ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ice 4402 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nateeto (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมประวัติในวัยเรียนและช่วงต้นของการรับราชการ
บรรทัด 38:
 
== ประวัติ ==
หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต มีชื่อจริงว่า '''พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต''' มีนามเดิมว่า "ค้วน จิตตะคุณ" เกิดเมื่อวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 ตรงกับวัน 2 <sup>11</sup><sub>ฯ</sub> 8 8 ค่ำ ปีวอก ภูมิลำเนาเดิม คลองบางกอบัว [[อำเภอพระประแดง]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]] บิดาชื่อนายจิ้น มารดาชื่อนางเพียรภายหลังแยกทางกัน นายจิ้นได้ไปทำไร่ยาสูบที่นครปฐม จึงได้อาศัยอยู่กับมารดาซึ่งติดการพนันขายที่สวนนำไปเล่นพนันจนหมด ภายหลังมารดาได้เปลี่ยนอาชีพทำสวนมาพายเรือค้าขายแทน<ref>หนังสือ ''สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507''</ref>
 
เมื่ออายุ 8 ปีมารดานำไปฝากตัวกับหลวงตาทองที่วัดบางกอบัวให้เรียนหนังสือได้เพียง 7 วันเพราะโดนเด็กวัดรังแก พออายุ 9 ปีมารดานำตัวไปฝากไว้กับอาจารย์ไล้ที่วัดบางบำหรุสอนหนังสือจนพออ่านออกเขียนได้ จากนั้นอาจารย์ไล้ได้นำตัวไปฝากเข้าโรงเรียนวินัยชำนาญ เมื่อสำเร็จชั้นประถมศึกษาจึงไปสมัครเรียนโรงเรียนราชบูรณะ (สวนกุหลาบวิทยาลัย) ซึ่งตอนนั้นมารดาเลิกค้าขายแล้วและได้ไปอยู่แม่ครัวให้กับคุณแปลก ตันยุวรรธนะช่วยอุดหนุนให้มีทุนเรียนชั้นมัธยมต่อได้<ref>หนังสือ ''สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507''</ref>
จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยมัธยม ([[โรงเรียนนายร้อยทหารบก]]) ในปี พ.ศ. 2457 ร่วมรุ่นเดียวกันกับ จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]], พลตำรวจเอก [[อดุล อดุลเดชจรัส]], พลเอก [[มังกร พรหมโยธี]], พลอากาศโท [[กาจ กาจสงคราม]] และจอมพล [[ผิน ชุณหะวัณ]] ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2475 นักเรียนนายร้อยรุ่นเดียวกันนี้หลายคนได้เข้าร่วมเป็น[[คณะราษฎร]] [[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ]] ซึ่งรวมถึงตัวของหลวงเกรียงศักดิ์พิชิตด้วย<ref>''สองฝั่งประชาธิปไตย'', "2475". สารคดีทางไทยพีบีเอส: พฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2556</ref>
 
ขีวิตในช่วงมัธยมก็มีเกเรหนีเที่ยวบ้างแต่ก็สอบไล่ได้ทุกปี ความตั้งใจเดิมก็ไม่คิดที่จะวางแผนอนาคตไปทางใดแต่บังเอิญเพื่อนสนิทแอบไปสมัครสอบโรงเรียนนายร้อยโยไม่บอกกกล่าวจึงน้อยใจเพื่อนและเกิดความมานะไปสมัครสอบบ้าง ไปสมัครสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยมซึ่งในเวลานั้นมีผู้สมัครสอบ 75 คนแต่รับเพียง 10 คน<ref>หนังสือ ''สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507''</ref>
 
จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยมัธยม ([[โรงเรียนนายร้อยทหารบก]]) ในปี พ.ศ. 2457 เหล่าปืนใหญ่ ซึ่งในรุ่นที่จบการศึกษานั้นเป็นเหล่าปืนใหญ่ทั้งหมดไม่สามารถเลือกเหล่าได้แบบรุ่นที่ผ่านๆมา หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตรับราชการครั้งแรกที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 จังหวัดลพบุรี แต่ภายหลังได้ลาออกจากราชการเนื่องจากมีความขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชาซึ่งได้ว่ากล่าวตักเตือนเรื่องการใช้ชีวิตส่วนตัวแบบคนหนุ่มทั่วไปประกอบกับตอนนั้นมีภรรยาทำอาชีพค้าขายอยู่ที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) จึงได้ลาออกไปช่วยกันทำมาหากินโดยการนำสินค้าจากกรุงเทพเข้ามาขายทางเรือซึ่งได้กำไรดี แต่ต้องค้าขายโดยการลำบากต้องถ่อเรือและหวนคิดถึงเกียรติยศของความเป็นนายทหารจึงได้หลบหนีภรรยาออกมาเพื่อสมัครเข้ามารับราชการใหม่รวมระยะเวลาที่ลาออกจากราชการ 8 เดือน<ref>หนังสือ ''สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507''</ref>
 
เมื่อกลับเข้ารับราชการใหม่หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตถูกบรรจุที่กรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 2 บางซื่อเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นเข้าเรียนที่โรงเรียนปืนใหญ่ ลพบุรี เมื่อสำเร็จการศึกษาได้บรรจุที่เดิมได้แค่ 2 เดือนมีคำสั่งให้ไปเป็นผู้บังคับหมวดที่โรงเรียนปืนใหญ่ ประจำอยู่ที่โรงเรียนปืนใหญ่ 4 ปีก็โยกย้ายไปรับราชการเป็นผบ.ร้อยที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 8 เชียงใหม่ ประจำอยู่เชียงใหม่ได้ 2 ปีมีคำสังให้ย้ายมากรมทหารปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลกซึ่งอยู่ได้ 1 ปีครึ่งต่อมาภายหลังกรมทหารปืนใหญ่ที่ 7 ได้ยุบหน่วยมารวมกับกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 นครสวรรค์และประจำการเป็นเวลา 2 ปีครึ่งก่อนที่จะย้ายมาเป็นผบ.ร้อยอยู่ที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์เมื่อรับราชการได้ 1 ปี เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475<ref>หนังสือ ''สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507''</ref>
 
จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยมัธยม ([[โรงเรียนนายร้อยทหารบก]]) ในปี พ.ศ. 2457 หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตเป็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันกับ จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]], พลตำรวจเอก [[อดุล อดุลเดชจรัส]], พลเอก [[มังกร พรหมโยธี]], พลอากาศโท [[กาจ กาจสงคราม]] และจอมพล [[ผิน ชุณหะวัณ]] ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2475 นักเรียนนายร้อยรุ่นเดียวกันนี้หลายคนได้เข้าร่วมเป็น[[คณะราษฎร]] [[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ]] ซึ่งรวมถึงตัวของหลวงเกรียงศักดิ์พิชิตด้วย<ref>''สองฝั่งประชาธิปไตย'', "2475". สารคดีทางไทยพีบีเอส: พฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2556</ref>
 
ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิก[[บรรดาศักดิ์ไทย]] หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วย[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 9|คณะรัฐมนตรีชุดที่ 9]] จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล เมื่อ พ.ศ. 2484<ref>ราชกิจจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/D/4525_1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายยังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์]</ref>