์ล เอ็ดวาร์ดซึ่งได้ทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ทรงเกี่ยวข้ององค์การทางการเมืองและลักษณะแบบทหารฝ่ายขวามากมาย<ref>อภิสิทธิ์ทางกฎหมายและสืบทอดตามสายเลือดต่างๆ ของราชวงศ์กษัตริย์ เจ้าครองรัฐ ดยุคและขุนนางเยอรมันสิ้นสุดลงในเดือน[[สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2462]]1919 เมื่อรัฐธรรมนูญของ[[สาธารณรัฐไวมาร์]]มีผลบังคับใช้ แต่กระนั้นสาธารณรัฐไวมาร์ไม่ได้ห้ามการใช้พระอิสริยยศและราชทินนามชั้นสูงอย่างเช่น [[ประเทศออสเตรีย]] แต่รัฐสภาแห่งจักรวรรดิ (Reichstag) ได้ผ่านกฎหมายซึ่งให้เปลี่ยนพระอิสริยยศราชวงศ์และขุนนางที่เคยมีอยู่มาเป็นส่วนหนึ่งของนามสกุลแทน ดังนั้นดยุคครองรัฐแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาจึงทรงกลายเป็น ''"คาร์ล เอดูอาร์ด แอร์ซ็อก ฟอน ซักเซิน-โคบวร์ค อุนด์ โกทา"''</ref> เมื่อปี [[พ.ศ. 2475]]1932 พระองค์ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งแนวร่วมฮาร์ซบูร์ก ซึ่งพรรค Deutschnationale Partei (พรรคแห่งชาติเยอรมัน) ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับ[[พรรคนาซี]]โดยผ่านทางแนวร่วม พระองค์ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีและเป็นสมาชิกของ Sturmabteilung (ซึ่งแปลว่า หน่วยพายุ หรือ พวกเสื้อน้ำตาล) โดยขึ้นถึงตำแหน่งของหัวหน้ากลุ่มอาวุโส (Obergruppenführer) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นสมาชิกในรัฐสภาจักรวรรดิตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2480]]1937 ถึงปี [[พ.ศ. 2486]]1943 และประธานสภากาชาดเยอรมันตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2476]]1933 ถึงปี [[พ.ศ. 2488]]1945 อีกด้วย พระองค์ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีอย่างเป็นทางการในปี [[พ.ศ. 2477]]1936
 
ในปี [[พ.ศ. 2479]]1936 [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ได้ส่งดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาไปยังประเทศอังกฤษในฐานะประธานสมาคมมิตรภาพอังกฤษ-เยอรมัน ภารกิจของพระองค์คือ การพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างอังกฤษและเยอรมนีและสืบหาความเป็นไปได้ในการทำสัญญาระหว่างทั้งสองประเทศ ดยุคซึ่งทรงเข้าร่วมพระราชพิธีศพของ[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5]] ในชุดเครื่องแบบของหน่วยพายุ ทรงยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการทำสัญญาตกลงกับ[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8]] พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ แต่ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นจากการเจรจาครั้งนี้ แต่กระนั้นพระองค์ยังทรงส่งรายงานให้กำลังใจฮิตเลอร์เกี่ยวกับความฝักใฝ่ฝ่ายเยอรมันอันแข็งแกร่งในหมู่ชนชั้นสูงของอังกฤษ ในภายหลังจาก[[:en:Abdication of Edward VIII|วิกฤติการณ์การสละราชสมบัติ]] พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพต้อนรับอดีตพระมหากษัตริย์และพระชายา ซึ่งในขณะนี้ทรงเป็นดยุคและดัชเชสแห่งวินด์เซอร์ ในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเยอรมนีอย่างเป็นทางการในปี [[พ.ศ. 2481]]1938
 
เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] สิ้นสุดลง รัฐบาลทางการทหารอเมริกันในรัฐบาวาเรีย ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลจอร์จ สมิธ แพ็ตตันได้ทำการกักบริเวณดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาอยู่ภายในพระตำหนักที่ประทับอันเนื่องมาจากการสนับสนุนฝ่าย[[นาซีเยอรมัน]] ในปี [[พ.ศ. 2489]]1946 พระองค์ทรงถูกพิพากษาคดีในศาลการกำจัดระบอบนาซีและทรงถูกปรับอย่างหนัก ทรัพย์สมบัติจำนวนมากในเมืองซัคเซินและโคบวร์คถูกยึดโดยกองทัพโซเวียต
 
ดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาทรงดำรงพระชนม์ชีพบั้นปลายด้วยความโดดเดี่ยว พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ [[6 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2497]]1954 ณ เมืองโคบวร์ค โดยเป็นพระราชนัดดาผู้ชายพระองค์ที่ทรงมีอาวุโสมากกว่าในสองพระองค์ที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โดยพระราชนัดดาอีกพระองค์หนึ่ง คือ [[อเล็กซานเดอร์ เมานท์แบ็ตเต็น มาร์ควิสแห่งคาริสบรูค]] อดีตเจ้าชายแห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก ซึ่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ [[23 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2503]]1960
 
== พระอิสริยยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==